พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาทั้งต่ อหน้าและลับหลังส่วนใหญ่จะเป็ นไปเพื่อเรียกหาความสนใจ เป็นการตอบสนองจากสั ญชาตญาณแบบไม่ต้องคิด เพราะเจตจำนงในการมีชีวิตอยู่ อย่างหนึ่งคือความต้ องการเอาใจใส่ดูแลจากคนอื่น การได้รับความสนใจก็เป็นที่ มาของความใส่ใจ และการใส่ใจก็หมายถึงการสัมผั สได้ถึงการถูกรักในชั้นที่ลึ กลงไป ในการเรียกหาความสนใจเด็ กอาจจะแสดงกริยาออกมาทางด้ านลบหรือไม่ก็ทางด้านบวก อาจเป็นแบบเชิงรุกหรื อแบบการถอยหนี หรือเป็นลักษณะการทำร้ายคนอื่ นหรือไม่ก็เป็นการทำร้ายตนเอง
นั่นคือเด็กคนที่แสดงอารมณ์ก้ าวร้าวต่อเพื่อนหรือต่อครูก็ล้ วนแต่มีเบื้องลึกที่ต้ องการความรักความใส่ใจที่ไม่ต่ างกับเด็กคนที่เรียบร้อย สงบเสงี่ยมและเชื่อฟัง เด็กคนที่แกล้งเพื่อนหรื อทำลายสื่งของของเพื่อนก็มี ความต้องการเบื้องลึกไม่ต่ างจากเด็กคนที่แสดงออกถึ งความนอบน้อมและมีน้ำใจ เด็กคนที่เข้ามาอยู่ใกล้ชิดช่ วยเหลืองานครูก็เช่นเดียวกันกั บเด็กคนที่หลบอยู่มุมห้ องและพยายามยัดอะไรต่อมิอะไรเข้ าหูเข้าจมูกตนเอง เด็กคนที่ตั้งใจเรียนและมี ความรับผิดชอบสูงกับเด็กคนที่ ไม่ใส่ใจเรียนเลยในเบื้องลึกก็ ต้องการการตอบสนองของความรั กความใส่ใจ แต่ครูจะแสดงออกอย่างไรล่ะกั บพฤติการณ์ที่ต้องการสิ่งเดี ยวกันแต่แสดงออกคนละขั้ว
ครูต้องอาศัยทั้งวุฒิภาวะและศิล ปะ วุฒิภาวะของความเข้าใจเป็ นความเมตตา ความปรารถนาที่จะยกระดับวุฒิ ภาวะของเด็ก(กรุณา) และ ต้องใช้ศิลปะอย่างสูงในการโต้ตอบ เพราะการเพิกเฉยต่อพฤติกรรมด้ านลบก็อาจทำให้เมล็ดพันธุ์ ของการแสดงออกของอารมณ์ทางด้ านลบนั้นเติบโต เด็กจะแสดงพฤติกรรมนั้ นออกมาโดยเข้าใจว่าเป็นสิ่งถูก แต่การพยายามเข้าไปแก้ไขทุกเรื่องเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดี เด็กอาจจะรู้สึกถึงการคุกคาม และการรู้สึกว่าไม่มีพื้นที่ส่ วนตัวให้งอกงามเอง
ต้องให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยว่ าไม่มีใครได้อะไรทุกอย่างที่ต้ องการ และไม่มีใครเสียอะไรที่มีอยู่ ไปทั้งหมด แม้แต่ ความรักความเอาใจใส่ก็เป็นเช่ นเดียวกัน