ปัญญาภายใน(3)
ปัญญาภายในที่เราทั้งหมดโหยหาทั้งเป็นเครื่องค้ำชูชีวิตกลับกลายเป็นสิ่งขาดแคลนเหลือเกินในภาวะปัจจุบัน การสร้างจึงต้องให้ครบถ้วนทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และ ปฏิเวธ
ปัญญาภายใน หรือ ความฉลาดด้านในหมายรวมถึงความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณ(SQ) และ ความฉลาดทางด้านอารมณ์(EQ) ซึ่งได้แก่
การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง(รู้ตัว) และการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น มีความสามารถจัดการอารมณ์หรือปรับสมดุลทางอารมณ์ของตนเองได้
การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง(รู้ตัว) และการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น มีความสามารถจัดการอารมณ์หรือปรับสมดุลทางอารมณ์ของตนเองได้
การเห็นคุณค่าในตัวเอง คนอื่น และสิ่งต่างๆ เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายและมีความหมาย
การอยู่ด้วยกันอย่างภารดรภาพ ยอมรับในความแตกต่าง เคารพและให้เกียรติกัน การมีวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม อยู่อย่างพอดีและพอใจได้ง่าย
การมีสติอยู่เสมอ รู้เท่าทันอารมณ์เพื่อให้รู้ว่าต้องหยุด หรือ ไปต่อ กับสิ่งที่กำลังเป็นอยู่
การมีสัมมาสมาธิ เพื่อกำกับความเพียรให้การเรียนรู้หรือการทำภาระงานให้ลุล่วง มีความอดทนทนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
การเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างตนเองกับสิ่งต่างๆ นอบน้อมต่อสรรพสิ่งที่เกื้อกูลกันอยู่
การมีจิตใหญ่มีความรักความเมตตามหาศาล
การบ่มเพาะปัญญาภายในด้วย ด้วยนวัตกรรมการสอนที่เรียกว่า “จิตศึกษา”
กระบวนการ “จิตศึกษา” เป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 เพื่อให้เป็นแนวคิดและกระบวนการพัฒนาทั้งครูและเด็กให้เกิดการเรียนรู้และงอกงามด้านความฉลาดทางด้านอารมณ์และความฉลาดด้านจิตวิญญาณ
กระบวนทัศน์ของ “จิตศึกษา” ประกอบด้วย
1. การใช้จิตวิทยาเชิงบวก
2. การสร้างชุมชนและวิถีของชุมชน
3. การจัดกระทำผ่านกิจกรรมและเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
เริ่มต้นในปีแรกๆ นั้น กระบวนการจิตศึกษาในโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมเด็กให้สงบ ผ่อนคลาย และให้กลับมารู้เนื้อรู้ตัวก่อนเรียนทุกวัน
หลังจากการดำเนินกระบวนการจิตศึกษาได้หนึ่งปี พบว่า เด็กทุกคนสงบได้ง่ายขึ้น จิตใจที่สงบก็จะนำมาซึ่งการรับฟังกันได้ลึกซึ้ง เกิดการใคร่ครวญ สามารถรับรู้และเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ หรือสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
หลังจากนั้นโรงเรียนจึงได้พัฒนากระบวนการและกิจกรรมขึ้นมาเป็นลำดับ จนปัจจุบันพบว่า เมื่อครูใช้กระบวนการจิตศึกษาเพื่อขัดเกลาเด็ก ในขณะเดียวกันนั้นครูก็ได้ขัดเกลาความฉลาดด้านในของตนเองไปด้วย "จิตศึกษา" จึงกลายเป็นส่วนสำคัญของโรงเรียนในการพัฒนาครู เพื่อยกระดับจิตวิญญาณครูให้มี "หัวใจของความเป็นครูอย่างแท้จริง"
ส่วนในตัวเด็ก กระบวนการจิตศึกษาได้ยกระดับความฉลาดด้านจิตวิญญาณ และความฉลาดด้านอารมณ์ ให้เห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง การน้อมนำของสิ่งที่ดีงามเข้าไปสู่จิตใต้สำนึก ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมของนักเรียน ให้อยู่ในภาวะคลื่นสมองต่ำเพื่อให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้
กรุงเทพธุรกิจ(กายใจ) ฉบับ 79 4-10 ธ.ค.2554
เริ่มต้นในปีแรกๆ นั้น กระบวนการจิตศึกษาในโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมเด็กให้สงบ ผ่อนคลาย และให้กลับมารู้เนื้อรู้ตัวก่อนเรียนทุกวัน
หลังจากการดำเนินกระบวนการจิตศึกษาได้หนึ่งปี พบว่า เด็กทุกคนสงบได้ง่ายขึ้น จิตใจที่สงบก็จะนำมาซึ่งการรับฟังกันได้ลึกซึ้ง เกิดการใคร่ครวญ สามารถรับรู้และเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ หรือสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
หลังจากนั้นโรงเรียนจึงได้พัฒนากระบวนการและกิจกรรมขึ้นมาเป็นลำดับ จนปัจจุบันพบว่า เมื่อครูใช้กระบวนการจิตศึกษาเพื่อขัดเกลาเด็ก ในขณะเดียวกันนั้นครูก็ได้ขัดเกลาความฉลาดด้านในของตนเองไปด้วย "จิตศึกษา" จึงกลายเป็นส่วนสำคัญของโรงเรียนในการพัฒนาครู เพื่อยกระดับจิตวิญญาณครูให้มี "หัวใจของความเป็นครูอย่างแท้จริง"
ส่วนในตัวเด็ก กระบวนการจิตศึกษาได้ยกระดับความฉลาดด้านจิตวิญญาณ และความฉลาดด้านอารมณ์ ให้เห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง การน้อมนำของสิ่งที่ดีงามเข้าไปสู่จิตใต้สำนึก ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมของนักเรียน ให้อยู่ในภาวะคลื่นสมองต่ำเพื่อให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้
กรุงเทพธุรกิจ(กายใจ) ฉบับ 79 4-10 ธ.ค.2554
โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ได้เรียนรู้จิตศึกษาและนำมาพัฒนาผู้เรียนและตนเองจนเกิดผลในทางที่ดีต่อตนเองและผู้เรียน จึงอยากขอบคุณครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง และคณะครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่จุดประกายนี้ให้ ขอบคุณมากๆค่ะ
ตอบลบ