ติดตามเรื่องราว

..เรียนรู้ จากความยาก..-
บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย นั่นล่ะ -PBL




วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โครงการ การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู


โครงการ การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู 
ได้รับสนับสนุุนจากกองทุน Bkind 2558-2559

หลักการและวัตถุประสงค์
ด้วยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้ดำเนินการเพื่อ วัตถุประสงค์หลักได้แก่
1.      เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่าง ด้วยการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและนวัตกรรมองค์กร
1.1   วัตกรรมสำหรับการเรียนการสอนเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในศตวรรษที่ 21  และ จากการที่ทดลองและพัฒนามากว่า 10 ปี  จึงได้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญสองนวัตกรรมคือ  1) “จิตศึกษา” ซึ่ง เป็นนวัตกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนไปถึงปัญญาภายใน  ได้แก่  การมีจิตใหญ่เพื่อรักได้อย่างมหาศาล  การเคารพคุณค่าตัวเองและคนอื่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างภารดรภาพ  การมีสติชำนาญเพื่อเท่าทันอารมณ์  การมีสมาธิเพื่อกำกับความเพียรให้สำเร็จ  การมีความรับผิดชอบต่อตัวเองและผู้อื่น เป็นต้น  และ 2) “หน่วยบูรณาการที่ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้หรือ PBL (Problem based learning)” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เป็น    Active Learning ที่จะทำให้ผู้เรียนไปถึงปัญญาภายนอก  ได้แก่ Reading comprehension,  Writing,  Arithmetic,  ICT skills,  Thinking skills,   Life & Career skills,  Collaboration skill  and  Core subject
1.2   พัฒนานวัตกรรมสำหรับองค์กรเพื่อมุ่งพัฒนาครู และการพัฒนาองค์กรที่เรียกว่า “ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ” (PLC-Professional learning community) ซึ่งมีองค์ประกอบสองส่วนที่สำคัญคือ การสร้างความเป็นชุมชนให้เกิดขึ้นในองค์กร และ การจัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างหลากหลายระหว่างกัน  เป้าหมายสำคัญของ PLC คือ การสร้างการเรียนรู้ของครูร่วมกันเพื่อให้ทุกคนได้ยกระดับความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่จะสอน   มีทักษะการจัดการเรียนการสอน  และ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู
รูปแบบการทำงานของ นวัตกรรม PLC, PBL, จิตศึกษา ที่จะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน




2.      เพื่อขยายผลไปยังโรงเรียนของรัฐให้มากขึ้นเพื่อ ให้ถึงผู้เรียนจำนวนมากขึ้น  และ ในที่สุดจะเกิด Critical mass สำหรับการปฏิรูปการศึกษาของไทย  โดยโรงเรียนฯ ได้ดำเนินการกิจกรรม ดังนี้
2.1   เปิดรับให้ครู หรือโรงเรียนต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาดูงาน วัน (Open eyes) เพื่อจุดประกายให้เห็นความสำเร็จจากการใช้นวัตกรรมทั้งสามอย่าง
2.2   โรงเรียนสนใจที่ต้องการใช้นวัตกรรมหรือวิธีการบางส่วน   หลังจาก Open eye แล้วจะกลับมาอบรมระสั้น 2-3 วัน
2.3    โรงเรียนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ  จะมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ 
-             กระบวนการ  Open eye
-             อบรมหลักสูตรยาว 5-10 วัน เพื่อเรียนรู้นวัตกรรมทั้งหมด  PLC  PBL จิตศึกษา  
-             นำกลับไปใช้  โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ตาม  Monitor สาธิตการสอน  ร่วมทำ Lesson study  ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือ PLC  ปีละ 2-4 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับสภาพการเรียนรู้ของครูแต่ละโรงเรียน)
-             ถ่ายทำ Clip การสอนของครูในทุกชั้นเรียนเพื่อให้ครูเรียนรู้จากการสอนได้มากขึ้น
-             สร้างเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน และ ทำ PLC online เพื่อการเรียนรู้ข้ามโรงเรียน และ เพื่อ Empower ครู
-             จัด Conference ใหญ่ปีละครั้ง เพื่อให้แต่ละโรงเรียนได้นำเสนอความสำเร็จ และเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับสังคม

รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนของรัฐให้เป็นโรงเรียนตัวอย่างให้การปฏิรูปการจัดการศึกษา





