พัฒนา งอกงาม | อย่างเป็นองค์รวม..
“ผมคิดว่าเป้าหมายสูงสุดในการดำเนินชีวิตก็คือ ‘อยากให้ทุกคนดำเนินชีวิตไปอย่างมีความสุข’
คือมีจิตอิสระมากพอ มีความสามารถในการชี้นำตนเอง
และเราก็มีเครื่องมือใหญ่ที่สำคัญของสังคมที่จะสร้างคนอย่างนั่น นั่นก็คือ..การศึกษา แต่ความเข้าใจผิด ทำให้เครื่องใหญ่ชุดนี้ไปอยู่ในองค์กรซึ่งก็คือโรงเรียน
แท้จริงแล้วในเครื่องมือใหญ่ที่พูดถึงเรื่องการศึกษา
หัวใจของมันก็คือ การสร้างการเรียนรู้
...ผมเชื่อว่าการสร้างการเรียนรู้ที่แท้จริงจะทำให้คนถูกยกระดับขึ้น
พัฒนาขึ้นในทุกๆ ด้านอย่างองค์รวม
..คนที่พัฒนาขึ้นรอบด้านอย่างเป็นองค์รวมจะเข้าใจความหมายของการการมีชีวิตและดำเนินชีวิตที่แท้จริงว่าคืออะไร?หรือจะต้องทำอย่างไร? การดำเนินชีวิตก็จะเป็นไปอย่างลื่นไหล
ภาวะลื่นไหลคือความปกติสุขนั่นเอง
แต่..โจทย์ที่จะสร้างการเรียนรู้ที่ดีในสถานศึกษานั้นมีหลายองค์ประกอบ
องค์ประกอบหนึ่งคือเราต้องพูดถึงบรรยากาศ คำว่าบรรยากาศ ไม่ใช่แค่สภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย สัปปายะ เท่านั้น แต่องค์ประกอบสำคัญของบรรยากาศที่มีผลต่อการเรียนรู้คือความเป็นกัลยาณมิตร
สัมพันธภาพที่ดีจะสร้างการร่วมมือกันของคนที่เกี่ยวข้อง ทั้งครู ผู้ปกครอง และสังคม
ในการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เพราะการเรียนรู้ที่สมบูรณืจำเป็นต้องเกิดขึ้นในสองขั้นตอนใหญ่คือการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ร่วมกัน
องค์กรจำเป็นต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และการทำงานร่วมกันขึ้นมาให้เป็นแบบอย่างกับเด็กๆ
และผู้คนที่รายล้อมอยู่ เพื่อให้เด็กและทุกคนได้งอกงามขึ้นทุกๆ ด้านอย่างเป็นองค์รวม
ความเป็นกัลยาณมิตรความสนิทสนมจะเสริมสร้างพลังอำนาจในกลุ่มคนขึ้นมาเพื่อช่วยให้การเรียนรู้ร่วมกันนั้นเข้มข้นขึ้น การเรียนรู้ที่มีความหมายขึ้น เป็นการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องระหว่างที่อยู่ในโรงเรียนกับการใช้ชีวิต แล้วตอนนั้นเราก็จะเห็น..คนที่ทำงานทั้งครู
ทั้งผู้ปกครอง ทั้งสังคม รวมทั้งเด็กๆ ได้เรียนรู้ไปอย่างมีความสุข..ในขณะเดียวกัน”
แล้วในที่สุดแล้วเขาจะค้นพบความหมายของคำถามใหญ่ๆ
ในชีวิต
สร้างเครือข่าย | ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน..
“เน้นย่ำมากๆ
เรื่องของบรรยากาศก็คือ เรื่องของสัมพันธภาพของคนที่เกี่ยวข้อง
เพราะสิ่งนี้จะเป็นเครื่องมือใหญ่ที่จะเป็นพื้นที่ให้เมล็ดพันธุ์ในตัวเด็กได้งอกงามได้จริงๆ
การที่พยายามแยกส่วนระหว่างการสอนออกจาก..บรรยากาศของสัมพันธภาพในองค์กร
บรรยากาศของสังคม บรรยากาศของปัญหาสังคม ก็เหมือนการศึกษาทีแห้งแล้ง
แล้วก็ไม่มีความหมาย
ถ้าสร้างความร่วมมือต่อกันจริงๆได้ก็จะมีพลังอำนาจอย่างแท้จริง เพราะสิ่งที่ขาดแหว่งตลอกมาของการจัดการศึกษาก็คือการที่ไม่ได้มีส่วนร่วมกันอย่างแท้จริง
ไม่ใช่แค่การศึกษานะ..ปัญหาทางด้านการเมือง
ทางสังคมก็เหมือนกัน
ส่วนใหญ่ก็จะเกิดจากที่..การไม่ได้มีส่วนร่วมกันอย่างแท้จริง
การเสริมสร้างพลังอำนาจของคนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้สร้างการมีส่วนร่วมต่อกัน
มันก็มีกระบวนการที่เราพยายามให้โรงเรียนต่างๆได้
หันกลับมาเริ่มทำกระบวนการพัฒนาองค์กรแบบใหม่ ก็คือ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกันที่เน้นกระบวนการคิดกระบวนการทัศน์ใหม่ ด้วยการสร้างชุดความรู้ขึ้นมาร่วมกัน
มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
สร้างองค์ความรู้จากการปฏิบัติ”
เรียนรู้จากการปฏิบัติ | การทำงานร่วมกัน..
