ปัญญาภายใน(2)
ไม่ว่าเราจะอยู่อย่างไร ทำงานอะไร หรือตำแหน่งใดก็ตาม สุดท้ายจะมีบางช่วงเวลาที่เราจะมีคำถามกับตัวเองว่า เรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร? เราจะดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้อย่างไร? หรือ เราจะทำงานอย่างมีความสุขได้อย่างไร? ดูเหมือนอาจจะไร้สาระที่จะตั้งคำถามเหล่านี้ แท้จริงลึกๆ แล้วมนุษย์เกิดมาเพื่อจะได้พบคำถามเหล่านี้ไม่ช้าก็เร็ว เพราะเราแต่ละคนจะเจอเข้ากับบางปัญหา เช่น บางคนแม้จะเรียนเก่งมากที่สุดในชั้นได้ทำอาชีพที่ดีแต่เมื่อเข้าสู่วงสนทนาทีไรก็วงแตก หรือบางคนก็มีอาการปวดหัวเพราะความเครียดตลอดเวลา หรือ บางคนที่มีพร้อมทุกอย่างแล้วแต่ยังรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ไม่อาจตอบได้จากปัญญาภายนอกหรือองค์ความรู้ต่างๆ ที่เราร่ำเรียนมาเพียงอย่างเดียว และมันก็ไม่มีคำตอบแบบตรงๆ หรือคำตอบที่เป็นรูปแบบแบบตายตัว ผู้คนที่จึงต้องแสวงหาคำตอบด้วยตัวเองซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีลองผิดลองถูก นั่นหมายถึงต้องใช้เวลามากและมีโอกาสผิดพลาดสูง
ถ้าให้การเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะปัญญาภายในให้กับเด็กๆ ตั้งแต่ต้น ก็จึงอาจจะช่วยให้เด็กๆ ได้พบคำถาม และ คำตอบของคำถามเหล่านั้นได้เร็วขึ้น แต่นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแม้ว่าเป้าหมายของการจัดการศึกษาเราอยากให้คนเป็นทั้งคนดีและคนเก่ง แต่เมื่อดูในหลักสูตรแกนกลางของแต่ละประเทศที่มี 8-9 วิชานั้นมุ่งสร้างแต่ปัญญาภายนอกหรือความเป็นคนเก่งเท่านั้น ส่วนการสร้างคนดี(ผู้ที่มีปัญญาภายในสูง)ตามหลักสูตรเราจะเห็นที่เป็นรูปธรรมได้ในเชิงเนื้อหาที่มีในบางวิชาเท่านั้น นั่นคือเราให้เด็กได้เรียนรู้แค่ระดับ “ปริยัติ “
ความฉลาดภายในของเด็กๆ (บันทึก ปลายเดือนมิถุนายน 2553)
อาหารจากสวรรค์
วันหนึ่งผมเดินดูและทักทายกับเด็กๆ ที่กำลังนั่งกินข้าวกลางวันกันอยู่อย่างเอร็ดอร่อย ผมบอกเด็กๆว่า “วันนี้เราได้กินอาหารที่มาจากทะเลด้วย” เด็กๆ มองดูอาหารในถาดซึ่งเป็นต้มยำไก่ และ ผัดบวบใส่ไข่ แล้วเริ่มเขี่ยดูว่าในอาหารมีอะไรมาจากทะเลบ้าง ทุกคนต่างก็มีสีหน้าสงสัยว่ามีอะไรมาจากทะเล ต่างคนก็ต่างตอบไปต่างๆ นานา แต่แล้วก็มีผู้เด็กชายคนหนึ่งบอกว่า “ผมรู้แล้วว่าอะไรที่มาจากทะเล น้ำไงครับ น้ำจากทะเลกลายเป็นเมฆ แล้วกลายเป็นฝนตกในแม่น้ำ แล้วคุณป้าแม่ครัวก็เอามาทำเป็นน้ำแกง”
ผมจึงถามต่อว่า “แล้วอาหารจากพื้นดินล่ะ”
“บวบค่ะ” เด็กๆ ตอบได้ทุกคน
ผมบอกต่อว่า “ไม่ได้มีเท่านี้นะ วันนี้เรายังได้กินอาหารจากสวรรค์ด้วย” เด็กๆ นิ่งครุ่นคิดกันใหญ่ว่าอะไรคืออาหารที่มาจากสวรรค์
