ติดตามเรื่องราว

..เรียนรู้ จากความยาก..-
บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย นั่นล่ะ -PBL




วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เมื่อเดินเข้าใกล้ความตาย

ตอนมีชีวิตอยู่เราอาจวิตกว่าก่อนตายจะรู้สึกอย่างไร  จะเจ็บปวดมากไหม จะกลัวอะไรบ้าง แต่อาจจะเปล่าดายที่จะไปคิด  เพราะเมื่อถึงกาลเข้าจริงๆ  ความเจ็บปวดตอนสุดท้ายคงไม่สำคัญ  ก็ในเมื่อการเผชิญความตายที่อยู่ต่อหน้านั้นน่าพรั่นพรึงกว่า   บางทีการรู้สึกอยู่กับความเจ็บปวดอันทรมานนั้นกลับจะเป็นสิ่งดีเสียอีกที่จะทำให้เราได้หลงลืมความกลัวตายไปชั่วขณะ  และตอนนั้นเราอาจจะอยากรู้สึกเจ็บปวดอยู่อย่างนั้นนานๆ  ก็ได้  เพราะความรู้สึกเจ็บปวดเท่านั้นที่ช่วยเตือนให้รู้ว่าเรากำลังมีชีวิตอยู่  
 ประสบการณ์จากเช้ามืดวันหนึ่ง  ขณะฝนโปรยปรายลงมาอย่างนุ่มนวลแผ่วเบาตลอดคืน  ตรงริมถนนใหญ่ตรงนั้นแสงไฟส่องสว่างที่ถนนส่องต้องร่างอันเปลือยเปล่าของชายฉกรรจ์ซึ่งนอนสงบแน่นิ่งท่ามกลางผู้คนที่สัญจรไปมาของเช้าวันนั่น  มือทั้งสองข้างของเขากุมแน่นไว้ที่หน้าอกเปลือยเปล่า  ร่างเผือดขาวซีดใบหน้าเรียบเฉย  ผมรู้สึกสะทกสะท้านใจในแวบแรก  แต่แล้วเมื่อผมได้เพ่งมองลงไปจึงพบว่านั่นคือความตายอันงดงามที่สุดเท่าที่ผมเคยเจอมา  มันหมดจดสะอาดเอี่ยมโดยปราศจากข้อสงสัยว่าเขาคนนั้นจากไปอย่างอิสรก็วิธีหนึ่งมิใช่หรือที่จะปลดปล่อยตัวเองสู่ความว่างเปล่าเป็นอิสระอย่างแท้จริง นั่นคือต้องหลุดพ้นไปจากโลกนี้เสีย  ในห้วงคำนึงถึงความตาย  การเตรียมตัวตายอาจนำความอิสระมากว่าครึ่ง  
เตรียมตัวตายกันเถอะ- ด้วยวิธีดังนี้
1 ตั้งใจว่าอยากจะมีเวลาชีวิตที่เหลืออยู่เท่าไหร่(ต้องกะแบบไม่ละโมบ) และให้วันเกิดเป็นสัญญาณการนับถอยหลัง
2 เลือกสิ่งใหญ่ๆ สักอย่างที่อยากจะทำในแต่ละปี โดยที่สิ่งนั้นต้องนำปีติมาสู่ตน
3 ตั้งใจที่จะมีความสุขเพียงเล็กน้อยในทุกเวลาของหนึ่งวัน โดยกลับมารู้สึกตัวทีจะมีความสุขเพียงเล็กน้อยวันละหลายครั้ง
4 ให้การนอนเป็นการสมมุติการตาย หรือทดลองตายทุกครั้ง
5 แบ่งเวลาให้เท่าเทียมเพื่อคุยกับคนอื่น ตนเอง ต้นไม้ ท้องฟ้า หมา แมว นก ฯลฯ
6 อย่าคิดว่าจะรอดตาย
----ขอให้การเดินทาง เป็นไปด้วยความรื่นรมย์---

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

India Future Forum


ปลายเดือนกรกฎาคม 2556  ได้เข้าร่วมกิจกรรม India Future Forum   ซึ่งจัดที่ Infosys เมื่อง Pune ซึ่งเป็นบริษัทซอฟแวร์ยักษ์ใหญ่ของอินเดีย

สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การทำงานของอโชก้าเป็นความพยายามค้นหาบุคคลที่เป็น Changemakers ทั้งเป็นนักนวัตกรรมทางสังคมที่มุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งภาพเล็กๆ และ ภาพใหญ่ระดับโครงสร้าง  เพื่อเสริมพลังให้บุคคลเล่านั้นยังทำงานต่อไปและช่วยให้บุคคลเล่านั้นยังคงทำงานต่อไปอย่างมีพลังยิ่งขึ้น  ซึ่งได้เห็นทั้งความหลากหลายของบุคคลและความหลากหลายของงาน
- ในการจัดForum สำหรับ Fellow แต่ละครั้งจะช่วยให้เกิด  Collective Leader ที่มีพลังใหญ่ขึ้นเพราะจะเกิดการเชื่อมคนเชื่อมงานเข้าด้วยกันเพื่อร่วมกันทำไปให้ถึงแก่นของการที่จะทำให้โลกและสิ่งมีชีวิตบทโลกมีสุขภาวะเพิ่มขึ้น   กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือเครื่องมือที่จำเป็นที่สุด  ซึ่งต้องอาศัยกระบวนกรที่เก่งและอาจต้องใช้กิจกรรมที่แยบยลและหลากหลายในการถอดบทเรียนจากอโชก้าเฟลโลให้ทั่วถึงกันทุกคนเพื่อให้แต่ละคนได้เรียนรู้จากกันและกันในทุกแง่มุมให้ลึกซึ้งขึ้น  ด้วยอโชก้าเฟลโลแต่ละคนต่างเผชิญอยู่กับการแก้ปัญหานั้นๆ อย่างยาวนานจนเข้าใจรากเหง้าของเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี แต่ขณะเดียวกันก็ขาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้เรื่องอื่นๆ  ซึ่งจำเป็นหรือมีความเกี่ยวโยงกับงานที่กำลังทำอยู่
- ฐานใหญ่ที่จะสร้าง Changemakers  หน้าใหม่มากขึ้นคือการสร้างการเรียนรู้ด้าน Empathy  โดยเฉพาะตนเองในฐานะที่มีภารกิจด้านการจัดการศึกษาสำหรับเยาวชนจำเป็นจะต้องกำหนดEmpathy ไว้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมาย และให้มีกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง  ส่วนผู้ที่เป็นChangemakers อยู่แล้วอาจจะเพิ่มโอกาสให้คนใหม่ได้มีโอกาสมาร่วมงานหรือได้เรียนรู้ด้วยเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