ติดตามเรื่องราว

..เรียนรู้ จากความยาก..-
บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย นั่นล่ะ -PBL




วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ญี่ปุ่น-มุมอับ

มุมอับ
คืนนี้อุณหภูมิ18องศาC. เป็นค่ำคืนที่สบาย. ผมออกเดินหาร้านบาร์บีคิวเล็กๆที่แทรกตัวอยู่ท่ามกลางตึกสูงเสียดฟ้า เจ้าของร้านมีคุณลุงกับป้าแก่ๆ ลุงย่างบาร์บีคิวขายให้ไม้ละ150เยน กับสาเกอุ่นๆแก้วละ400เยน ส่วนป้าคอยคิดเงิน แกมีเครื่องคืดเงินที่เสียไปนานแล้วจึงต้องใช้วิธีเขียนลงบนกระดาษของแท่น เครื่องคิดเงินแทนแทน. เราจะเห็นคนแก่ได้ง่ายตามท้องถนน พนักงานทำความสะอาด หรือทำอาหารอย่างนี้. ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมคนแก่คือมีคนแก่วัยเกษียณอยู่ในประเทศ ราว20% ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุคนั้น พ.ศ.2568 ตอนที่เดินดูเมืองยามค่ำคืนผมได้เจอและได้คุยกับตาแก่คนหนึ่ง แกก้มๆเงยๆ เปิบข้าวจากถุงพลาสติก อยู่กับขยะกองเบ้อเร่ิม ขยะถูกมีดเป็นถุงแยกประเภทอย่างเรียบร้อยเหมือนนิสัยคนญี่ปุ่นโดยทั่วไป. ท่าทีลุงเป็นคนอัธยาศัยดีทีเดียว แต่คุยกันไม่ค่อยรู้เรื่องเพราะแกพูดเป็นภาษาญี่ปุ่นกับภาษามือเท่านั้น แต่ผมเข้าใจได้จากน้ำเสียงและแววตา. ตอนที่ผมเดินจากมาแกโบกมืออำลา แกคงแน่แก่ใจว่าตราบชั่วนิรันดร์เราจะไม่พบกันอีก รูสึกสั่นสะเทือนด้านใน
อนิจจาเช้ามาแกยังนอนอยู่ที่เดิม

ย่อข่าว โพสต์ทูเดย์ 16เม.ย58
คนญี่ปุ่นเรียกประเทศไทยว่า “เทนโกกุ” เทน แปลว่า สวรรค์ โกกุ แปลว่า ประเทศ คนไทยเองอาจไม่รู้สึกเช่นนั้น นั่นเพราะว่าเราไม่เคยรู้จักนรก พนักงานบริษัทญี่ปุ่นถูกส่งตัวมาทำงานที่ไทยดีใจมากกว่าได้โบนัส เพราะมันคือโอกาสได้ขึ้นสวรรค์ชั่วคราว ไม่ได้สื่อถึงเรื่องกามารมณ์ แต่หมายถึงความสบายในชีวิตที่พวกเขาจะได้รับในแบบที่ประเทศญี่ปุ่นไม่มี ยกตัวอย่างเรื่องที่พักจากห้องคับแคบในญี่ปุ่นจะเปลี่ยนเป็นห้องขนาดใหญ่ใน ไทย เรื่องค่าครองชีพที่ถูกลง แต่ผลตอบแทนเท่าเดิม หรือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างชีวิตในรถไฟฟ้าที่ไม่ต้องเบียดเสียดหาอากาศหายใจทุกเช้าเย็น ด้วยจำนวนประชากรญี่ปุ่นที่มีมากถึง 126 ล้านคน (พ.ศ. 2556)
โดยเฉพาะเรื่องหน้าที่การงานที่คนญี่ปุ่นต้องดิ้นรนหาและรักษามันไว้ให้นาน ที่สุด เมื่อมีครอบครัว สามีจะเป็นหลักในการหาเงิน ส่วนภรรยาจะลาออกจากงานประจำแล้วมาดูแลบ้านหรือรับงานพาร์ทไทม์บ้าง วันละ 3-5 ชม. ความเครียดส่วนใหญ่จึงตกอยู่ที่สามี วัฒนธรรมการทำงานในบริษัทญี่ปุ่นคือการแข่งขันเพื่อให้ก้าวหน้าไป “พร้อม” กับคนอื่น เวลาทำงานคือเวลา+ทำงานจะไม่พักซื้อชานมไข่มุกหรืองีบหลับ ทุกคนจะรู้หน้าที่และทำตามนั้น โดยทั่วไปเวลาทำงานคือวันละ 8 ชม. พนักงานบริษัททำ 5 วัน โรงงานทำ 6 วัน รายได้เด็กจบใหม่ประมาณเดือนละ 1.82 แสนเยนต่อเดือน และส่วนใหญ่ถ้าเริ่มทำงานที่ไหนก็จะทำที่เดิมจนเกษียณอายุ แต่กว่าจะอยู่ถึงเกษียณได้ระหว่างนั้นคือ “ความเครียด” เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับการยอมรับจากที่ทำงาน เมื่อเข้ากับคนอื่นไม่ได้ก็จะทำงานที่นั่นไม่ได้ คนญี่ปุ่นจึงให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ทุกเย็นต้องชวนกันไปกินข้าวหรือสังสรรค์ต่อ เราจึงได้เห็นภาพชายใส่สูทเดินขวักไขว่ตามท้องถนน แม้ว่าจะเที่ยงคืนแล้วก็ตาม
ความเร่งรีบ การแข่งขัน และความอึดอัด ทำให้คนญี่ปุ่นเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดคนเร่ร่อน คนโรคจิต และคนฆ่าตัวตาย
ชายญี่ปุ่นที่โดนไล่ออกจากงานหรือไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตจะไม่กล้าสู้ หน้าภรรยาจนต้อง “หนี” ออกจากบ้าน เราจึงพบคนเร่ร่อนหรือมนุษย์กล่องนอนเกลื่อนกลาดตามข้างทางแบบมีเสื้อผ้าครบ ชุดพร้อมกระเป๋าเดินทาง
สำหรับคนฆ่าตัวตายในญี่ปุ่นมีจำนวนมากปีละ 3 หมื่นคน มากกว่าจำนวนคนเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุรถยนต์เกือบ 4 เท่า





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น