ติดตามเรื่องราว

..เรียนรู้ จากความยาก..-
บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย นั่นล่ะ -PBL




วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ให้การโต้ตอบเป็นศิลปะขั้นสูง


พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาทั้งต่อหน้าและลับหลังส่วนใหญ่จะเป็นไปเพื่อเรียกหาความสนใจ เป็นการตอบสนองจากสัญชาตญาณแบบไม่ต้องคิด  เพราะเจตจำนงในการมีชีวิตอยู่อย่างหนึ่งคือความต้องการเอาใจใส่ดูแลจากคนอื่น  การได้รับความสนใจก็เป็นที่มาของความใส่ใจ และการใส่ใจก็หมายถึงการสัมผัสได้ถึงการถูกรักในชั้นที่ลึกลงไป  ในการเรียกหาความสนใจเด็กอาจจะแสดงกริยาออกมาทางด้านลบหรือไม่ก็ทางด้านบวก   อาจเป็นแบบเชิงรุกหรือแบบการถอยหนี   หรือเป็นลักษณะการทำร้ายคนอื่นหรือไม่ก็เป็นการทำร้ายตนเอง   
นั่นคือเด็กคนที่แสดงอารมณ์ก้าวร้าวต่อเพื่อนหรือต่อครูก็ล้วนแต่มีเบื้องลึกที่ต้องการความรักความใส่ใจที่ไม่ต่างกับเด็กคนที่เรียบร้อย สงบเสงี่ยมและเชื่อฟัง  เด็กคนที่แกล้งเพื่อนหรือทำลายสื่งของของเพื่อนก็มีความต้องการเบื้องลึกไม่ต่างจากเด็กคนที่แสดงออกถึงความนอบน้อมและมีน้ำใจ   เด็กคนที่เข้ามาอยู่ใกล้ชิดช่วยเหลืองานครูก็เช่นเดียวกันกับเด็กคนที่หลบอยู่มุมห้องและพยายามยัดอะไรต่อมิอะไรเข้าหูเข้าจมูกตนเอง  เด็กคนที่ตั้งใจเรียนและมีความรับผิดชอบสูงกับเด็กคนที่ไม่ใส่ใจเรียนเลยในเบื้องลึกก็ต้องการการตอบสนองของความรักความใส่ใจ  แต่ครูจะแสดงออกอย่างไรล่ะกับพฤติการณ์ที่ต้องการสิ่งเดียวกันแต่แสดงออกคนละขั้ว
ครูต้องอาศัยทั้งวุฒิภาวะและศิลปะ  วุฒิภาวะของความเข้าใจเป็นความเมตตา  ความปรารถนาที่จะยกระดับวุฒิภาวะของเด็ก(กรุณา) และ ต้องใช้ศิลปะอย่างสูงในการโต้ตอบ  เพราะการเพิกเฉยต่อพฤติกรรมด้านลบก็อาจทำให้เมล็ดพันธุ์ของการแสดงออกของอารมณ์ทางด้านลบนั้นเติบโต เด็กจะแสดงพฤติกรรมนั้นออกมาโดยเข้าใจว่าเป็นสิ่งถูก   แต่การพยายามเข้าไปแก้ไขทุกเรื่องเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดี เด็กอาจจะรู้สึกถึงการคุกคาม และการรู้สึกว่าไม่มีพื้นที่ส่วนตัวให้งอกงามเอง
ต้องให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยว่าไม่มีใครได้อะไรทุกอย่างที่ต้องการ และไม่มีใครเสียอะไรที่มีอยู่ไปทั้งหมด แม้แต่ ความรักความเอาใจใส่ก็เป็นเช่นเดียวกัน

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

PBL อย่างโรงเรียนนอกกะลา


วิเชียร ไชยบัง ครูใหญ่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาสะท้อนหลักคิดการจัดการเรียนรู้ PBL

