ติดตามเรื่องราว

..เรียนรู้ จากความยาก..-
บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย นั่นล่ะ -PBL




วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

PBL อย่างโรงเรียนนอกกะลา


วิเชียร ไชยบัง ครูใหญ่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาสะท้อนหลักคิดการจัดการเรียนรู้ PBL

· การจัดการเรียนการสอนแบบ Problem Based Learning (PBL)
การสอนวิธีนี้ค่อนข้างท้าทาย ขบถคิดเพราะใครจะเชื่อว่าการศึกษาจากนี้ต่อไปจะต้องเน้นทักษะซึ่งไม่เหมือนเดิม เพราะโลกมันแปรเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ปีหน้าจะมีเด็กจำนวนหนึ่งถึงหลายล้านคน จะต้องใช้วัสดุหนึ่งในการเรียน เราเปลี่ยนแปลงมันไม่ได้ เราต่างหากที่มีทักษะไม่เท่าทันที่จะอำนวยการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นเรื่องท้าทายมาก  ตัว Problem Based Learning เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดของแต่ละโรงเรียน มันคือรูปแบบของการเรียนรู้ที่จะพัฒนาทักษะใหม่ซึ่งจำเป็นในอนาคต เป็นขบถความคิดให้เราเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนไปจากเดิม ครูหลายคนบอกว่า เหลือเชื่อ ไม่อยากเชื่อ ผมเองก็ยังเชื่อการสอนแบบเดิมอยู่แต่ถึงนาทีนี้เราต้องค่อยๆ ทำใจยอมรับ มิฉะนั้นเราจะให้สิ่งบางสิ่งบางอย่างแก่เด็กที่ไม่เท่าทันกับโลกที่มันแปรเปลี่ยนไป
·  คำถาม .วิเชียรสร้างนวัตกรรม PBL ขึ้นมาอย่างไร 
เป็นเราครูทุกคน ที่สร้างนวัตกรรมนี้ขึ้นมา  นวัตกรรมเกิดจากการทำงานจริงแล้วมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งกระบวนการสร้างนวัตกรรมหรือกระบวนการพัฒนาคนต้องใช้เครื่องมือแบบนี้ มีศัพท์ใหม่เรียกว่า Professional Learning Communities (PLC) ซึ่งหลายคนคงเคยได้ยินแล้ว การทำงานของลำปลายมาศพัฒนามีพัฒนาการ เริ่มครั้งสิบปีที่แล้วเราใช้ พ...ปฏิรูปการศึกษาโดยมีบูรณาการเป็น Brain Set ตั้งแต่ต้น คิดว่าใช้อะไรดีที่จะเชื่อมต่อชุดความรู้เข้าเป็นเรื่องเดียวกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ ระหว่างคนไปเก็บดอกไม้ใส่ตะกร้าแล้วหิ้วมากับเก็บดอกไม้แล้วเอาด้ายมาร้อยเป็นพวง สองอย่างนี้ อย่างหลังเป็นการบูรณาการ  บางทีคนเข้าใจบูรณาการผิดนิดเดียวว่าเอาความรู้หลายๆ แบบมาวางกองรวมกันแบบเก็บดอกไม้ใส่ตะกร้า มันเป็นบูรณาการไม่ได้ เพราะมันไม่มีจุดเชื่อม ร้อยเรียงแล้วเชื่อมโยงกันเพื่อตอบโจทย์อะไรสักอย่าง  ดังนั้นการบูรณาการในปีแรกเราใช้ Story line ในการร้อยความรู้ ทำปีแรกล้มเหลวไม่เป็นท่า  เด็กมีอารมณ์ร่วมดีมากและเรื่องราวสนุกมาก แต่เด็กเข้าสู่หัวใจของเนื้อหาไม่ได้  การมีอารมณ์ร่วมกับเรื่องราวแต่ไปไม่ถึงหัวใจ  ผมยกตัวอย่างบทเรียนของครูของผมคนหนึ่งเป็นครูใหม่อยากจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ใช้ angry bird เพื่อชูโรงเข้าสู่เนื้อหา แต่ปรากฏว่าทั้งชั่วโมงเด็กติดแต่ angry bird แต่เข้าสู่เนื้อหาไม่ได้ ก็จะเป็นประมาณนี้ในปีแรก  เมื่อเรารู้ข้อบกพร่องแล้วเราเปลี่ยนทันที ปีนี้ใช่แต่ปีหน้าอาจไม่ใช่ก็ได้ อาจมีสิ่งที่ใช่กว่า เพราะฉะนั้น ปีที่สองเราจึงนำบูรณาการเติมใส่กับ PBL แต่เป็น Project Based เอาโครงงานเข้ามาจับแล้วร้อยเนื้อหาทั้งหมดใส่เข้าไป รู้สึกว่าทำได้ดี เพราะทำให้เด็กได้ลงมือทำ เพราะหัวใจของ Project Based คือ Learning by Doingแต่ก็ยังไม่พอใจ ปีที่สามเราจึงใส่เรื่องการคิดเข้าไป  เพราะเรารู้สึกว่ามาตรฐานที่ 4 กำลังมาแรง เราใส่ทุกหน่วยการเรียนและทุกแผนการสอน