ติดตามเรื่องราว

..เรียนรู้ จากความยาก..-
บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย นั่นล่ะ -PBL




วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ความสุขอิ่มอร่อยของชีวิตครูในศตวรรษที่ 21


โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เรียนรู้จากข้างใน ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงอยู่ที่การทำเอง ปฏิบัติเอง คิดเอง (Learning by Doing) โดยเริ่มจากการเรียนรู้ผ่านโครงงาน (Project Base Learning) ทำให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้ได้ดีนั้น ครูและนักเรียนสามารถทำร่วมกันได้”
ขณะที่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช วิทยาการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เขียนหนังสือ “ครูเพื่อศิษย์” กล่าวถึงความสุขอิ่มอร่อยของชีวิตครูในศตวรรษที่ 21 ว่า ครูที่ดี ครูเพื่อศิษย์ ครูสอนดี ต้องเริ่มจากการเป็นครูที่อยู่กับความรักลูกศิษย์ เพราะความรักเป็นฐานของการเรียนรู้ ความรักทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยในโรงเรียน ทำให้เด็กไม่รังแกกัน ไม่ถากถางกัน ครูก็เคารพลูกศิษย์

ความรักจะนำไปสู่การเรียนรู้หลายๆอย่าง โดยเฉพาะการเรียนรู้ถึงความเป็นมนุษย์ ที่ปูพื้นฐานมาจากครูและการสร้างบรรยากาศในโรงเรียน ทั้งหมดนี้การเรียนรู้ในความหมายของครูจึงสกัดได้ว่า เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกศิษย์ในมิติความเป็นมนุษย์

ศ.นพ.วิจารณ์ยังเพิ่มเติมอีกว่า หัวใจในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่การสอน แต่หัวใจอยู่ที่การเรียน ครูจึงยิ่งสำคัญกว่าเดิม เพราะต้องมีหน้าที่เป็นครูฝึกการทำงานของลูกศิษย์มากกว่าการสอนทั่วไป

“ครูจึงไม่เน้นสอน แต่ต้องตั้งคำถามไปเรื่อยๆ แม้กระทั่งเด็กดื้อ เกเร กระทำความผิด แต่ทำอย่างไรให้เด็กเหล่านั้นเกิดกระบวนการเรียนรู้ โดยที่ไม่มีใครบอก เป็นเรียนรู้จากข้างใน ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงอยู่ที่การทำเอง ปฏิบัติเอง คิดเอง (Learning by Doing) โดยเริ่มจากการเรียนรู้ผ่านโครงงาน (Project Base Learning) ทำให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้ได้ดีนั้น ครูและนักเรียนสามารถทำร่วมกันได้”

“ครูจึงเป็นผู้ทำหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้ ทำร่วมกันเป็นทีม และมีการปรับประเมิน ร่วมกันกับครู และนักเรียนเอง ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้เรียนทักษะการทำงานเป็นทีม (Collaboration skill) ฟังคนอื่น แล้วก็เรียนรู้ความแตกต่าง ที่ต้องเกิดขึ้นมากกว่าการเรียนแบบแข่งขัน และถ้าจะให้ลึกต้องให้ครูชวนเด็กสะท้อนความคิดผ่านบทเรียน แล้วครูก็ชักชวนให้เกิดการคิดประเมินร่วมกัน เป็นลักษณะ “โปรเจ็คท์ซ้อนโปรเจ็คท์”

จากนั้นครูก็ช่วยกันตรวจสอบในแต่ละช่วงเวลา โดยให้นักเรียนมานำเสนอสิ่งที่ได้เรียนให้แก่เด็กทั้งโรงเรียน และผู้ปกครอง ทำให้เกิดการเรียนรู้หลายขั้นซ้อนกันอยู่ ผ่านการเขียนรายงานรายบุคคล ทำงานร่วมกัน ประเมินร่วมกับครู และสุดท้ายนำเสนอ โดยไม่มีสูตรตายตัว”

ฉะนั้นครูจึงมีความสุขจากการได้เห็นพัฒนาการรอบด้านของศิษย์ ได้เรียนรู้วิธีเป็น “ครูฝึก” ต่อเนื่อง มีชีวิตที่ดี สังคมชุมชนที่ดี ส่งผลให้เกิดพัฒนาการของจิตวิญญาณาความเป็นครูในตัวเอง ขณะที่ความสำเร็จในระยะยาวในชีวิตของศิษย์และสังคมรอบข้าง สร้างให้เกิดชุมชนที่ดีที่น่าอยู่ ทำให้เกิดพัฒนาการทางจิตวิญญาณโดยอัตโนมัติ ตามแต่ศักยภาพของตนเมื่อกลับไปตอบโจทย์ข้างต้นว่าครูคือใคร และมีต้องมีลักษณะอย่างไร จึงตอบได้ว่า

“ครูคือผู้จุดประกาย ให้ลูกศิษย์ที่เปรียบเหมือนดาวฤกษ์ที่มีพลังมีประกายในตัว และครูเป็นผู้ส่งเสริมประกายนั้นให้วาวแววยิ่งขึ้น ส่งเสริมความสนใจกระหายใคร่รู้ และการเรียนรู้ เป็นการงอกงามจากภายในของลูกศิษย์นั่นเอง”

ที่มา http://www.qlf.or.th/11934

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น