· การจัดการเรียนการสอนแบบ Problem Based Learning (PBL)
การสอนวิธีนี้ค่อนข้างท้าทาย ขบถคิดเพราะใครจะเชื่อว่าการศึกษาจากนี้ต่อไปจะต้องเน้นทักษะซึ่งไม่เหมือนเดิม เพราะโลกมันแปรเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ปีหน้าจะมีเด็กจำนวนหนึ่งถึงหลายล้านคน จะต้องใช้วัสดุหนึ่งในการเรียน เราเปลี่ยนแปลงมันไม่ได้ เราต่างหากที่มีทักษะไม่เท่าทันที่จะอำนวยการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นเรื่องท้าทายมาก  ตัว Problem Based Learning เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดของแต่ละโรงเรียน มันคือรูปแบบของการเรียนรู้ที่จะพัฒนาทักษะใหม่ซึ่งจำเป็นในอนาคต เป็นขบถความคิดให้เราเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนไปจากเดิม ครูหลายคนบอกว่า เหลือเชื่อ ไม่อยากเชื่อ ผมเองก็ยังเชื่อการสอนแบบเดิมอยู่แต่ถึงนาทีนี้เราต้องค่อยๆ ทำใจยอมรับ มิฉะนั้นเราจะให้สิ่งบางสิ่งบางอย่างแก่เด็กที่ไม่เท่าทันกับโลกที่มันแปรเปลี่ยนไป
·  คำถาม .วิเชียรสร้างนวัตกรรม PBL ขึ้นมาอย่างไร 
เป็นเราครูทุกคน ที่สร้างนวัตกรรมนี้ขึ้นมา  นวัตกรรมเกิดจากการทำงานจริงแล้วมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งกระบวนการสร้างนวัตกรรมหรือกระบวนการพัฒนาคนต้องใช้เครื่องมือแบบนี้ มีศัพท์ใหม่เรียกว่า Professional Learning Communities (PLC) ซึ่งหลายคนคงเคยได้ยินแล้ว การทำงานของลำปลายมาศพัฒนามีพัฒนาการ เริ่มครั้งสิบปีที่แล้วเราใช้ พ...ปฏิรูปการศึกษาโดยมีบูรณาการเป็น Brain Set ตั้งแต่ต้น คิดว่าใช้อะไรดีที่จะเชื่อมต่อชุดความรู้เข้าเป็นเรื่องเดียวกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ ระหว่างคนไปเก็บดอกไม้ใส่ตะกร้าแล้วหิ้วมากับเก็บดอกไม้แล้วเอาด้ายมาร้อยเป็นพวง สองอย่างนี้ อย่างหลังเป็นการบูรณาการ  บางทีคนเข้าใจบูรณาการผิดนิดเดียวว่าเอาความรู้หลายๆ แบบมาวางกองรวมกันแบบเก็บดอกไม้ใส่ตะกร้า มันเป็นบูรณาการไม่ได้ เพราะมันไม่มีจุดเชื่อม ร้อยเรียงแล้วเชื่อมโยงกันเพื่อตอบโจทย์อะไรสักอย่าง  ดังนั้นการบูรณาการในปีแรกเราใช้ Story line ในการร้อยความรู้ ทำปีแรกล้มเหลวไม่เป็นท่า  เด็กมีอารมณ์ร่วมดีมากและเรื่องราวสนุกมาก แต่เด็กเข้าสู่หัวใจของเนื้อหาไม่ได้  การมีอารมณ์ร่วมกับเรื่องราวแต่ไปไม่ถึงหัวใจ  ผมยกตัวอย่างบทเรียนของครูของผมคนหนึ่งเป็นครูใหม่อยากจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ใช้ angry bird เพื่อชูโรงเข้าสู่เนื้อหา แต่ปรากฏว่าทั้งชั่วโมงเด็กติดแต่ angry bird แต่เข้าสู่เนื้อหาไม่ได้ ก็จะเป็นประมาณนี้ในปีแรก  เมื่อเรารู้ข้อบกพร่องแล้วเราเปลี่ยนทันที ปีนี้ใช่แต่ปีหน้าอาจไม่ใช่ก็ได้ อาจมีสิ่งที่ใช่กว่า เพราะฉะนั้น ปีที่สองเราจึงนำบูรณาการเติมใส่กับ PBL แต่เป็น Project Based เอาโครงงานเข้ามาจับแล้วร้อยเนื้อหาทั้งหมดใส่เข้าไป รู้สึกว่าทำได้ดี เพราะทำให้เด็กได้ลงมือทำ เพราะหัวใจของ Project Based คือ Learning by Doingแต่ก็ยังไม่พอใจ ปีที่สามเราจึงใส่เรื่องการคิดเข้าไป  เพราะเรารู้สึกว่ามาตรฐานที่ 4 กำลังมาแรง เราใส่ทุกหน่วยการเรียนและทุกแผนการสอน ยิ่งดีขึ้น  เราเห็นผลงานที่เกิดขึ้นจากการคิด แล้วคิดเป็นระดับด้วยเราก็พอใจระดับหนึ่ง พอปีที่ 4 เราไปเจอเรื่องหนึ่ง ตอนนั้น Backward Design ยังไม่มา สิ่งที่เราพบคือ สิ่งที่เราสอนไปทั้งหมดนั้นเด็กได้เรียนรู้และเพียงแค่รู้เท่านั้น รู้เยอะแยะเลย แต่เข้าไม่ถึงหัวใจของความเข้าใจ  ปีที่สี่เราทำงานหนักมากเลยเพื่อให้ครูเปลี่ยนรูปแบบของหน่วยการเรียนเพื่อเป็น Teaching for Understanding  มีหน่วยการเรียนรู้และออกแบบหน่วยการเรียนนั้นให้มีหัวใจชุดความรู้ที่มารวมกันมีหัวใจชุดหนึ่ง ซึ่งครูทุกคนต้องถึงหัวใจชุดนั้น เพราะเป็นทั้งการ บูรณาการด้วยและเป็นการสอนเพื่อความเข้าใจด้วย พอพัฒนามาถึงตรงนี้เราพบว่า การทำแบบ Project Based ก็จริงทำแบบเติมความคิดให้ไปสู่ความเข้าใจก็จริง แต่มันจะกำหนดตายตัวเลยไม่ได้ เพราะปัญหาใหม่ที่มันเข้ามาปะทะเด็กมันเปลี่ยนตลอด ใช้หน่วยการเรียนรู้เดิมไม่ได้ มันไม่ได้ผล หน่วยนี้ต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ มันจึงพัฒนาจากตรงนี้ไปเป็น Problem Based Learning และเราก็เห็นว่าพอใช้ Problem  Based Learning เด็กจะมีอารมณ์ร่วมในปัญหา เพราะมันเกี่ยวข้องกับฉัน ฉันต้องแก้ปัญหาให้ได้ แล้วในการแก้ปัญหาก็ต้องใช้นวัตกรรม และในการสร้างนวัตกรรมมันก็ต้องใช้ทักษะ แบบ Multiple เป็นทักษะที่หลากหลาย และความรู้ที่หลากหลาย จึงจะสร้างนวัตกรรมได้ และจะต้องบูรณาการคนด้วย สร้างเป็นวงจรได้ แล้วมันก็จะเกิดทักษะอื่นย่อยๆ ตามมา เป็นการตอบคำถามทั้งหมดว่า PBL ที่ลำปลายมาศพัฒนามันมีที่มาที่ไปอย่างไร และทั้งหมดเราสร้างมันขึ้นมา เวลาทำงาน ใครทำได้ ใครเจออะไร อะไรใช่หรือไม่ใช่ เราขมวดด้วยกัน เราต้องความเข้าใจทั้งหมดด้วยกัน
·  คำถาม เราจะทราบได้อย่างไรว่าจัดการเรียนการสอนแล้วจะได้ครบมาตรฐานตามหลักสูตร       
จุดนี้เป็นหน้าที่ครูที่ต้องทำงานมากขึ้น สมมติเด็กอยากเรียนรู้อะไรก็ตาม ครูจะต้องมองว่าสิ่งที่เขาอยากเรียนรู้นั้นมันจะต้องประกอบไปด้วยชุดความรู้อะไรบ้าง มีเยอะขนาดไหน เอาชุดความรู้ที่เกี่ยวข้องเหล่านี้มาดูก่อนแล้วค่อยมาไล่เรียงว่าชุดความรู้นี้มันอยู่ในมาตรฐานไหน ตัวชี้วัดใด ทุกวิชาก็จะเจอชุดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น เมื่อเจอแล้วก็ต้องออกแบบว่าเด็กจะสร้างหรือมีชิ้นงานหรือภาระงานอะไรบ้าง แล้วก็ต้องคิดเอาไว้ก่อนว่าชิ้นงานหรือภาระงานนั้นมันไปเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะตามมาตรฐานเดิม และตัวชี้วัดตัวใด
·  คำถาม เป็นไปได้ไหมที่การสอนแบบ PBL ทำให้เด็กหลุดมาตรฐานไปบางตัว”   
แน่ นอนเป็นไปได้ แต่เราทำหลายโปรเจ็กค์ ไม่ใช่หนึ่งปีมีโปรเจ็กค์เดียว  บางมาตรฐานถูกประเมิน ทำซ้ำๆ ด้วยชิ้นงานหลายชิ้นหลายอันด้วยกัน  การออกแบบการเรียนรู้ทีมครูสำคัญมาก  การพัฒนาครูจึงสำคัญที่สุดและเรา(ลำปลายมาศพัฒนา)จึงพัฒนากระบวนการพัฒนา ครูที่นี่ขึ้นมาเพื่อให้มั่นใจว่าครูจะถึงพร้อมทั้งความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในเชิงทักษะ และความสามารถในเชิงจิตวิญญาณ
·  คำถาม บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร ทำอย่างไร
เอื้ออำนวยด้วยการบริหาร ผู้บริหารโรงเรียนในฐานะผู้นำจำเป็นต้องเป็นผู้ชี้ทางให้ถูก ไม่ต้องบริหารเก่งก็ได้ แต่ต้องชี้ทางให้ถูก หากเราชี้ทางผิดไปองศาเดียว ปลายทางนั้น ผลของมันนั้นห่างกันเป็นร้อยกิโลฯ เลย เรื่องนี้พูดง่าย แต่ทำยากนะครับ  เพราะต้องใช้ทักษะการสร้างภาพในสมองขั้นสูง


วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

32 ครั้ง คือพลังชีวิต


เรื่องเล็กๆ ที่ผู้คนอาจมองข้ามอย่าง "การเคี้ยวอาหาร" กลับกลายเป็นเรื่องใหญ่ และส่งผลดีต่อสุขภาพหลายประการ

      เคี้ยวให้ถูก-เคี้ยวให้เป็น...ไม่ใช่แค่เคี้ยวๆ กลืน!



ทางโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการเคี้ยวอาหาร จึงได้กำหนดเรื่องของการเคี้ยวอาหาร เป็นหนึ่งใน "สุขวาระ อาหาร 2555"  ดังนี้


32 ครั้งคือพลังชีวิต

“อยู่กับตนเองอย่างแท้จริง ด้วยการเคี้ยวอาหาร 32 ครั้ง ต่อคำ”

ฝึกฝนสมาธิ  จิตสงบ  กระตุ้นพลังสมอง  ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี  เหงือกแข็งแรง  ช่วยให้กินอาหารได้ปริมาณพอดี ฯลฯ

จึงเชิญชวน "เคี้ยวอาหาร" ให้ถูก ให้เป็น เพื่อการมีสุขภาพที่ดี

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แก้คำผิด

"ทำไมครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงติดโชว์ผลงานของเด็กๆ โดยไม่แก้คำผิด?"  เป็นคำถามของครูที่มาเข้าอบรมหลายท่าน

การตรวจเช็คและแก้ไขโดยครูเป็นการมองจากครูฝ่ายเดียวซึ่งครูกำลังมองภาษาในรูปแบบตายตัว ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถนำมาลองผิดลองถูกได้  การที่ครูแก้คำถูกผิดด้วยตัวแดงพรืดเต็มไปหมด อาจทำให้เด็กรู้สึกภาษาเป็นสิ่งน่ากลัว และอาจรู้สึกว่าตัวเองด้อยความสามารถจนไม่กล้าที่จะเขียนคำใหม่ๆ อีกต่อไป

มอนเตสซอรี่ก็เชื่อว่า ถึงเด็กจะเขียนผิดถูกอย่างไรก็ได้ แต่เมื่อเด็กเริ่มอ่านหนังสือได้เขาจะตื่นตัวที่จะเช็คคำผิดคำถูกด้วยตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อเขารักการอ่านและมีประสบการอ่านมากขึ้นเขาจะยิ่งกระตือรือร้น ในการตรวจเช็คคำผิดด้วยตัวเอง

ณ โรงเรียนนอกกะลา  การตรวจแก้คำผิดจะต้องไม่เป็นการทำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์ในตัวเด็ก
ระดับอนุบาล  ไม่มีการแก้คำผิดใดๆ ทั้งสิ้น  แต่ให้เห็นแบบถูกเสมอ
ระดับประถมศึกษา  อาจจะใช้วิธีการรวบรวมคำที่เด็กแต่ละคนเขียนผิดมาเขียนไว้มุมหนึ่งของกระดาน  ให้มีโอกาสได้เห็นคำเหล่านั้นบ่อยๆ และใช้บางคำในจำนวนนั้นอย่างถูกต้อง แล้วหลังจากนั้นเด็กๆ ก็จะตรวจเช็คสมุดของตัวเองอย่างกระตือรือร้น
ระดับมัธยมศึกษา  สามารถแก้ไขคำถูกผิดให้กับนักเรียนได้เลย  เพราะตัวตนด้านใน (การเห็นคุณค่าในตนเอง) ได้ขึ้นรูปที่มั่นคงแล้ว การชี้ในส่วนที่ผิดในเด็กโตจึงไม่ได้เป็นการทำลายคุณค่า

“ภาษาจะเป็นสิ่งน่ารำคาญ ถ้ามันอธิบายความหมายที่อยู่ใต้บรรทัดไม่ได้

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ครูต้นแบบบูรณาการ……วิเชียร ไชยบัง

ครูต้นแบบบูรณาการ……วิเชียร  ไชยบัง
คมความคิด คนไทย หัวคิดสร้างสรรค์”  รายการวาระประเทศไทย State of the Nation

สภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และข้อมูลที่รายรอบเราอยู่ก็มากมายจนยากแก่การจัดการ แล้วคนรุ่นใหม่ๆ ก็จะดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขได้ยากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่เราสามารถทำได้คือ "ให้การเรียนรู้"
เราสามารถสร้างความรู้และการใฝ่รู้ให้กับเด็กได้โดยที่พื้นฐานของเด็กนั้นอาจ ไม่เท่ากัน กระบวนการจัดการเรียนการสอนและการฝังรากลึกให้กับเด็กตั้งแต่ยังเด็กจะ สามารถทำให้องค์ความรู้นั้นติดตัวและเพิ่มดีกรีความฉลาดให้กับเด็กไปจนโต
 
การเรียนรู้ต้องเกิดจากภายในของแต่ละบุคคลและผู้คนรอบข้างที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้ชุดหนึ่งที่ใช้ได้สำหรับโลกที่แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา 

และท่ามกลางสังคมที่แปรเปลี่ยนในปัจจุบันนี้  ไม่มีบุคคลใดที่ไม่ประสบกับปัญหา  แต่ขึ้นอยู่กับว่าเรามองปัญหาอย่างไร ทุกปัญหาที่ผ่านเข้ามาคือหนึ่งการเรียนรู้  และถ้าหากเราไม่มีปัญหาก็เท่ากับว่าเราไม่มีอะไรทำ  เราสามารถแก้ปัญหาได้หลายทางและทางที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้เลือกและพยายามทำคือการเรียนรู้จากปัญหานั้น

"เราต้องการให้การเรียนรู้ที่จะทำให้ทุกคนได้มีโอกาสรับรู้สิ่งนั้นด้วยตนเอง  สร้างให้นักเรียนเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเองว่าอะไรคือสิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำ"

ซึ่งความคิดในการใคร่ครวญและเรียนรู้นี้ต้องแยกออกให้เป็น 2 ทางคือความคิดภายนอกและความคิดภายใน ความคิดภายนอกคือความคิดที่มีต่อปรากฏการณ์ต่างๆ การให้เหตุผลต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและความรู้ข้างนอกทั่วไป ส่วนความคิดภายในคือความคิดที่รู้ตัว  ซึ่งเป็นสิ่งที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาอยากให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
  
ครูใหญ่วิเชียรกล่าวว่าสิ่งที่คาดหวัง คือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษาทั่วประเทศไทยที่ทำให้ทุกคนให้ความสำคัญเรื่องการเรียนรู้  ทั้งผู้รับการศึกษาและผู้ให้การศึกษาโดยมุ่งสร้างสุขภาวะทั้งต่อตนเองและผู้อื่น




วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สุขวาระ "อาหาร"

ในภาวะบีบคั้นทางเศรษฐกิจของผู้คนในสังคมปัจจุบันนี้ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต ดังนี้

1.  วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป  เรามีวิถีชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ  มากขึ้น เช่น  ชาวไร่ชาวนาทำงานแบบออกแรงน้อยลงเพราะเครื่องจักรทำงานแทน  คนทั่วไปนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ยาวนาน  เด็กๆ นอนดูที่วียาวนานขึ้น  วิถีชีวิตแบบนี้ทำให้มีโอกาสเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายน้อยลง

2.  วิถีการกินเปลี่ยนไป เช่น  กินเยอะขึ้น กินอาหารมีพลังงานสูงทีได้จากแป้ง น้ำตาล และไขมันเป็นส่วนประกอบ  ประกอบกับกินผักหรืออาหารที่มีเส้นใยน้อยลง

(ข้อมูลจากนิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 345 ระบุว่า เด็กอายุระหว่าง  6-13 ปี ต้องการพลังงานวันละ  1,600  กิโลแคลอรี่ แต่ผลการสำรวจพบว่า เด็กไทยเกือบทั้งหมดได้รับพลังงานเกินความต้องการอย่างมาก)


จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้คนมีน้ำหนักมากขึ้น เป็นโรคอ้วนกันมากขึ้น

โรคอ้วน  หรือ  ภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน  จากการสำรวจล่าสุดพบว่าคนไทย  1 ใน 4  เป็นโรคอ้วน  ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ สูงขึ้น  เช่น  เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  ภาวะหัวใจโต  ปวดหลัง  เส้นเลือดขอด  ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ ฯลฯ  ในที่สุดก็จะนำมาสู่ความทุกข์


โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงมีเป้าหมายที่แน่ชัดว่าต้องการบ่มเพาะผู้เรียนให้เกิดทักษะชีวิต "อยู่เป็น"  หมายถึงการมีวิถีการดำรงชีวิตสั้นๆ บนโลกได้อย่างมีความสุข  โรงเรียนฯ ตระหนักในปัญหาที่กล่าวมาเบื้องต้น  จึงกำหนดให้  อาหาร”  เป็นหนึ่งในวาระสำคัญของโรงเรียนฯ

สุขวาระ "อาหาร"  2555

โรงเรียนฯ จะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดอุปนิสัยการกินเพื่อความมีสุขภาพดีได้แก่

1. ลดหวาน  น้ำตาลเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำเกิดโรคอ้วน มะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ แต่ในปัจจุบันเด็กได้รับน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นจากการบริโภคน้ำอัดลม น้ำหวาน ลูกอม ผลไม้ที่มีรสหวานจัด ขนมหวาน โดนัท มันฝรั่งทอดแบบแผ่น ขนมปังแคร๊กเกอร์ ขนมคุ๊กกี้ ฯลฯ ซึ่งล้วนทำจากแป้งและน้ำตาล น้ำตาลจะไปขัดขวางการดูดซึมของโปรตีน และสารอาหาร เป็นสาเหตุที่ทำลายการทำงานที่ดีของสมอง โดยปกติผู้ใหญ่ไม่ควรกินน้ำตาลวันละ 6 ช้อนชา (24  กรัม)  ส่วนเด็กไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 4 ช้อนชา / วัน  ดังนั้นทางโรงเรียนฯ จึงจะลดอาหารที่มีรสหวานในโรงเรียน เช่น ของหวาน ผลไม้รสหวาน

2. ปลอดภัย  การเลือกบริโภคอาหารที่ไม่ใช้สารกันบูด ไม่เพิ่มสารเพิ่มรสชาติ ไม่ผสมโซเดียมในเตรต ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำมากๆ โดยเฉพาะฮ็อตดอก หมูเบคอน ใส้กรอก หรือลูกชิ้นตามท้องตลาด เด็กไม่ควรทานเกิน 12 ชิ้นต่อเดือน เพราะใส่สารโซเดียมไนเตรตมาก  ดังนั้นทางโรงเรียนฯ จึงมีวิธีการ
- เพิ่มการผลิตอาหารเองภายในโรงเรียน เช่น พริก ผักพื้นบ้าน ไก่เนื้อ ปลาดุก หมู ฯลฯ
- ลดอาหารที่มีความเสี่ยง เช่น แตงโม ลำไย องุ่น ฮ็อตดอก ใส้กรอก กุนเชียง ลูกชิ้นตามท้องตลาด ฯลฯ
- ให้ครู นักเรียน พนักงานทุกคนได้เรียนรู้ ในการตรวจสอบสารอันตราย เช่น สารโซเดียมไนไตรท์ และโซเดียมไนเตรท (ดินประสิว) บอแรกซ์ (ผงกรอบ) สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน และการใช้น้ำมันทอดซ้ำ
- ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีการผลิตวัตถุดิบ เครื่องปรุงในการประกอบอาหารปลอดภัยได้เอง

3. ได้คุณค่า ส่งเสริมให้ได้รับประทานอาหารที่หลากหลาย  มีคุณค่าทางโภชนาการ หารับประทานได้ง่ายในท้องถิ่นตามฤดูกาล  ดังนั้นทางโรงเรียนฯ จึงมีวิธีการจัดอาหารให้นักเรียนได้รับประทาน
  • กล้วยน้ำหว้า 1 ลูก/สัปดาห์
  • ข้าวกล้องอย่างน้อย 2 ครั้ง /สัปดาห์
  • ประกอบอาหารที่มีผักหลากหลายมากขึ้น เช่น แกงเลียง แกงอ่อมฟักทอง ผัดผัก ผัดบวบใส่ไข่  แกงจืดตำลึง เป็นต้น
          - การวางแผนเมนูอาหาร มีการวางแผนล่วงหน้า  1  สัปดาห์ และเกิดจากหลายคนช่วยดูและให้คำแนะนำ 
        - สายงานการผลิต  ผลิตวัตถุดิบในโรงเรียน  เช่น  ปลา  ผัก  ข้าว
            ซื้อหรือหาวัตถุดิบ  สะอาด  ปลอดภัย
            เช็คสต๊อกทุกวัน (ของสด  ของแห้ง)
            รายงานค่าใช้จ่ายเป็นปัจจุบันทุกๆ สัปดาห์
            มีการสุ่มตรวจการจัดซื้อทุกๆ สัปดาห์
            มีมาตรการสุ่มตรวจสต๊อกทุกๆ สัปดาห์
         - จัดซื้อชุดอุปกรณ์และตรวจสารปนเปื้อน เช่น สารโซเดียมไนไตรท์ และโซเดียมไนเตรท (ดินประสิว) บอแรกซ์ (ผงกรอบ) สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน น้ำมันทอดซ้ำ  น้ำส้มสายชูปลอม ตรวจสอบเป็นประจำ/สม่ำเสมอ
         - มีทางเลือกหลายแบบในการประกอบอาหาร
                 -  โดยครัวโรงเรียนฯ
                 -  โดยนักเรียนห่อข้าวมามากินเองพร้อมกันทุกคน วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม 2555 และวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน
                 -  โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประกอบอาหาร (วันที่11-15 มิถุนายน 2555)
                 -  โดยผู้รับจ้างหรือรับเหมาภายนอก