การที่เด็กๆ รู้สึกได้ว่าสิ่งต่างๆ สัมพันธ์กัน เชื่อมโยงกัน มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ เป็นการลดอัตตาได้ทางหนึ่ง ทำให้เด็กๆ รู้สึกอยู่เสมอว่าตนเองไม่ใช่ศูนย์กลางที่ทุกๆ สิ่งต้องมาสนอง แต่ตัวเองเป็นเพียงหนึ่งในห่วงโซ่ที่มองไม่เห็น ทั้งยังได้เห็นคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในสิ่งต่างๆ เราสามารถหยิบฉวยสิ่งที่อยู่รอบตัวมาทำกิจกรรมเพื่อให้เด็กๆ เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ได้ง่ายๆ เช่น
เมื่อเห็นกิ้งกือก็ให้เด็กๆ วาดความเป็นกิ้งกือออกมา ครูตั้งคำถาม “สิ่งที่เราเหมือนกันกับกิ้งกือคืออะไรบ้าง หรือ ทำไมโลกเราจึงต้องมีกิ้งกือ” แล้วปล่อยให้เด็กๆ ได้ตอบกันอย่างอิสระและให้ได้รับฟังคำตอบของกันและกันด้วย โดยครูไม่จำเป็นต้องบอกคำตอบออกไป
บางครั้งก็ให้เด็กๆ นั่งตามลำพังใต้ต้นไม้เพื่อฟังสิ่งที่ต้นไม้บอกเล่าแล้วเขียนออกมา
กิจกรรมเห็นฉันในเธอและเห็นเธอในฉัน โดยให้เด็กๆ จับคู่แล้วนั่งหันหลังพิงกันให้คนหนึ่งวาดภาพอะไรก็ได้ลงในกระดาษของตนเอง แล้วบรรยายให้อีกคนวาดตามลักษณะที่ได้ยิน หรือ ให้ต่อตัวต่อให้เหมือนกันทุกประการโดยไม่ให้ดูแต่ฟังจากคำบอกเล่า หรือ ให้ทั้งคู่หันหน้าเข้าหากันและขยับกายแบบเดียวกันเสมือนภาพสะท้อนในเงากระจก หรือ ให้ทั้งคู่ค้นหาว่าอะไรที่ทำให้มีความสุขหรือทุกข์เหมือนกัน
การที่เด็กๆ เห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ กับตัวเอง ยังนำไปสู่ความศรัทธาและนอบน้อมต่อสรรพสิ่ง
การที่จะทำให้เด็กๆ เห็นความเต็มในความว่างเปล่า หรือ การเห็นสิ่งต่างๆ ในตัวเองต้องอาศัยการมีสติรู้ตัวที่พรั่งพร้อม ขณะที่มีสติจดจ่อกับปัจจุบันการใคร่ครวญด้านในก็จะเกิดขึ้นเพราะ ในช่วงขณะนั้นสิ่งรบกวนข้างนอกก็จะไม่เข้ามา การฝึกให้เด็กๆ มีสติไม่ได้หมายถึงการนั่งสมาธิเท่านั้น กิจกรรมอื่นๆ เช่น การเดินตามรอยเท้าที่อยู่บนพื้น การใช้ไม้ยาวๆ ขีดเส้นบนพื้นแล้วให้เด็กๆ ขีดเส้นซ้ำรอยเดิม การส่งแก้วที่มีน้ำที่อยู่เต็มต่อๆ กัน การติดตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย การติดตามเรื่องราวที่ครูเล่า การเล่าเรื่องต่อกัน การทำโยคะ การแสกนร่างกาย ซึ่งกิจกรรมจะต้องไม่ให้เด็กรู้สึกว่ากำลังถูกคุกคาม หรือกำลังถูกควบคุม ครู เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากที่จะนำเด็กไปสู่การมีสติ ครูต้องมีสติรู้ตัวอยู่เสมอเช่นกันเพื่อให้น้ำเสียง จังหวะการพูด หรือจังหวะการเคลื่อนไหวทางกายภาพของครูสามารถดึงความสนใจของเด็กๆ กลับมาสู่การมีสติได้เสมอ
ผมจึงถามต่อว่า “แล้วอาหารจากพื้นดินล่ะ”
“บวบค่ะ” เด็กๆ ตอบได้ทุกคน
ผมบอกต่อว่า “ไม่ได้มีเท่านี้นะ วันนี้เรายังได้กินอาหารจากสวรรค์ด้วย” เด็กๆ นิ่งครุ่นคิดกันใหญ่ว่าอะไรคืออาหารที่มาจากสวรรค์