ยิ่งดีขึ้น  เราเห็นผลงานที่เกิดขึ้นจากการคิด แล้วคิดเป็นระดับด้วยเราก็พอใจระดับหนึ่ง พอปีที่ 4 เราไปเจอเรื่องหนึ่ง ตอนนั้น Backward Design ยังไม่มา สิ่งที่เราพบคือ สิ่งที่เราสอนไปทั้งหมดนั้นเด็กได้เรียนรู้และเพียงแค่รู้เท่านั้น รู้เยอะแยะเลย แต่เข้าไม่ถึงหัวใจของความเข้าใจ  ปีที่สี่เราทำงานหนักมากเลยเพื่อให้ครูเปลี่ยนรูปแบบของหน่วยการเรียนเพื่อเป็น Teaching for Understanding  มีหน่วยการเรียนรู้และออกแบบหน่วยการเรียนนั้นให้มีหัวใจชุดความรู้ที่มารวมกันมีหัวใจชุดหนึ่ง ซึ่งครูทุกคนต้องถึงหัวใจชุดนั้น เพราะเป็นทั้งการ บูรณาการด้วยและเป็นการสอนเพื่อความเข้าใจด้วย พอพัฒนามาถึงตรงนี้เราพบว่า การทำแบบ Project Based ก็จริงทำแบบเติมความคิดให้ไปสู่ความเข้าใจก็จริง แต่มันจะกำหนดตายตัวเลยไม่ได้ เพราะปัญหาใหม่ที่มันเข้ามาปะทะเด็กมันเปลี่ยนตลอด ใช้หน่วยการเรียนรู้เดิมไม่ได้ มันไม่ได้ผล หน่วยนี้ต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ มันจึงพัฒนาจากตรงนี้ไปเป็น Problem Based Learning และเราก็เห็นว่าพอใช้ Problem  Based Learning เด็กจะมีอารมณ์ร่วมในปัญหา เพราะมันเกี่ยวข้องกับฉัน ฉันต้องแก้ปัญหาให้ได้ แล้วในการแก้ปัญหาก็ต้องใช้นวัตกรรม และในการสร้างนวัตกรรมมันก็ต้องใช้ทักษะ แบบ Multiple เป็นทักษะที่หลากหลาย และความรู้ที่หลากหลาย จึงจะสร้างนวัตกรรมได้ และจะต้องบูรณาการคนด้วย สร้างเป็นวงจรได้ แล้วมันก็จะเกิดทักษะอื่นย่อยๆ ตามมา เป็นการตอบคำถามทั้งหมดว่า PBL ที่ลำปลายมาศพัฒนามันมีที่มาที่ไปอย่างไร และทั้งหมดเราสร้างมันขึ้นมา เวลาทำงาน ใครทำได้ ใครเจออะไร อะไรใช่หรือไม่ใช่ เราขมวดด้วยกัน เราต้องความเข้าใจทั้งหมดด้วยกัน
·  คำถาม เราจะทราบได้อย่างไรว่าจัดการเรียนการสอนแล้วจะได้ครบมาตรฐานตามหลักสูตร       
จุดนี้เป็นหน้าที่ครูที่ต้องทำงานมากขึ้น สมมติเด็กอยากเรียนรู้อะไรก็ตาม ครูจะต้องมองว่าสิ่งที่เขาอยากเรียนรู้นั้นมันจะต้องประกอบไปด้วยชุดความรู้อะไรบ้าง มีเยอะขนาดไหน เอาชุดความรู้ที่เกี่ยวข้องเหล่านี้มาดูก่อนแล้วค่อยมาไล่เรียงว่าชุดความรู้นี้มันอยู่ในมาตรฐานไหน ตัวชี้วัดใด ทุกวิชาก็จะเจอชุดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น เมื่อเจอแล้วก็ต้องออกแบบว่าเด็กจะสร้างหรือมีชิ้นงานหรือภาระงานอะไรบ้าง แล้วก็ต้องคิดเอาไว้ก่อนว่าชิ้นงานหรือภาระงานนั้นมันไปเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะตามมาตรฐานเดิม และตัวชี้วัดตัวใด
·  คำถาม เป็นไปได้ไหมที่การสอนแบบ PBL ทำให้เด็กหลุดมาตรฐานไปบางตัว”   
แน่ นอนเป็นไปได้ แต่เราทำหลายโปรเจ็กค์ ไม่ใช่หนึ่งปีมีโปรเจ็กค์เดียว  บางมาตรฐานถูกประเมิน ทำซ้ำๆ ด้วยชิ้นงานหลายชิ้นหลายอันด้วยกัน  การออกแบบการเรียนรู้ทีมครูสำคัญมาก  การพัฒนาครูจึงสำคัญที่สุดและเรา(ลำปลายมาศพัฒนา)จึงพัฒนากระบวนการพัฒนา ครูที่นี่ขึ้นมาเพื่อให้มั่นใจว่าครูจะถึงพร้อมทั้งความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในเชิงทักษะ และความสามารถในเชิงจิตวิญญาณ
·  คำถาม บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร ทำอย่างไร
เอื้ออำนวยด้วยการบริหาร ผู้บริหารโรงเรียนในฐานะผู้นำจำเป็นต้องเป็นผู้ชี้ทางให้ถูก ไม่ต้องบริหารเก่งก็ได้ แต่ต้องชี้ทางให้ถูก หากเราชี้ทางผิดไปองศาเดียว ปลายทางนั้น ผลของมันนั้นห่างกันเป็นร้อยกิโลฯ เลย เรื่องนี้พูดง่าย แต่ทำยากนะครับ  เพราะต้องใช้ทักษะการสร้างภาพในสมองขั้นสูง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น