               ด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าวโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ร่ามมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา และ สพป.นครราชสีมา 2และ 5  เพื่อพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู จำนวน 4 โรงเรียนได้แก่  โรงเรียนบ้านโค้งกระโดน โรงเรียนบ้านปอพราน  โรงเรียนบ้านดอนไพล และโรงเรียนโกรกลึก

โครงการ งอก-นอกกะลา NNK

โครงการ งอกนอกกะลา
NNK (Ngok-Nok-Kala)
หลักการและวัตถุประสงค์
ด้วยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้ดำเนินการเพื่อ 2 วัตถุประสงค์หลักได้แก่
1.      เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่าง ด้วยการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและนวัตกรรมองค์กร
1.1   วัตกรรมสำหรับการเรียนการสอนเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในศตวรรษที่ 21  และ จากการที่ทดลองและพัฒนามากว่า 10 ปี  จึงได้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญสองนวัตกรรมคือ  1) “จิตศึกษา” ซึ่ง เป็นนวัตกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนไปถึงปัญญาภายใน  ได้แก่  การมีจิตใหญ่เพื่อรักได้อย่างมหาศาล  การเคารพคุณค่าตัวเองและคนอื่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างภารดรภาพ  การมีสติชำนาญเพื่อเท่าทันอารมณ์  การมีสมาธิเพื่อกำกับความเพียรให้สำเร็จ  การมีความรับผิดชอบต่อตัวเองและผู้อื่น เป็นต้น  และ 2) “หน่วยบูรณาการที่ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้หรือ PBL (Problem based learning)” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เป็น    Active Learning ที่จะทำให้ผู้เรียนไปถึงปัญญาภายนอก  ได้แก่ Reading comprehension,  Writing,  Arithmetic,  ICT skills,  Thinking skills,   Life & Career skills,  Collaboration skill  and  Core subject
1.2   พัฒนานวัตกรรมสำหรับองค์กรเพื่อมุ่งพัฒนาครู และการพัฒนาองค์กรที่เรียกว่า “ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ” (PLC-Professional learning community) ซึ่งมีองค์ประกอบสองส่วนที่สำคัญคือ การสร้างความเป็นชุมชนให้เกิดขึ้นในองค์กร และ การจัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างหลากหลายระหว่างกัน  เป้าหมายสำคัญของ PLC คือ การสร้างการเรียนรู้ของครูร่วมกันเพื่อให้ทุกคนได้ยกระดับความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่จะสอน   มีทักษะการจัดการเรียนการสอน  และ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู
รูปแบบการทำงานของ 3 นวัตกรรม PLC, PBL, จิตศึกษา ที่จะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน




2.      เพื่อขยายผลไปยังโรงเรียนของรัฐให้มากขึ้นเพื่อ ให้ถึงผู้เรียนจำนวนมากขึ้น  และ ในที่สุดจะเกิด Critical mass สำหรับการปฏิรูปการศึกษาของไทย  โดยโรงเรียนฯ ได้ดำเนินการกิจกรรม ดังนี้
2.1   เปิดรับให้ครู หรือโรงเรียนต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาดูงาน 1 วัน (Open eyes) เพื่อจุดประกายให้เห็นความสำเร็จจากการใช้นวัตกรรมทั้งสามอย่าง
2.2   โรงเรียนสนใจที่ต้องการใช้นวัตกรรมหรือวิธีการบางส่วน   หลังจาก Open eye แล้วจะกลับมาอบรมระสั้น 2-3 วัน
2.3    โรงเรียนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ  จะมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ 
-             กระบวนการ  Open eye
-             อบรมหลักสูตรยาว 5-10 วัน เพื่อเรียนรู้นวัตกรรมทั้งหมด  PLC  PBL จิตศึกษา  
-             นำกลับไปใช้  โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ตาม  Monitor สาธิตการสอน  ร่วมทำ Lesson study  ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือ PLC  ปีละ 2-4 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับสภาพการเรียนรู้ของครูแต่ละโรงเรียน)
-             ถ่ายทำ Clip การสอนของครูในทุกชั้นเรียนเพื่อให้ครูเรียนรู้จากการสอนได้มากขึ้น
-             สร้างเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน และ ทำ PLC online เพื่อการเรียนรู้ข้ามโรงเรียน และ เพื่อ Empower ครู
-             จัด Conference ใหญ่ปีละครั้ง เพื่อให้แต่ละโรงเรียนได้นำเสนอความสำเร็จ และเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับสังคม

รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนของรัฐให้เป็นโรงเรียนตัวอย่างให้การปฏิรูปการจัดการศึกษา



               ด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าวโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จึงได้จัดทำโครงการงอกกนอกกะลา หรือ NNK (Ngok-Nok-Kala)  เพื่อพัฒนาโรงเรียนตัวอย่างในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้ น่าน 3 โรงเรียน และ ศรีสะเกษ 6 โรงเรียน


วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

พัฒนาการ-ครูและการสอน-การพัฒนาครู

บรรยาย-ครู Change Agent ศรีสะเกษ  
พฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2558

พัฒนาการของครูและการสอน
1.        ครูยุคก่อนมีระบบโรงเรียน เช่น พระ  ฤๅษี  เป็นครูที่มีอำนาจ  อยู่เหนือศิษย์ด้วยความเชื่อและศรัทธา  เน้นการสอน  ท่องจำ และ ฝึกฝน
2.        ครูในยุคเริ่มต้นของระบบโรงเรียน  ครูก็พัฒนามาเป็น ครูผู้สอน  ในยุคนี้ครูจะมีความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงทีเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น  ครูเลยต้องการถ่ายทอดด้วยการสอน  วัดความสำเร็จของผู้เรียนจากปริมาณความรู้ที่จำได้
3.        ปัจจุบันเราพยายามพัฒนาครูให้เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ หรือ Coaching ด้วยความรู้ที่ค้นพบใหม่เกิดขึ้นอย่างมหาศาล   ครูจึงมีหน้าที่อำนวยให้มีกิจกรรมที่นักเรียนมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจมากกว่าการรู้  ความรู้สามารถทดสอบได้ด้วยการนำข้อสอบมาให้ทำ  แต่ความเข้าใจทดสอบได้ด้วยการให้แก้ปัญหาหรือโจทย์ปัญหาที่หลากหลาย   ในยุคนี้จะมีความรู้มากมายมหาศาล ซึ่งหมายความว่าความรู้ทั้งหมดไม่สามารถบรรจุอยู่ในตัวครูได้  ความรู้ที่มหาศาลจะถูกรวมไว้ที่ศูนย์กลางที่เราสามารถค้นหาหรือ search  ให้รู้ได้ทันที  ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่มีทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความ ภาพและวิดีโอ ในรูปแบบต่างๆให้ค้นหาได้อย่างหลากหลาย แม้แต่เรื่องที่ยากที่สุด เช่นแคลคูลัสที่เคยใช้เวลาเรียนมากกว่า 3 ปีจึงจะเข้าใจจริงๆ แต่ในปัจจุบันสามารถค้นหาคลิปวิดีโอและโมเดลที่สร้างความเข้าใจได้ในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง
4.        ในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้า  อินเตอร์เน็ตจะมีความเร็วสูงยิ่งยวด  โลกจะมี Big Data ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกรูปแบบได้อย่าง ฉับพลัน และซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเรียนรู้จะพัฒนาอย่างสมบูรณ์  โลกจะมี OS ที่สมบูรณ์ที่จะช่วยในคนแต่ละคนสร้างการเรียนรู้เฉพาะตนได้อย่างรวดเร็วและตลอดเวลา   ครูผู้อำนวยการเรียนรู้จะมีความจำเป็นน้อยลง  เพราะ OS ที่สมบูรณ์จะจัดการให้แทนเสมือนมีผู้จัดการประจำตัวที่มีประสิทธิภาพสูง   ครูจะจำเป็นตรงที่การให้เรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความเป็นมนุษย์  การรับรู้ความรู้สึก หรือจิตวิญญาณ การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น  การเข้าใจตนเอง  ซึ่งเป็นสิ่งที่ซอฟต์แวร์ทำไม่ได้  ครูจึงจำเป็นที่จะวิวัฒน์จากครูโค้ชเป็นครูกัลยาณมิตร (Mentor)  เป็นผู้ประคับประคอง  เป็นเพื่อน  เป็นแบบอย่างของความเป็นมนุษย์  เพื่อให้เข้าใจชีวิตและใช้ชีวิตอย่างที่มนุษย์ควรเป็นไป

