ติดตามเรื่องราว

..เรียนรู้ จากความยาก..-
บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย นั่นล่ะ -PBL




วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

สเตียรอยด์ ดัชนีการเรียนรู้ของคนในชาติ

สเตียรอยด์ คือชื่อเรียกของกลุ่มฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากต่อมหมวกไตภายในร่างกายของคนเรา สเตียรอยด์ที่ถูกสร้างหลักๆ มี 2 ชนิด คือ โคติซอล(Cortisol) และอัลโดสเตียรอยด์(Aldosterone)
ต่อมาในวงการแพทย์แผนปัจจุบันได้สร้างสารสเตียรอยด์สังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อพัฒนาตัวยาบางชนิดให้แรงขึ้น ซึ่งการใช้ยากลุ่มนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และเภสัชกร แต่ด้วยคุณสมบัติที่ดีในการรักษาสารพัดโรค ไข้สูงสามารถฉีดให้ไข้ลดได้ในเข็มเดียว เป็นผื่นแพ้ไม่มีสาเหตุก็ทาให้หายได้ ปวดเส้นปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระ ดูก ก็ฉีดหรือกินให้หายได้ หรืออาการอื่น ๆ การหายได้

ดังนั้นการนำยานี้มาใช้จึงแพร่หลายอย่างไม่อาจควบคุมได้จริง เราอาจหาซื้อได้ง่ายในรูปของยาลูกลอน ยาสมุนไพร ยาแผนโบราณ ยาพระ ยาต้ม ยาหม้อ ยาชุด ที่มีขายตามตลาดสด คนมีเร่ขาย ขายตามเวทีมายากล โฆษณาตามสถานีวิทยุ หรือแม้กระทั้งในคลินิก ทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย

สเตียรอยด์มีโทษ คือ เมื่อใช้ติดต่อกันนานเกินไป จะเกิดอาการที่เรียกว่า Cushing's syndrome คือ
มีอาการบวม ท้องลาย ความดันโลหิตสูง อ่อนเพลีย ติดเชื้อง่าย กดการเจริญเติบโตของเด็ก ความดันในลูกตาสูงขึ้นทำให้เป็นต้อหิน โพแทสเซียมในเลือดต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ นอกจากนี้แล้วยังทำให้ประจำเดือนผิดปกติหรืออาจไม่มีประจำเดือน และความรู้สึกทางเพศลดลง กระดูกบาง เลือดออกในกระเพาะอาหาร เนื่องจากสเตียรอยด์ไปทำให้ผนังกระเพาะอาหารและลำไส้บางลง

และผลเสียที่เลวร้ายที่สุด คือ สเตียรอยด์จะกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย บดบังอาการติดเชื้อต่างๆ เมื่อร่างกายติดเชื้อก็จะไม่มีอาการเจ็บไข้ให้เห็น ทำให้ดูเหมือนสบายดี และเนื่องจากสเตียรอยด์กดภูมิคุ้มกันของร่างกายเอาไว้

ทั้งที่จริงต้นเหตุของความเจ็บป่วย คือการดูแลรักษารักษาสุขภาพ โดยการออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประ โยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ เท่านี้ก็คงไม่ต้องถึงปลายทางที่จะต้องเสี่ยงกับการใช้สารสเตียรอยด์

ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ในประเทศไทยถูกทำให้ใช้สารสเตียรอยด์เพราะไม่รู้ หรือไม่ก็ใช้ไปโดยไม่รู้ผลข้างเคียง แต่คนที่รู้จักสารนี้ดีจำนวนหนึ่งยังแอบใช้โดยไม่รู้สึกว่าเป็นความรับผิดชอบของตนต่อคนอื่น อาจจะเพื่อให้ได้ผลกับการรักษา และ/หรือ เพื่อผลประโยชน์ที่จะได้มาอย่างง่ายดาย

ทั้งหมดนี้ สามารถแก้ไขด้วยการเพิ่มสมรรถนะการเรียนรู้ของคนในชาติ(ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของการปฏิรูปการศึกษา) และ เป็นสมรรถนะการเรียนรู้ที่รวมเอาความรู้สึกรับผิดชอบต่อตนเองและต่อคนอื่นเข้าไปด้วย