4. พอดี เพื่อฝึกอุปนิสัยในการกินให้พอดี ทางโรงเรียนฯ จึงใช้วิธีการตักอาหารให้นักเรียน และเติมได้ตามความเหมาะสม มีเวลาประมาณ  20 นาที ในการจดจ่อและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ

5. สร้างชุมชนการเรียนรู้ สุขวาระ "อาหาร"  ครู นักเรียน ผู้ปกครองในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญของวิถีการกินอยู่เพื่อสุขภาพ โดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดนิทรรศการ จักการสื่อสารหลากหลายช่องทาง เช่น Facebook จดหมายข่าว จัดกิจกรรมให้มีการทำงานร่วมกันทุกฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ
แนวดำเนินการ

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเดินทางนอกกะลา Model

โดยนัย....การศึกษาเป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อการครอบ และคุมคน แต่ การเรียนรู้ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากอวิชาและส่ิงครอบทั้งมวล : วิเชียร  ไชยบัง (18 มิ.ย. 2555)
การเดินทางนอกกะลา Model : 
โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น

เคาะกะลา.......เพื่อให้อยาก
ก.ย. 2553   

นายกเทศมนตรี คณะผู้บริหารของเทศบาลนครขอนแก่น และคณะผู้บริหารของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น มาเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน

แง้มกะลา.......เพื่อให้เลือก
ธ.ค. 2553
  

นายกฯ รองนายกฯ + ประธานสภา + ผอ.สำนัก + ผู้บริหารโรงเรียนและรองฯทั้ง 11 โรงเรียน อบรม  3 วัน  หลักสูตร “Leadership และ กรอบความคิดใหม่ทางการศึกษา

หงายกะลา 1...เปิดรับ เปิดรู้ เรียนรู้ด้วยหัวใจ
มี.ค. 2554
  

ผอ. 4 โรงเรียนในสังกัดเทสบาลนครขอนแก่น + ผอ.สำนักการศึกษา + ตัวแทนฝ่ายบริหารของเทศบาล  อบรม 5 วัน หลักสูตร School  Leadership และ สร้างภาพรวมความเข้าใจในการจัดการศึกษาทุกมิติ

มี.ค. เม.ย. 2554
  

คณะผู้บริหาร ครู และบุคลากรของแต่ละโรงเรียน อบรม 5 วัน  หลักสูตร ทีม / OD - Organization Development / กรอบคิด /ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับ BBL - Brain based Learning / PBL - Problem based Learning / จิตศึกษา / การพัฒนาการคิด /การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC-Professional Learning Communities )

หงายกะลา 2  พัฒนาความเข้าและทักษะ แบบ เจาะลึก
มิ.ย. - ส.ค. 2554
 

ครูกลุ่มสาระต่างๆ ที่สนใจและทางโรงเรียนเห็นว่าจำเป็น มาอบรมหลักสูตรต่างๆ ตามความสนใข หลักสูตรละ 2 วัน  ได้แก่  คณิตศาสตร์นอกกะลา  ภาษาไทยนอกกะลา  ภาษาอังกฤษนอกกะลา อนุบาลศึกษา หน่วยบูรณาการ PBL (Problem based Learning) จิตศึกษา

พ.ค.2554 - มี.ค.2555   

เริ่มดำเนินการ และ สร้างกระบวนการ PLC - Professional Learning Communities

พ.ค. 2554
  นิเทศติดตาม เยี่ยมสำรวจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โดยคณะครูลำปลายมาศพัฒนาครั้งที่ 1

ก.ค. 2554  

- แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยครูหัวหน้าระดับชั้น (Key man) ของทุกระดับงาน : 5 วัน
- นิเทศติดตาม เยี่ยมสำรวจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยคณะครูลำปลายมาศพัฒนาครั้งที่ 2

ก.ย. ต.ค. 2554 
แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ถอดบทเรียน และเพิ่มพูนทักษะ (PLC
- Professional Learning Communities) 3 วัน
 
พ.ย. 2554
 

- นิเทศติดตาม เยี่ยมสำรวจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยคณะครูลำปลายมาศพัฒนาครั้งที่  3
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ถอดบทเรียน และเพิ่มพูนทักษะ (PLC - Professional Learning Communities) 3 วัน
 
ม.ค. 2555.  นิเทศและติดตามโดยคณะครูลำปลายมาศพัฒนา 4

มี.ค. 2555

- แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ถอดบทเรียน และเพิ่มพูนทักษะ PBL - Problem based Learning / PLC - Professional Learning Communities : 3 วัน
                   

- แต่ละโรงเรียนปรับหลักสูตร  หน่วยการเรียน  ตารางเวลาการจัดกิจกรรมของโรงเรียนให้เหมาะสม ลงตัวกับสภาพโรงเรียนของตนเอง
 
พ.ค.2555 - มี.ค 2556   

ครูใหม่ของเทศบาลนครขอนแก่นจำนวน 3 คน มาเรียนรู้ที่ลำปลายมาศพัฒนา เป็นเวลา1ปีการศึกษา






วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

PBL (Problem based Learning) กระบวนการเรียนรู้จากปมปัญหาสู่ปัญญา


PBL (Problem based Learning) เป็นนวัตกรรมหนึ่งในการพัฒนาความฉลาดภายนอก (ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์)ให้กับผู้เรียนของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  เป็นหน่วยการเรียนแบบบูรณาการที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากปมปัญหาสู่ปัญญา  เพราะสังคมโลกนับวันจะยิ่งซับซ้อนขึ้น  จำนวนปัญหาจะมากขึ้น ซับซ้อนขึ้น ยุ่งเหยิงขึ้น  กระบวนการเรียนรู้โดย PBL จะทำให้ผู้เรียนไม่ตื่นกลัวกับปัญหา  มองปัญหาเป็นเรื่องท้าทายซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจต่อปัญหา และหาวิธีการแก้ปัญหา 
             กระบวนการทำความเข้าใจต่อปัญหา และ กระบวนการหาวิธีการหรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนจะต้องใช้ความรู้อันหลากหลาย (Multi Knowledge) และ ทักษะที่หลากหลาย(Multi skills)  ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าถึงความเข้าใจหลักของเนื้อหาชุดนั้น และเกิดทักษะอันหลากหลายที่จำเป็นสำหรับศตวรรษใหม่ (21st Century Skills)  ได้แก่
- ทักษะการเรียนรู้และการเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต   ทักษะการสังเคราะห์ข้อมูลและการจัดการความรู้   
- ทักษะชีวิต(ทำกินเป็น  อยู่ได้  ใช้เป็น) เช่น ทักษะ ICT    การทำงานร่วมกัน   การจัดการความขัดแย้ง  การสื่อสาร  การคิดหลายระดับ  การสร้างปัจจัยการดำเนินชีวิต. การดูแลสุขภาพ. การแสวงหาข้อมูล. การปรับตัว การออกแบบวิถีชีวิต. อุปนิสัย.  การชี้นำตนเอง. จิตสำนึกต่อคนอื่น วัฒนธรรมอื่นและต่อโลก

ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้แบบ PBL
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่น้ำมันแพง  สัปดาห์แรกของการเรียน  ครูก็มีกระบวนการในจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดคำถามกับสิ่งต่างๆ และให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะแก้ปัญหาที่
หลังจากนั้นนักเรียนได้ทำงานร่วมกัน  พูดคุยกัน เพื่อประมวลร่วมกันว่าอยากเรียนรู้เกี่ยวกับอะไร หรือเพื่อแก้ปัญหาอะไร  เมื่อตระหนักร่วมกันว่าอยากศึกษาและผลิตน้ำมันเอง  ครูก็นำมาออกแบบการเรียนรู้แบบ PBL
หลังจากนักเรียนได้เผชิญปัญหาที่เป็นแรงกระตุ้นแล้ว  นักเรียนก็พยายามศึกษาค้นคว้าหานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหานั้น  เรียนรู้การทำน้ำมันไบโอดีเซล  ใช้เวลาเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ จนแน่ใจว่ามีวิธีการทำน้ำมันไบโอดีเซล  และนำวิธีการผลิตนั้นมาทดลองทำ  ซึ่งการทำครั้งแรกก็ใช้เวลานาน  เมื่อทำสำเร็จก็นำน้ำมันนั้นมาทดลองใช้ ซึ่งปรากฏผลว่าสามารถใช้ได้
ยังเหลือเวลา 4 สัปดาห์ใน Quarter นั้น  นักเรียนก็ได้นำผลที่ได้จากการผลิตนั้นมาร่วมคุยกันอีกครั้ง  และพบว่ากระบวนการผลิตน้ำมันนั้นใช้เวลาในการทำนาน  จึงได้พัฒนาและแก้ปัญหาต่อว่าจะทำอย่างให้กระบวนการผลิตหนึ่งรอบนั้นใช้เวลาสั้นที่สุด จนสุดท้ายนักเรียนก็สามารถทำได้ในเวลาเพียง 10 ชั่วโมง ต่อกระบวนการผลิตน้ำมันหนึ่งรอบ
ขณะที่เรียนรู้เรื่องนี้ พบว่านักเรียนทุกคนตระหนักกับปัญหาและใส่ใจในการแก้ปัญหานี้ เรียนรู้การทำงานร่วมกัน การแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายร่วมกัน  จนทำให้นักเรียนได้ค้นพบนวัตกรรมและชื่นชมกับผลสำเร็จที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง
















* โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จัดการเรียนรู้ด้วยการออกแบบเป็นหน่วยบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ปีการศึกษาละไม่น้อยกว่า 4 หน่วยการเรียน ต่อชั้นเรียน

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

New Heart New World


THE ANOTHER CLASSROOM

Wichian Chaiyabang

Experiencing in teaching for over 10 years, Wichian Chaiyabang told us that the best education is not learning by rote approach but the holistic one that not force students to memorize things or tell them in advance on how things should be. In other words, holistic education is the one that allow students to look towards things in different perspectives, let them discuss the subject, and learn from the process naturally. These will lead to the real understanding and equip them with the practical learning process they can apply in lives.

For over 8 years that Mr. Wichian has been a headmaster of Lamplaimat Pattana School, he has strictly applied the holistic educational system to the school and his effort had turned the school’s disadvantages of being in remote area into the outstanding one that has been the model for other schools.
“This school aim to build up a model school for the future education.” Wichian told us. “It operates under the government school’s condition but with different assessment approaches. We aim high for the better result and have many approaches to develop our teachers, students, and parents that allow them to learn together along the process. We want to let other schools know that all these are possible under limited operation cost.” He added.
“My school let the teachers hone through the trial-and-error process to learn by themselves. I don’t want them to teach from other people’s knowledge, our teachers teach from their own knowledge. We also don’t force students to learn from the schedule. They are allowed to choose the topic of each semester. It is better to let them learn things they eager to learn. From the subject they choose, for example – water, we can expand the topic into other areas such as Economics, plant, blood cell, or mathematics. “He explained.

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

“เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล” ครั้งที่ 4 / 2555 : กรณีศึกษาโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา



สรุปการเสวนาวิชาการ
“เวทีปฏิรูปการเรียนรู้ สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล” ครั้งที่ 4 / 2555
“การศึกษาทางเลือกทางหลักของหลายคน”
1 พฤษภาคม 2555 ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร



     ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ  วะสี  ได้เป็นประธานในการเสวนาวิชาการ “เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล” ครั้งที่ 4 / 2555 : การศึกษาทางเลือกทางหลักของหลายคน ซึ่งจัดโดยความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา 
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้าราชการระดับสูงจากหน่วยงานด้านการศึกษา องค์กรภาคเอกชน มูลนิธิ และผู้แทนสื่อมวลชน จำนวนประมาณ 70 คน ผลการเสวนามีประเด็นสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1.    ย้ำเจตนารมณ์การเสวนา “เวทีปฏิรูปการเรียนรู้ สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล”
1.1 พื้นฐานความเชื่อมั่น : การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้ประเทศไทยดีขึ้น เกิดและเป็นจริงได้จากระดับหน่วยปฏิบัติ  ไม่จำเป็นต้องรอส่วนกลางเสมอไป
1.2 หลักพื้นฐานของการเสวนา : จุดประกายผ่านความสำเร็จของกรณีศึกษาที่เป็นรูปธรรม และคิดขยายผล  ด้วยการมองไปข้างหน้า ใช้กรณีศึกษาที่ว่าเป็นแรงบันดาลใจและคิดหาทางขยายผลความสำเร็จ
2.       กรณีศึกษา : รูปธรรมเชิงประจักษ์และพิสูจน์ได้ในทางวิชาการ
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา : โรงเรียนนอกกะลา 
     1) โรงเรียนที่ไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียนแม้ตั้งอยู่ในจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยของประชากรต่ำที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบท ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เป็นโรงเรียนเอกชน ดำเนินการโดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา งบประมาณในการดำเนินการส่วนใหญ่มาจากเงินบริจาคและกิจกรรมการหารายได้ของโรงเรียน
     2) เจตนารมณ์สู่วิธีบริหารจัดการที่แตกต่าง : ด้วยมุ่งหมายเป็นโรงเรียนตัวอย่าง โรงเรียนทางหลัก โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้เต็มศักยภาพ และให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น การดำเนินงานจึงมีการควบคุมปัจจัยนำเข้าต่างๆ ให้มีความแตกต่างจากโรงเรียนของรัฐให้น้อยที่สุด แต่คุมเป้าหมายปลายทาง (ครู เด็ก และผู้ปกครอง) ผ่านวิธีบริหารจัดการที่แตกต่าง ได้แก่ เด็กได้มาโยวิธีการจับสลาก งบประมาณในการบริหารไม่มากกว่าโรงเรียนของรัฐ ครูมาจากแหล่งเดียวกับครุของรัฐ  ปริมารเด็กต่อห้องอยู่ในระดับที่เป็นค่าเฉลี่ยของประเทศคืออยู่ที่ประมาณ 30 คนต่อห้อง  จำนวนครูที่ไม่มากในค่าเฉลี่ยของประเทศเหมือนกัน  หลักสูตรต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักสูตรแกนกลางเหมือนกัน  แต่ใช้วิธีการพัฒนาที่ต่างไป ซึ่งนับจากเริ่มดำเนินการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2546  ถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 9 ปี มีผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเป็นบทพิสูจน์ จนกระทั่งมีผู้ขอดูงานเพื่อเผยแพร่ขยายผลจากหลายจังหวัด กว่าสามหมื่นคน
     3) ปัจจัยความสำเร็จ  ได้แก่ เรื่องที่หนึ่งเขย่ากรอบความคิด  ในเรื่องเป้าหมายต่อการศึกษา ว่าผลสำเร็จของการศึกษาไม่ใช่การเข้ามหาวิทยาลัย หรือการที่ได้ทำอาชีพที่มีรายได้สูงๆ เรื่องที่สองคือการแสวงหาการประเมินเพื่อให้เกิดการพัฒนามากกว่าเพื่อการตัดสิน  และเรื่องที่สามคือกระบวนการพัฒนาครู  เพราะครูเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้โดยปรับเจตคติของครูและผู้ปกครอง การปรับกระบวนการพัฒนา ทั้งในเรื่องการพัฒนาครูและการพัฒนาการเรียนการสอน โดยพัฒนาความฉลาดภายในด้วยวิธีการจิตศึกษา ใช้จิตวิทยาทางบวกให้เด็กมีความอยากรู้อยากเห็นและความฉลาดภายนอกผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Problem based learning(PBL) ให้เรียนรู้จากปัญหา และก็ใช้ทักษะที่หลากหลาย