พัฒนาการของการพัฒนาครู
ครูที่มีคุณภาพคือกุญแจสำคัญของการสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน   ครูที่มีคุณภาพนั้นมีองค์ประกอบและปัจจัยหลายอย่างและด้านคุณภาพชีวิตส่วนตัวก็เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะส่งผลต่อคุณภาพครู   แต่หากจะมองให้แคบลง โดยดูเฉพาะองค์ประกอบเกี่ยวกับหน้าที่ของความเป็นครู   ครูส่วนหนึ่งก็มักจะประสบปัญหาที่ก้าวไปไม่ถึงครูคุณภาพ Performance จากสภาพสองอย่างนี้คือ  ความไม่เข้าใจต่อเนื้อหาที่จะสอน(content) และ/หรือ ความไม่มีทักษะการสอนหรือการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน (Pedagogy)  อันจะส่งผลให้ครูรู้สึกว่าตนเองทำหน้าที่ไม่สำเร็จ ทำได้เพียงแค่เสร็จๆ ไปวันๆ  ความภาคภูมิใจ ความรู้สึกมีคุณค่าต่อวิชาชีพ หรือความปีติจึงไม่เกิดขึ้น

            กรอบคิดและวิธีการพัฒนาครูของระบบการศึกษาจากอดีตถึงปัจจุบัน
1.        ช่วงเริ่มต้นเราเคยเชื่อว่าการให้การศึกษาแก่ครูจะทำให้ครูมีคุณภาพขึ้น  ตั้งแต่สามสิบปีเป็นต้นมาแล้วที่ระบบส่งเสริมและผลักดันให้ครูเรียนเพื่อได้วุฒิที่สูงขึ้น  ฝ่ายผลิตเองก็ทำแทบไม่ทัน จนเกิดโปรโมชั่นประเภทจ่ายครบจบแน่  เมื่อสามสิบปีก่อนมีครูเพียงหยิบมือที่จบปริญญาตรี แต่ปัจจุบันครูที่จบปริญญาตรีจะกลายเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่จะจบสูงกว่าปริญญาตรี  แต่เมื่อมองด้านคุณภาพการศึกษา  คุณภาพผู้เรียนโดยรวมก็ยังต่ำกว่าระดับที่จะไปแข่งขันกับชาติอื่นได้
2.        ตั้งแต่ตั้งกระทรวงทางการศึกษาขึ้นมา ได้ให้การเรียนเรียนกับครู โดยการจัดอบรม  แทบจะเรียกได้ว่างบประมาณของกระทรวงที่เกี่ยวกับการพัฒนาครูแทบทั้งหมอใช้เพื่อจัดอบรม  ส่วนใหญ่ในการจัดอบรมก็เป็น Hotel based งบประมาณการอบรมส่วนใหญ่จึงเป็นค่าสำหรับโรงแรมและค่าเดินทาง  สิ่งที่ครูได้จากการอบรมก็จะเป็นเพียงความรู้อันน้อยนิด  แต่ไม่ได้ทักษะสำหรับการสร้างการเรียนรู้มากนัก  ครูจึงนำสู่การปฏิบัติได้น้อยมาก  แต่กระนั้นก็ยังหลับหูหลับตาทำกันเรื่อยมาจนปัจจุบัน  ซ้ำร้ายการจัดอบรมมักจะระดมทำกันช่วงจะสิ้นปีงบประมาณ(สิงหาคม-กันยายน) นั่นคือช่วงกลางภาคเรียน ที่ทำให้ครูต้องทิ้งชั้นเรียนซึ่งเสียอีก
3.        การเสริมแรงครู Reward  ระบบต้องการกระตุ้นให้ครูกระตือรือร้นในการพัฒนาการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง  แต่ระบบความดีความชอบปีละสองครั้งก็ทำให้ครูทะเลาะกันปีละสองครั้ง  เกิดการแย่งชิง บาดหมางจนไม่อาจร่วมมือกันหรือเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างแท้จริง  หรือ การเพิ่มวิทยฐานะครูก็เช่นกันไม่ได้สร้างครูที่มีคุณภาพอย่างแท้จริงขึ้นมา  วันก่อนได้รับวิทยฐานะที่สูงขึ้นกับวันหลังที่ได้รับพฤติการณ์หรือความสามารถในการจัดการเรียนรู้ไม่ได้แต่ต่างมากมายอะไรเลย  คุณภาพผู้เรียนในชั้นนั้นๆ  ก็ไม่ดีขึ้นอย่างชัดเจน  ที่เป็นอย่างนั้นเพราะระบบ Reward ไม่ใช่ระบบที่สร้างการเรียนรู้ให้ครูอย่างแท้จริง  และระบบ Reward เป็นการอาศัยเครื่องมือจากภายนอก  ครูไม่ได้เกิดแรงบันดาลใจจากภายในที่จะพัฒนาตนเองหรือพัฒนาการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
4.        การสร้างระบบให้ครูได้การเรียนรู้ร่วมกัน  หรือการสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) เป็นแนวทางใหม่ที่จะพัฒนาครูให้มีคุณภาพด้วยการสร้างพลังการเรียนรู้ร่วมกัน   
PLC  จะช่วยยกระดับความรู้ความเข้าใจของครูแต่ละคน  ทั้งมิติความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอน  และ ความรู้ความเข้าใจต่อการสอน เช่น  หลักสูตร  จิตวิทยาการสอน การออกแบบกิจกรรม  การวัดและประเมินผล  เป็นต้น
PLC  ช่วยยกระดับทักษะของครูแต่ละคน  เช่น ทักษะการออกแบบการเรียนรู้  ทักษะการสื่อสาร  ทักษะICT ทักษะการวัดและประเมินผล ตลอดจนทักษะชีวิต เช่น  ทักษะการจัดการความขัดแย้ง   ทักษะการจัดการอารมณ์  ทักษะการอยู่ร่วมกัน เป็นต้น
PLC  ช่วยให้ครูแต่ละคนค้นพบความหมายของชีวิต  ความหมายของการเป็นครู  รู้สึกถึงคุณค่าของงานครู  เห็นเป้าหมายที่สำคัญร่วมกัน เป็นบุคคลและองค์กรการเรียนรู้  ทำงานเป็นทีม  มีความเป็นกัลยาณมิตร นั่นคือถึงความมีอุดมการณ์นั่นเอง