การที่เด็กๆ รู้สึกได้ว่าสิ่งต่างๆ สัมพันธ์กัน เชื่อมโยงกัน มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ เป็นการลดอัตตาได้ทางหนึ่ง ทำให้เด็กๆ รู้สึกอยู่เสมอว่าตนเองไม่ใช่ศูนย์กลางที่ทุกๆ สิ่งต้องมาสนอง แต่ตัวเองเป็นเพียงหนึ่งในห่วงโซ่ที่มองไม่เห็น ทั้งยังได้เห็นคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในสิ่งต่างๆ เราสามารถหยิบฉวยสิ่งที่อยู่รอบตัวมาทำกิจกรรมเพื่อให้เด็กๆ เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ได้ง่ายๆ เช่น
เมื่อเห็นกิ้งกือก็ให้เด็กๆ วาดความเป็นกิ้งกือออกมา ครูตั้งคำถาม “สิ่งที่เราเหมือนกันกับกิ้งกือคืออะไรบ้าง หรือ ทำไมโลกเราจึงต้องมีกิ้งกือ” แล้วปล่อยให้เด็กๆ ได้ตอบกันอย่างอิสระและให้ได้รับฟังคำตอบของกันและกันด้วย โดยครูไม่จำเป็นต้องบอกคำตอบออกไป
บางครั้งก็ให้เด็กๆ นั่งตามลำพังใต้ต้นไม้เพื่อฟังสิ่งที่ต้นไม้บอกเล่าแล้วเขียนออกมา
กิจกรรมเห็นฉันในเธอและเห็นเธอในฉัน โดยให้เด็กๆ จับคู่แล้วนั่งหันหลังพิงกันให้คนหนึ่งวาดภาพอะไรก็ได้ลงในกระดาษของตนเอง แล้วบรรยายให้อีกคนวาดตามลักษณะที่ได้ยิน หรือ ให้ต่อตัวต่อให้เหมือนกันทุกประการโดยไม่ให้ดูแต่ฟังจากคำบอกเล่า หรือ ให้ทั้งคู่หันหน้าเข้าหากันและขยับกายแบบเดียวกันเสมือนภาพสะท้อนในเงากระจก หรือ ให้ทั้งคู่ค้นหาว่าอะไรที่ทำให้มีความสุขหรือทุกข์เหมือนกัน
การที่เด็กๆ เห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ กับตัวเอง ยังนำไปสู่ความศรัทธาและนอบน้อมต่อสรรพสิ่ง
การที่จะทำให้เด็กๆ เห็นความเต็มในความว่างเปล่า หรือ การเห็นสิ่งต่างๆ ในตัวเองต้องอาศัยการมีสติรู้ตัวที่พรั่งพร้อม ขณะที่มีสติจดจ่อกับปัจจุบันการใคร่ครวญด้านในก็จะเกิดขึ้นเพราะ ในช่วงขณะนั้นสิ่งรบกวนข้างนอกก็จะไม่เข้ามา การฝึกให้เด็กๆ มีสติไม่ได้หมายถึงการนั่งสมาธิเท่านั้น กิจกรรมอื่นๆ เช่น การเดินตามรอยเท้าที่อยู่บนพื้น การใช้ไม้ยาวๆ ขีดเส้นบนพื้นแล้วให้เด็กๆ ขีดเส้นซ้ำรอยเดิม การส่งแก้วที่มีน้ำที่อยู่เต็มต่อๆ กัน การติดตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย การติดตามเรื่องราวที่ครูเล่า การเล่าเรื่องต่อกัน การทำโยคะ การแสกนร่างกาย ซึ่งกิจกรรมจะต้องไม่ให้เด็กรู้สึกว่ากำลังถูกคุกคาม หรือกำลังถูกควบคุม ครู เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากที่จะนำเด็กไปสู่การมีสติ ครูต้องมีสติรู้ตัวอยู่เสมอเช่นกันเพื่อให้น้ำเสียง จังหวะการพูด หรือจังหวะการเคลื่อนไหวทางกายภาพของครูสามารถดึงความสนใจของเด็กๆ กลับมาสู่การมีสติได้เสมอ
กรุงเทพธุรกิจ(กายใจ) ฉบับ 77 20-26 พ.ย.2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น