ดูเพิ่มเติม http://youtu.be/uRheh_aEe70 

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

The No Child Left Behind Act and Standardized Testing : by Melissa



          I first became aware of Lamplaimat Pattana School (LPMP) while doing research about education systems in several countries in which I was considering doing volunteer work. Having spent the previous thirteen years in American Higher Education as a college instructor of English Composition, I found myself increasingly frustrated working in a system that did not, ultimately, share my vision of the possibilities of education.

          My American teaching career spanned the dawning of the 21st-century, and my students represented the global village; I often had students from as many as a dozen countries represented in a single classroom. It became increasingly clear to me that the needs of the 21st century, and of the young people who would be charged with facing and solving the problems inherent to it, were not being addressed as effectively and urgently as necessary.

          In June of 2011, I resigned from the American education system and made the decision to go outside of the United States to see if I could find a way to use my  skills and experience to make a difference in global education. As I often say, and deeply believe, “Education anywhere matters everywhere.”

          In my research about education in Thailand, I discovered Lamplaimat Pattana. As I began to read about the mission of LPMP, and as I read the extensive analytical report produced by the University of Tasmania about the school, I recognized a pedagogical soul-mate. Conversations with a representative of LPMP further enhanced my sense that LPMP was a school that not only shared my educational vision, but was in fact substantially further down the path in implementing that vision.

Problems in American Education: The No Child Left Behind Act and Standardized Testing

          On January 8, 2002, former United States President George W. Bush signed into law the No Child Left Behind Act (NCLB). I had been teaching for three years at that time, and although I did not doubt that the intentions of the Act were good, I knew that the methodology was exactly the opposite of what we needed to focus on in American education in order to face the increasingly pressing needs of the 21st century.
         
          NCLB elevated the results of standardized testing to the position of central, and only, determinant of “success” for students, teachers, and schools. In the past ten years, a generation of American students has been taught “to the test” instead of being taught in authentic ways that truly encourage a love of learning, ways that cultivate critical inquiry and dialogue, and that help students to apply their knowledge to the real-world issues faced by their local and global communities. American teachers are becoming increasingly frustrated at having to assess students based upon an extremely narrow understanding of “knowledge” and by being unable to  devote enough class time to helping students nurture a genuine excitement for the learning process (instead, the time is used to relentlessly prepare for testing). In effect, the motivation for “learning” has been thoroughly externalized: the goal is to pass the test, and avoid punishment, which is the end result of not “succeeding” in the NCLB model.

Both “knowledge” and “success” are perilously ill-defined in the NCLB system. Students are considered to “know,” and therefore to have “succeeded,” to the extent that they become successful test-takers; that is, to the extent that they are able to demonstrate that they can reiterate (not necessarily deeply understand) a narrow range of information, which they have been drilled about for the entire school year at the expense of the whole range of knowledge and skills which have been neglected in order to “teach to the test” (many of which skills, of course, simply cannot be assessed in the standardized testing model).

Also virtually ignored in the NCLB system is the inherent diversity in students themselves. Although anyone who has ever taught knows that each and every student is a unique human being with equally unique abilities and aptitudes, NCLB demands the impossible and ultimately, for the 21 century-- the undesirable: that every student be alike-- that they think alike, that they “know” the exact same things in the exact same way, and that they express that “knowledge” in the narrowly conceived way that allows test-makers to easily quantify that “knowledge.” Students are ultimately reduced to numbers in this system, a system that has been a boon for some, such as the standardized testing industry, which has become a multi-billion dollar industry since the inception of NCLB. But at what cost to the students, to America, and to the world?

In order to meet the requirements of “knowledge” in Reading and Math set out by NCLB, teachers and students are increasingly forced to give up time and resources that would otherwise be available for developing a well-rounded, holistic educational experience, one that recognizes the students as human beings, not simply standardized test-taking machines. Time for the Arts, play, sports, and even time to eat a proper nutritionally balanced lunch (all of which have been scientifically proven to enhance children's learning) has been increasingly shifted to test cram sessions. It has gone so far that two 11-year old girls from Minn, Minnesota recently felt compelled to write to their local newspaper to express their concern over being given just 10 – 11 minutes to eat lunch. (Return to discuss relevance/ implications/revise this section).

A decade into this experiment in American education, even formerly enthusiastic advocates of NCLB, such as education historian and once prominent supporter of the federal education policy, Diane Ravitch, have come to understand that, good intentions aside, NCLB is a “disaster.”

21st-century Skills

           The world is changing at a faster pace than ever before in human history. The skills necessary for meeting the challenges of the new millennium are not the same as those that were sufficient to meet the challenges of the past. More than ever before, students need to develop what have come to be known as 21st century skills, authentic thinking and communication skills that include:


·     Mental model building - using physical and virtual models to refine understanding
·     Internal motivation - identifying and employing positive emotional connections in learning
·     Multi-modal learning - applying multiple learning methods for diverse learning styles
·     Social learning - using the power of social interaction to improve learning impact
·     International learning - using the world around you to improve teaching and learning skills.