             กระบวนการ PLC
1.       การเตรียมองค์กร 
เตรียมสภาพแวดล้อมให้สะอาด  ร่มรื่น  ปลอดภัย  และ สัปปายะ
2.       ก่อรูปวัฒนธรรมองค์กรใหม่  
            การร่วมกันกำหนดเป้าหมายองค์กรและข้อตกลงเบื้องต้น  การออกแบบกิจกรรมเพื่อลดลำดับชั้นให้น้อยลงเป็นองค์กรระดับราบมากขึ้น  และสร้างกลไกให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่เสมอ ทั้งเป็นกลไกที่ดึงดูดผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาอยู่ในกระบวนการด้วย  เช่น การกำหนดช่วงเวลา สถานที่  หัวข้อ  ผู้เข้าร่วม และผู้นำวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครั้ง  ซึ่งผู้นำหรือผู้บริหารเป็นองค์ประกอบสำคัญมากในขั้นตอนนี้
3.       กิจกรรม PLC  เช่น
-            Dialogue หรือ กระบวนการสุนทรียสนทนาเพื่อเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้กันและกัน  ด้วยการคุยกันในระดับราบ เน้นการฟังอย่างรู้เท่าทันจิตใจของตนเอง เพื่อการขจัดการตัดสินที่เกิดขึ้นขณะฟัง  การฟังนั้นก็จะเต็มไปด้วยความกรุณาต่อกันทุกคนจะมีโอกาสรับเนื้อความได้อย่างครบถ้วนทั้งมิติและเนื้อหา  ตัวอย่างหัวข้อคำถามเพื่อDialogue เช่น ห้าปีที่แล้วเราเห็นองค์กรเราเป็นอย่างไร  อีกห้าปีข้างหน้าเราอยากเห็นองค์กรเราเป็นอย่างไร  อะไรที่หล่อหลอมให้เรากลายเป็นคนแบบนี้  เราอยู่ตรงไหนของจักรวาล  เราเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างไร  เป็นต้น 
-            S&L (Share & Learn) แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ความสำเร็จหรือความล้มเหลวจากหน้างานของกันและกัน  เน้นอภิปรายร่วมกันอย่างสร้างสรรค์โดยมีเจตจำนงที่ดีต่อการทำให้งานพัฒนาขึ้นหรือเด็กๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น  อาจทำเป็นคู่  เป็นกลุ่มย่อย และ เป็นกลุ่มใหญ่ทั้งองค์กร  ตัวอย่างหัวข้อคำถามเพื่อS&L เช่น  อะไรคือปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา ทำอะไรบ้าง  ทำอย่างไร  ผลเป็นอย่างไร อะไรที่ยืนยันว่าเราได้พบผลเช่นนั้น  เราสามารถทำอะไรต่อได้บ้าง เป็นต้น
-            AAR (After Action Review) เป็นการร่วมกันอภิปรายสรุปในแต่ละแง่มุมหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมเพื่อทำให้เกิดการใคร่ครวญหรือการทบทวนต่อเรื่องนั้นๆ   ตัวอย่างหัวข้อคำถามเพื่อ AAR เช่น เห็นอะไร รู้สึกหรือคิดอย่างไร  อะไรที่เราได้เรียนรู้  เป็นต้น
-            Lesson Study เป็นกระบวนการร่วมกันพัฒนากิจกรรมการสร้างการเรียนรู้ของกลุ่มครู  ตัวอย่างหัวข้อคำถามเพื่อ Lesson Study  เช่น ทำอย่างไรที่จะให้องค์กร(โรงเรียน)พัฒนาปัญญาภายในให้กับผู้เรียน  กิจกรรมฝึกฝนการรู้ตัวมีอะไรบ้าง ทำอย่างไรบ้างกับเด็กแต่ละวัย   การฝึกให้เด็กได้ใคร่ครวญควรมีกิจกรรมใดบ้าง   การฝึกฝน Dialogue มีกระบวนการอย่างไร  เป็นต้น

