ติดตามเรื่องราว

..เรียนรู้ จากความยาก..-
บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย นั่นล่ะ -PBL




วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โครงการ งอก-นอกกะลา NNK

โครงการ งอกนอกกะลา
NNK (Ngok-Nok-Kala)
หลักการและวัตถุประสงค์
ด้วยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้ดำเนินการเพื่อ 2 วัตถุประสงค์หลักได้แก่
1.      เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่าง ด้วยการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและนวัตกรรมองค์กร
1.1   วัตกรรมสำหรับการเรียนการสอนเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในศตวรรษที่ 21  และ จากการที่ทดลองและพัฒนามากว่า 10 ปี  จึงได้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญสองนวัตกรรมคือ  1) “จิตศึกษา” ซึ่ง เป็นนวัตกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนไปถึงปัญญาภายใน  ได้แก่  การมีจิตใหญ่เพื่อรักได้อย่างมหาศาล  การเคารพคุณค่าตัวเองและคนอื่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างภารดรภาพ  การมีสติชำนาญเพื่อเท่าทันอารมณ์  การมีสมาธิเพื่อกำกับความเพียรให้สำเร็จ  การมีความรับผิดชอบต่อตัวเองและผู้อื่น เป็นต้น  และ 2) “หน่วยบูรณาการที่ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้หรือ PBL (Problem based learning)” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เป็น    Active Learning ที่จะทำให้ผู้เรียนไปถึงปัญญาภายนอก  ได้แก่ Reading comprehension,  Writing,  Arithmetic,  ICT skills,  Thinking skills,   Life & Career skills,  Collaboration skill  and  Core subject
1.2   พัฒนานวัตกรรมสำหรับองค์กรเพื่อมุ่งพัฒนาครู และการพัฒนาองค์กรที่เรียกว่า “ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ” (PLC-Professional learning community) ซึ่งมีองค์ประกอบสองส่วนที่สำคัญคือ การสร้างความเป็นชุมชนให้เกิดขึ้นในองค์กร และ การจัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างหลากหลายระหว่างกัน  เป้าหมายสำคัญของ PLC คือ การสร้างการเรียนรู้ของครูร่วมกันเพื่อให้ทุกคนได้ยกระดับความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่จะสอน   มีทักษะการจัดการเรียนการสอน  และ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู
รูปแบบการทำงานของ 3 นวัตกรรม PLC, PBL, จิตศึกษา ที่จะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน




2.      เพื่อขยายผลไปยังโรงเรียนของรัฐให้มากขึ้นเพื่อ ให้ถึงผู้เรียนจำนวนมากขึ้น  และ ในที่สุดจะเกิด Critical mass สำหรับการปฏิรูปการศึกษาของไทย  โดยโรงเรียนฯ ได้ดำเนินการกิจกรรม ดังนี้
2.1   เปิดรับให้ครู หรือโรงเรียนต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาดูงาน 1 วัน (Open eyes) เพื่อจุดประกายให้เห็นความสำเร็จจากการใช้นวัตกรรมทั้งสามอย่าง
2.2   โรงเรียนสนใจที่ต้องการใช้นวัตกรรมหรือวิธีการบางส่วน   หลังจาก Open eye แล้วจะกลับมาอบรมระสั้น 2-3 วัน
2.3    โรงเรียนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ  จะมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ 
-             กระบวนการ  Open eye
-             อบรมหลักสูตรยาว 5-10 วัน เพื่อเรียนรู้นวัตกรรมทั้งหมด  PLC  PBL จิตศึกษา  
-             นำกลับไปใช้  โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ตาม  Monitor สาธิตการสอน  ร่วมทำ Lesson study  ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือ PLC  ปีละ 2-4 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับสภาพการเรียนรู้ของครูแต่ละโรงเรียน)
-             ถ่ายทำ Clip การสอนของครูในทุกชั้นเรียนเพื่อให้ครูเรียนรู้จากการสอนได้มากขึ้น
-             สร้างเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน และ ทำ PLC online เพื่อการเรียนรู้ข้ามโรงเรียน และ เพื่อ Empower ครู
-             จัด Conference ใหญ่ปีละครั้ง เพื่อให้แต่ละโรงเรียนได้นำเสนอความสำเร็จ และเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับสังคม

รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนของรัฐให้เป็นโรงเรียนตัวอย่างให้การปฏิรูปการจัดการศึกษา



               ด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าวโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จึงได้จัดทำโครงการงอกกนอกกะลา หรือ NNK (Ngok-Nok-Kala)  เพื่อพัฒนาโรงเรียนตัวอย่างในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้ น่าน 3 โรงเรียน และ ศรีสะเกษ 6 โรงเรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น