“ตัวกระบวนทัศน์ใหม่นี้..เน้นการสร้างสัมพันธภาพที่ทำให้คนที่เกี่ยวข้องกันเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆที่
เกิดขึ้นรอบตัวในการสร้างบริบทในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
แล้ว..กระบวนการ PLC ที่เราเรียกสั้นๆ
ในโรงเรียนนี้ก็จะเป็นกระบวนการหนึ่งที่ให้ครูได้เรียนรู้ไปด้วยกันและเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กๆ
เพื่อจะสร้างองค์กร และเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษา
ในการสร้างการเรียนรู้อย่างแท้จริง”
ร่วมกัน | สร้างการเรียนรู้อย่างแท้จริง..
“เท่าที่เรา..ออกไปเยี่ยมโรงเรียนต่างๆที่
ร่วมทำโครงการกันอยู่มาปีกว่าๆ นี้นะครับ
เราก็เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนกับทุกโรงเรียน
โดยเฉพาะที่เราเห็นชัดเจนที่สุดก็คือ
กระบวนการทำงานร่วมกัน กระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์กร
ให้เป็นองค์กรที่มองเห็นสัมพันธภาพ มองเห็นความเป็นกัลยาณมิตรในการที่จะเอื้อให้เด็กได้เติบโตงอกงาม
เรียนรู้เต็มศักยภาพ
_ก็เห็นได้ชัดว่า..กระบวนการเรียนรู้ของครู
ก็ทำให้ครูนั้นยกระดับความเข้าใจต่อกัน
สร้างองค์กรต่อการจัดการเรียนรู้ต่อการจัดการศึกษามากขึ้น เท่านี้เห็นแล้วก็ชื่นใจ แล้ว..กระบวนการที่มันเหมือนจะจุดติดไฟไปแล้วนี้
ก็จะหมุนขับเคลื่อนให้องค์กรแต่ละองค์กรนั้นวิวัฒน์มากขึ้น แล้วก็ขยายผลได้มากขึ้น”
องค์กรรูปแบบใหม่ | วิวัฒน์ | ขยายผล..
“การจัดการศึกษา
เราก็จะเห็นว่าสังคมมีความพยายามที่จะปฏิรูปการศึกษาหลายครั้ง
แต่..ก็ดูเหมือนว่าทุกครั้งก็กลับมาที่เดิมทุกที
เพราะเวลาเราเกิดปัญหาอะไร ถ้าเราแก้ปัญหาด้วยPattern (รูปแบบ) หรือกรอบคิดเดิม
สุดท้ายมันก็กลับมาที่เดิม
_เราต้องแก้ปัญหาเดิมด้วย..การสร้างนวัตกรรมใหม่
เพื่อจะค้นพบหนทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา
แล้วก็ต้องคิดอยู่คนละฐานคิดกับปัญหา
เราคงจะเห็นแล้วว่าโครงการที่เราทำไปกับโรงเรียนภาครัฐหลายโครงการ..ได้สร้างสัมมาทิฐิให้ครู ได้เห็นความพยายามของครูที่จะพัฒนานวัตกรรมบนกรอบความคิดใหม่
บนฐานความคิดใหม่ บนความเข้าใจต่อเด็กแบบใหม่ แล้วครูเหล่านั้นก็ค้นพบวิธีใหม่ๆ บางทีแม้จะเป็นเพียงประกายเล็กๆ แต่เราก็พบว่านั้นคือ ‘หนทางที่จะสร้างโอกาส’ ในการที่จะแก้ปัญหาแบบใหม่..ให้ยั่งยืนมากขึ้น”
วิเชียร ไชยบัง
ครูใหญ่โรงเรียนนอกกะลา
ถอดความ โดย ครูป้อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น