 Lesson studyจะทำให้ครูได้เรียนรู้การเรียนการสอนเพื่อค้นหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ดีกว่า   ซึ่งวิธีนี้ต้องเกิดขึ้นที่โรงเรียนผ่านกระบวนการวางแผนร่วมกัน  ซึ่งมีกระบวนการดังนี้
1. ค้นหาประเด็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคหรือเนื้อหาที่ผู้เรียนเข้าใจยาก  ครูร่วมกันระดมความคิดเพื่อแยกอะไรคือสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง และอะไรคืออาการที่แสดงออก  ให้ชัดเจน  ครูทุกคนต้องร่วมกันคิด ร่วมกันแลกเปลี่ยน ปัญหาของแต่ละคน ซึ่งปัญหานั้นอาจมาจากทั้งนักเรียนหรือคุณครู และ เป็นไปได้ทั้งในนักเรียนกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่หรือทั้งชั้นเรียน  ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาที่ครูต้องการพัฒนา  ตัวอย่างปัญหาในการสอนคณิตศาสตร์ ตัวอย่างหัวข้อที่ทำ Lesson study  เช่น การหา ครน.หรม. ของเศษส่วนในระดับชั้นป.6   การแก้โจทย์ปัญหาโดยการวาดภาพในชั้นป. การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละในชั้น ป.5  เส้นขนานกับ Perspective ในชั้นมัธยม  ซึ่งสุดท้ายแล้วเราต้องการให้เข้าใจเนื้อหานั้น และรู้วิธีที่จะสร้างการเรียนรู้สำหรับเนื้อนั้น
2. ครุร่วมกันวางแผน ออกแบบวิธีการ หรือนวัตกรรม ในกระบวนการนี้จะเป็นการ BAR และ Share and Learn 
3. ตัวแทนคุณครูอาสาที่จะสอนและให้เพื่อนครูเป็นผู้ร่วมสังเกตกระบวนการและผลที่เกิดกับผู้เรียน  หรือ ถ้าเป็นปัญหาเดียวกันของหลายชั้นเรียน  ครูหลายคนสามารถนำวิธีการหรือนวัตกรรมไปใช้กับนักเรียนชั้นของตนเองแบบคู่ขนาน เพื่อจะให้ได้แง่มุมความสำเร็จหรือไม่สำเร็จเพื่อมาแลกเปลี่ยนกันในขั้นต่อไป

4. Reflection เพื่อสะท้อนอย่างเป็นกัลยาณมิตร  ในการสะท้อนเราจะให้ความสำคัญที่ผลที่เกิดกับผู้เรียน  ระยะเวลาที่ใช้   ไม่มุ่งเน้นไปที่ตัวครู   มุ่งเพื่อพัฒนากระบวนการวิธีการในการจัดกิจกรรมให้ดีขึ้นอีก  ขั้นนี้จะทำครูทั้งกลุ่มจะมีความเข้าใจในเนื้อหานั้นและเข้าใจวิธีการการจัดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นอีก