In effect, what educators must focus on in order to prepare students to effectively participate in the 21st-centruy global community is the development of “lifelong learners.” In the past, the focus of education has largely been placed on teaching, yet 21st century demands a shift to a focus on learners: helping students learn how to learn, how to reflect on and articulate their growing knowledge, and how to implement that knowledge, together with others, in ways that positively impact the world in which they live, is crucial to authentic education. The problems that have been created by outdated thinking cannot be solved by that same thinking; instead, education must focus on cultivating creative, critical thinking that will enable students to become self-motivated, confident innovators who are able to bring new thinking to the problems faced by the real world in which they live.


LPMP meets (and exceeds) the challenge of providing 21st-century education

Having had the privilege of experiencing LPMP as a guest observer/participant for a five weeks, I have come to know that not only were my initial impressions of the school correct, but that, in fact, the work being done at LPMP is even more transformational and progressive than I could have imagined. Below is a discussion of the ways in which I have observed LPMP meeting, and exceeding, the 21st century skills goal that is becoming increasingly recognized globally.

Mental model building - using physical and virtual models to refine understanding

LPMP employs a variety of learning opportunities/methodologies to assist students in developing and refining their understanding/knowledge through the use of physical and virtual models, including mind-mapping and project-based learning.

Mind-mapping

Mind-mapping allows students to begin to articulate, as well as to visually conceptualize, the framework of key questions, ideas, and language of the particular  project they are working on. Mind-mapping inherently encourages complex analytical thinking. Analysis, of course, is the process of breaking down a coherent whole into its parts so as to better understand a) how the parts function in and of themselves and b) how the parts function together to make up the whole. This physical modeling tool encourages students to recognize and represent the complexity and interconnection of ideas, as well as to begin to understand and represent complex structures.

Project-based Learning (PBL)

LPMP's focus on Project-based Learning (PBL) is perhaps its most striking contribution to helping students become engaged life-long learners. Whereas the traditional lecture, drill, test methodology encourages learners to think of knowledge as compartmentalized (limited to the classroom, or to the test, for example), PBL encourages what renowned educational theorist Paulo Freire, in his seminal essay “The 'Banking' Concept of Education” defines as real knowledge. For Freire, as for progressive schools such as LPMP, knowledge is not a static, compartmentalized “thing.” Instead, it is understood to be what it truly is: a process. True knowledge “emerges only through invention and re-invention, through the restless, impatient, hopeful inquiry human beings pursue in the world, with the world, and with each other (Freire ___).” It should be noted that the PBL projects themselves are imagined and constructed by the students in collaboration with their teachers, increasing student engagement and ownership. PBL encourages students to actively engage in the meaning-making process through inquiry, through dialogue, through collaboration with others, and then to apply their growing knowledge in the real world. This is the kind of knowledge, and these are the kinds of learners, crucial to the 21st-centrury.

One particularly excellent example of PBL at LPMP is a Primary Grade Six project in which students collaborated in creating  a video of a text they had read together (The Alchemist). Not only was the students' understanding of the concepts clear in the excellent artifact they produced, but the joy and engagement of the students was also clear in videos and images that captured the students' creative process. Perhaps Socrates said it best when he said, “Education is the kindling of a flame, not the filling of a vessel.” PBL kindles the flames of curiosity, creativity, engagement, and joy necessary to cultivate lifelong learners. We owe students no less as we ask them to face the enormous challenges of a century the problems of which they did not create, but will necessarily be tasked with solving.

Real-world Learning

The world as a model is also a key component of LPMP pedagogy. Students are encouraged to look to their own natural environment for learning models, and to observe and understand their world as a classroom. Children in Kindergarten Two, for example, studying ants, are encouraged to observe ants on the playground: to recognize their size, their color, their movements and habits. Of course, observation is the first principle of science, and these little investigators practice one of the most important intellectual skills when they observe their own world. They also build physical models as they produce art projects that allow them to demonstrate their growing understanding, for example, of ant morphology. What kindergarten class would be complete without music? Although they are “only” five-years old, they are already being introduced implicitly to linguistics as they sing songs (in their Native language as well as in the English language).

*I will discuss later the implications of these multi-faceted learning activities on learning styles.

Internal motivation - identifying and employing positive emotional connections in learning

One of the most impressive aspects of LPMP's pedagogy and methodology is its focus on student learning as an organic, internal process. At LPMP, punishment and cohersion are avoided in favor of student-focused learning that evokes the natural curiosity and wonder necessary fro the development of life-long learners. The intellectual materials are not “owned” by the teachers” and “given” tot he students; instead, they are the creation of the students facilitated by their teachers, who dilligently strive to ensure that students are

Multi-modal learning - applying multiple learning methods for diverse learning styles


Unlike schools that rely on traditional and outdated methods such as lecture and drill, LPMP teachers employ “multiple learning methods for diverse learning styles” daily. The Primary Six project discussed above provides and excellent example of this. Students employed multiple skill sets in producing their collaborative project, including music, technology, writing, theater, and oral presentation. Visual, auditory, kinetic

(Discuss Learning Styles research -return to ANTS discussion)


Social learning - using the power of social interaction to improve learning impact

In traditional educational settings, which often views learners in isolation, LPMP recognizes that knowledge and meaning-making is an inherently social process. Particularly in the 21-st century, as human beings become increasingly capable through technology of interacting and collaborating globally, it is important to cultivate learners who are not isolated and compartmentalized.

LOVE: Introduce Erich Fromm's definition: to love someone, you must respect them, to respect them you must know them, to know them, you must listen deeply to them. LPMP LOVES their students by this eloquent definition. Deep listening, attention to the issues to he individual student, to individual teachers, sports/games that build social connections (not heirarchical). Bodies, spirits, minds, emotions

(Khru Kloy with upset child on day one: discuss the role of empathy in critical thinking and education) EQ?SQ/IQ: HOLISTIC intertwining.

LUNCH/FLAG rituals

Home/School synthesis (home visits)

International learning - using the world around you to improve teaching and learning skills.

Real-world learning. Use ASEAN example (Primary Five). Buriram example (_________)?

How does LPMP EXCEED?

·       Attention to teachers as students and as human beings.
·       Mentoring of younger/less experienced teachers
·       Constant self-reflection: as a team, and as individuals
·       Regular dialogue (talking with, not AT teachers)
·       Problem-solving as a community (child with diabetes-- not HIS problem, OUR problem. Same with View and Boom)
·       Attention to environment: exciting, engaging, safe, full of wonder, play, lesson (walkways as classrooms).
·       Return to Fromm: LOVE (no physical, emotional barriers, trust)
·       respect/love/appreciation for their own (and others') culture (builds self-esteem and other-esteem)
·       Dedication of teachers extraordinary
·       Involvement of parents crucial: always seeking to improve/reinforce/build upon this crucial connection – HOME VISITS.