ติดตามเรื่องราว

..เรียนรู้ จากความยาก..-
บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย นั่นล่ะ -PBL




วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เรียนรู้เพื่อเข้าใจมนุษย์

ผมเชื่อว่า ถ้าเราอยากรู้จักมนุษย์ให้ใกล้เคียงความแท้จริง เราเรียนรู้ได้จากวรรณกรรม. เพราะวรรณกรรมเปิดเปลือกทุกชั้นของเรา ทั้งคลี่ทุกเงื่อนงำที่ซ่อนอยู่
...
"ไม่มีใครเขียนจดหมายหานายพัน"
ผมไปเจอหนังสือ "ไม่มีใครเขียนจดหมายถึงนายพัน" จากร้านหนังสือเก่าลดราคาเหลือเพียง 20 บาท ทั้งที่เป็นงานของนักเขียนรางวัลโนเบลเลยทีเดียวแต่ราคายังถูกกว่าเบียร์กระป๋อง หรือพอๆ กับขนมขบเคี้ยว(แต่กระนั้นก็ยากจะหาคนซื้อ) เล่มนี้จัดพิมพ์โดยสัมนักพิมพ์ยาดอง ในเล่มไม่ระบุปีพิมพ์แต่ดูจากสภาพน่าจะพิมพ์ฉบับแปลนี้มาแล้วสักสิบกว่าปี คงพิมพ์ไม่เยอะแต่ก็คงขายไม่ได้อยู่ดีหมายถึงผู้จัดพิมพ์ก็เจ็บตัวไปตามระเบียบ เรื่องราวสะท้อนสภาพสังคม วัฒนธรรม รัฐและการเมืองในยุคเริ่มต้นของประเทศ ดำเนินเรื่องผ่านตัวเอกที่เป็นนายพลหลังเกษียณ ผู้รอคอย น่าเสียดายที่งานเขียนชั้นดีซึ่งต้องใช้การอ่านอย่างลึกซึ้งต้องถูกทิ้งขว้างไป
รู้จักผู้เขียนสักนิด
กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกวซ (Gabriel Garcia Marquez) นักเขียนชาวโคลอมเบีย รางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ปี ค.ศ. ๑๙๘๒ ผู้เขียน “หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว” (One Hundred Years of Solitude ผู้แปล ปณิธาน-ร.จันเสน ) เป็นนวนิยายชิ้นเอกแห่งศตวรรษที่ ๒๐ ที่ได้รับการยกย่องว่า “ยอดเยี่ยมและยิ่งใหญ่” ด้วยการเขียนในแนวทางใหม่ สัจนิยมมหัศจรรย์ ( Magical Realism ) ความเจ็บปวดในวรรณกรรมลาตินอเมริกามักแสดงออกในรูปของสังคมที่ตกอยู่ในภาวะขัดแย้งระหว่างประเพณีนิยมกับสมัยนิยม ระหว่างเรื่องโกหกกับความเป็นจริง เพื่อจะหลีกหนีไปให้พ้นจากความทุกข์ทรมานเช่นนี้ ตัวประโยคในเรื่องราวจึงมักใช้ข้อความหรือประโยคที่เป็นสัญลักษณ์ เช่น “....โผผินไปสู่ดวงตะวัน ...โดยปราศจากความสนใจใยดีของกลุ่มผู้หญิงที่กำลังซักผ้าอยู่นั้น...” ดังที่ปรากฏอยู่ในนวนิยายเรื่อง “หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว”
กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกวซ เคยพูดไว้ว่า “เป้าหมายวรรณกรรมของเราอยู่ที่การสร้างและการค้นหาเอกลักษณ์ของเราเองออกมา” และ “เราต้องสร้างความสุขของพวกเราขึ้นด้วยจินตนาการ บวกกับการรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องร่วมชาติของเรา”






