"ทำไมครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงติดโชว์ผลงานของเด็กๆ
โดยไม่แก้คำผิด?" เป็นคำถามของครูที่มาเข้าอบรมหลายท่าน
การตรวจเช็คและแก้ไขโดยครูเป็นการมองจากครูฝ่ายเดียวซึ่งครูกำลังมองภาษาในรูปแบบตายตัว ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถนำมาลองผิดลองถูกได้ การที่ครูแก้คำถูกผิดด้วยตัวแดงพรืดเต็มไปหมด อาจทำให้เด็กรู้สึกภาษาเป็นสิ่งน่ากลัว และอาจรู้สึกว่าตัวเองด้อยความสามารถจนไม่กล้าที่จะเขียนคำใหม่ๆ อีกต่อไป
การตรวจเช็คและแก้ไขโดยครูเป็นการมองจากครูฝ่ายเดียวซึ่งครูกำลังมองภาษาในรูปแบบตายตัว ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถนำมาลองผิดลองถูกได้ การที่ครูแก้คำถูกผิดด้วยตัวแดงพรืดเต็มไปหมด อาจทำให้เด็กรู้สึกภาษาเป็นสิ่งน่ากลัว และอาจรู้สึกว่าตัวเองด้อยความสามารถจนไม่กล้าที่จะเขียนคำใหม่ๆ อีกต่อไป
มอนเตสซอรี่ก็เชื่อว่า
ถึงเด็กจะเขียนผิดถูกอย่างไรก็ได้ แต่เมื่อเด็กเริ่มอ่านหนังสือได้เขาจะตื่นตัวที่จะเช็คคำผิดคำถูกด้วยตัวเอง
โดยเฉพาะเมื่อเขารักการอ่านและมีประสบการอ่านมากขึ้นเขาจะยิ่งกระตือรือร้น ในการตรวจเช็คคำผิดด้วยตัวเอง
ณ โรงเรียนนอกกะลา การตรวจแก้คำผิดจะต้องไม่เป็นการทำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์ในตัวเด็ก
ระดับอนุบาล ไม่มีการแก้คำผิดใดๆ ทั้งสิ้น แต่ให้เห็นแบบถูกเสมอ
ระดับประถมศึกษา อาจจะใช้วิธีการรวบรวมคำที่เด็กแต่ละคนเขียนผิดมาเขียนไว้มุมหนึ่งของกระดาน
ให้มีโอกาสได้เห็นคำเหล่านั้นบ่อยๆ และใช้บางคำในจำนวนนั้นอย่างถูกต้อง
แล้วหลังจากนั้นเด็กๆ ก็จะตรวจเช็คสมุดของตัวเองอย่างกระตือรือร้น
ระดับมัธยมศึกษา สามารถแก้ไขคำถูกผิดให้กับนักเรียนได้เลย เพราะตัวตนด้านใน (การเห็นคุณค่าในตนเอง) ได้ขึ้นรูปที่มั่นคงแล้ว
การชี้ในส่วนที่ผิดในเด็กโตจึงไม่ได้เป็นการทำลายคุณค่า
“ภาษาจะเป็นสิ่งน่ารำคาญ
ถ้ามันอธิบายความหมายที่อยู่ใต้บรรทัดไม่ได้”
ยอมรับว่าอ่านแล้วอึ้งในหลักการนี้ค่ะ ไม่เคยได้ยินเรื่อง"แก้คำผิด"แบบนี้มาก่อนเลย
ตอบลบ