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

เมล็ดพันธุ์ของวันพรุ่ง

กลางเดือนมีนาคมวันสิ้นปีการศึกษา พี่ๆ ชั้น ป.6 เพิ่งจบจากไป
นักเรียนชั้นอื่นก็ปิดเรียน โต๊ะเรียนว่างเปล่า
ห้องเรียนก็เงียบเหงา
ความเงียบได้กลืนกินทุกอย่างในโรงเรียน เหมือนโลกได้หยุดหายใจลงชั่วขณะ
แต่ความเงียบก็ไม่อาจทนอยู่นาน
เมื่อยอดอ่อนของต้นจานได้ผลิออก ดอกอินทนิลก็ค่อยๆ แย้มบานเช่นกัน
ฉับพลันนั้นบทเพลงอันเพราะพริ้งจากการขับขานของจักจั่นเรไรก็ดังระงม
วันนี้ ....ไม่ใช่การจากลา
แต่เป็นวันแห่งฤดูกาลใหม่ที่กำลังเริ่มต้น
เธอเป็นความหวัง
เพราะเธอคือเมล็ดพันธุ์ของวันพรุ่ง


วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเรียนรู้บนฐานความรู้สึก

เราไม่ได้เชื่อความรู้มากนัก  ลึกๆ แล้วเราเชื่อความรู้สึกของตัวเองที่มีต่อสิ่งต่าง  ความรู้มีไว้เพียงเพื่อเป็นเหตุผลอธิบายความรู้สึก
      เราเรียนรู้มามากมายว่ากินเหล้าไม่ดีต่อสุขภาพ  แต่เหล้าก็ดำรงอยู่ในสังคมมานานนับ
      เราซื้อฉลากกินแบ่งรัฐบาล  ทั้งที่รู้ว่าโอกาสที่จะถูกนั้นเพียง 1:1,000,000
      บางครั้งการทดลองกินยาจริงกับก้อนแป้งอาจให้ผลต่อการรักษาไม่ต่างกัน
ความรู้สึกของมนุษย์ก่อตัวและจัดเรียงเป็นโครงสร้างในตัวเราก่อนที่เราจะมีความรู้  ความรู้ป็นเพียงตัวที่มาเกาะกับแกนความรู้สึกที่เรามีอยู่เดิมแล้วเท่านั้น  เราอาจจะสลัดมันออกเมื่อไหร่ก็ได้ถ้าเกิดมันขัดกับความรู้สึก
เรามักจำเหตุการณ์ในอดีตนานมาแล้วได้บางเหตุการณ์เท่านั้น  และ เหตุการณ์ที่จำได้นั้นมักจะเชื่อมกับความรู้สึกบางอย่างด้วยเสมอ  อาจเป็นดี่ใจ เศร้าเสียใจ ตื่นเต้น  กลัว เกลียด ขยาด เจ็บปวด ฯลฯ
ความรู้สึกยังเป็นที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม  เช่น เราเห็นลูกนกตกจากรัง  คุณธรรมและจริยะธรรมไม่ได้กระโดดออกมาทันที่ แต่ความรู้สงสารและความรู้สึกคิถึงแม่ จึงทำให้เราแสดงจริยธรรมออกไปโดยนำลูกนกกลับไปไว้รัก เรารู้สึกปราบปลื้มที่ได้ทำอย่างนั้น และสั่งสมเป็นคุณธรรมความเมตตาในตัวเรา
การเรียนรู้เพื่อการจดจำประสบการณ์หนึ่งๆ นั้นจึงจำเป็นที่จะให้เชื่อมต่อกับความรู้สึกของเด็กๆ ประสบการณ์ที่จดจำมาเพียงเหตุการณ์เดียวอาจไม่ถึงความเข้าใจหรือนำไปใช้ได้ แต่เมื่อผ่านหลายๆ ประสบการณ์  การเชื่อมโยงเป็นโครงสร้างความรู้และโครงสร้างความรู้สึกก็จะเกิดขึ้น  องค์ความรู้ที่อยู่บนเส้นสายของความรู้สึกก็จะใช้ได้จริง  เป็นชีวิตจริงที่ผสมผสานทุกอย่างลงตัวแล้ว ซึ่งคุณธรรมกับความรู้จึงไม่ได้แยกชั้นกันอยู่