รักในเอเดน

แรกตั้งใจเขียนเรื่องเหล่านี้ให้เด็กๆ มัธยมต้นที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้อ่านได้เรียนรู้เกี่ยวกับความรัก เพราะพวกเขาอาจเข้าใจมันในมิติเดียว จนบางคนอาจถึงต้องลำบากในการคลำทาง
เมื่อทำเสร็จกลับรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องราวที่ควรค่าต่อการพิเคราะห์ หากเราปรารถนาอยากให้คนรักได้เติบโตขึ้นไปพร้อมกัน
แต่ความเข้าใจต้องอาศัยการตีความ
เรื่องราวรักอันประหลาดเหล่านี้จะช่วยให้ท่านได้ตีความเรื่องรักได้หลายมิติ
‪#‎รักในเอเดน‬

35 เรื่องเร้นรัก
ความหมายของสิ่งต่างๆ ขึ้นอยู่กับที่ใครจะตีความ รักก็เช่นกัน แต่ละคนย่อมตีความไม่เหมือนกัน ปฏิบัติการแห่งรักจึงต่างกันไป
..
_ปฏิบัติการรักระดับพื้นผิวนั้น เรามักแสดงออกมาจากการคิดและความรู้สึก
_ลึกมาหน่อยเราปฏิบัติการแห่งรักไปเพราะความกลัว กลัวการถูกตัดขาด กลัวการโดดเดี่ยว เราจึงปรารถนาที่จะรวมเป็นหนึ่งกับอีกคน โดยต้องแลกด้วยกับอีกหลายอย่าง
_ยังมีอีกหลายชั้น
_ลึกสุดของปฏิบัติการแห่งรักก็คือ...

คำสัญญา

คำสัญญา
สัญญาเป็นเครื่องมือ ช่วยรับประกันความเสี่ยงให้กับอีกฝ่ายเป็นการสร้างความเชื่อใจที่มาจากภายนอก แต่ละคนที่พูดว่าฉันหรือผมขอสัญญา ประโยคนั้นกลับให้น้ำหนักต่อความเชื่อใจจากแต่ละคนได้ไม่เท่ากัน คู่สัญญาจะประเมินจากปูมหลัง จากบุคลิกภาพ จากภาษากายหรือหลักฐานที่เป็นรูปธรรมอื่นๆ แต่ที่สำคัญที่สุดของการประเมินความน่าเชื่อถือต่อคู่สัญญาคือการประเมินจากปูมหลังที่เป็นค่าเฉลี่ยของคนคนนั้นที่เคยผิดสัญญา 
อย่าใช้คำว่าสัญญาบ่อยแม้กับเรื่องเล็กน้อยเพราะถ้าเราผิดสัญญาแม้กับเรื่องเล็กน้อยนั้นๆ ก็นับเป็นจำนวนครั้งของการผิดสัญญาซึ่งจะถูกประมวลเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ดี คนที่มีค่าเฉลี่ยของการผิดสัญญาสูงก็จะได้รับความเชื่อใจน้อยและความนับถือก็จะน้อยลงด้วย
สำหรับเด็กคำสัญญาไม่มีเรื่องเล็กน้อยทุกคำสัญญามีความหมายและควรค่าต่อการจดจ่อเฝ้ารอ
..
ผมเพิ่งอ่าน..เรื่องนี้เขียนขึ้นปี ค.ศ.1939 ปีเดียวกันที่ผู้เขียนจะเสียชีวิตด้วยวัย45ปี
เรื่องนี้สะท้อนชีวิตของคนเร่ร่อนติดเหล้าที่พยามยามกอบกู้ศักดิ์ศรีของตนเองด้วยการพยายามจะทำตามคำมั่นสัญญาที่ตนได้ให้ไว้ การทำตามคำมั่นสัญญาคือหนทางเดียวเท่านั้นที่เขาพอที่จะได้รับคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกับคนอื่นๆ แต่..การรักษาคำพูดนี้ก็ไม่ง่ายเลย