ติดตามเรื่องราว

..เรียนรู้ จากความยาก..-
บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย นั่นล่ะ -PBL




วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

The school that sets its own course



HEADLINE MAKER

The school that sets its own course

Meet Wichien Chaiyabang, headmaster of a school that really stands out in this country - no strict curriculum, no exams and, despite producing some of the best national results in science, no science course.


Wichien, 41, graduated from Rajabhat Maha Sarakham University with a teaching degree and spent 10 years teaching in the civil service. But despite his best efforts to improve things, it was "like being in a very big pond" and he was never able to raise a ripple.
His belief that there's a better way was restored soon after he became headmaster of Buri Ram's Lamplaimat Pattana School when it opened eight years ago. He chose the right strings to pull and the results came fast.
"It's just a small school, but it's having an impact elsewhere," Wichien says with modest understatement. More than 20 state schools are now following its example.
In 2006 the University of Tasmania ranked it as "world class". The following year its students sailed through the Office for National Education Standards and Quality Assessment with "excellent marks" under 13 criteria.
Lamplaimat Pattana School's founders, the Population and Community Development Association and the James Clark Foundation, envisioned it as a model for schools where rural children could receive a solid education and learn to be good members of society.
"Compared with students at rural state schools, ours are really full of confidence, determination and tenderness," Wichien says.
Lamplaimat Pattana holds no exams, he notes. "I don't believe multiplec-hoice exams can identify which children are smart."
The lack of testing hasn't stopped the youngsters from doing exceptionally well on national examinations. They routinely score higher than average in the Thai language, math and science.
"Actually, we don't even have a science course," Wichien says.
There is no strict curriculum and no purposemade textbooks. No bells ring to signal the end of classes.
"Our class time is based on short lessons," Wichien explains. In learning Thai grammar, for example, the students are told a story and then quizzed about it, thus honing their ability to memorise, understand and analyse.
"We'll ask them what they would do if they were in such a situation," Wichien says. "That's how they learn how to apply what they've learned."
From there, the teacher might move on to any other related subject, such as design.
"The students could be asked to design a setting for the story. And to further stimulate their imagination, they could be asked to suggest different endings for the story."
Wichien says all of the school's teachers are committed to maintaining a happy learning environment with "no coercion".
They're required to treat their students the way they wanted to be treated when they were children, and to show love and respect.
"Good relationships can be very useful!" Wichien says.
"They have to see the students' good points and boost their potential. They must not let a single student fail."
Every Monday evening the teachers meet to compare notes on the previous week and plan for the next.
Wichien admits he tries to push the teachers beyond their comfort zones so that greater achievements become possible.
"We've also involved the parents and others in the local community. We want them to know they have a responsibility to the school as well."
Parents are regularly invited to conduct classes.
"They can tell a story or teach the kids how to cook something, but they must come, so that they get to know their children's friends," Wichien says.
The parents, he says, at first wanted to see their children learn to read and write in the conventional way, believing it was essential to gaining admission to a prestigious school and a brighter future.
"But over the years their attitude has changed. They've come to understand that Lamplaimat Pattana teaches their children to be good people and efficient problemsolvers. Their children will be able to live a good life."
Satisfied at having made a difference in education, Wichien is thinking about retiring from the school after two more years to pursue his dream of writing.

"I want to spend the rest of my life writing," he says. "I believe books have a significant impact on people's lives. I want to write fulltime in the hope that my books will expand the readers' horizon and offer them good alternatives in life."

http://www.nationmultimedia.com/2009/10/11/opinion/opinion_30114211.php

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไบโอ-โซฮอล์กู้ชาติ ไอเดีย ป.5 โรงเรียนนอกกะลา

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หรือที่หลายคนเรียกว่า "โรงเรียนนอกกะลา" ตั้งอยู่บ้านกวางงอย ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดของนายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนที่ต้องการให้มีโรงเรียนที่เป็นแบบอย่างในการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนสร้างเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีของประเทศ

ทั้งเพื่อให้เด็กในชนบทมีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพทัดเทียมกับเด็ก ในชุมชนเมือง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของนายเจมส์ คลาร์ค ชาวอังกฤษผู้ซึ่งได้มีโอกาสสัมผัสกับระบบการศึกษาไทยในชนบทอย่างใกล้ชิด และได้ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาทางสมาคมมาตั้งแต่ปี 2541 โดยมูลนิธิเจมส์ คลาร์ค แห่งประเทศอังกฤษจึงได้ลงนามความร่วมมือในการสนับสนุนงบประมาณก่อตั้ง โรงเรียนแห่งนี้ในวันที่ 8 สิงหาคม 2544 ทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2545 และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 มิถุนายน 2546

ปัจจุบันโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 มีนักเรียนอยู่ 243 คน ครู 23 คน สำหรับโครงงาน "ไบโอ-โซฮอล์กู้ชาติ" เกิดจาก "ไอเดีย" ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานทดแทน เนื่องจากเด็กได้เล็งเห็นว่าปัจจุบันประสบปัญหาภาวะโลกร้อนและราคาน้ำมันที่ ปรับตัวสูงขึ้น จึงอยากมีส่วนร่วมในการลดโลกร้อนและผลิตน้ำมันใช้เองในครัวเรือนเพื่อลดค่า ใช้จ่าย จึงได้ร่วมกันไปค้นคว้าหาข้อมูลในการทำไบโอดีเซล ทั้งจากอินเทอร์เน็ตและห้องสมุด

จากนั้นก็ได้นำข้อมูลมาเสนอครูจีรดา ตุพิมาย ครูประจำชั้น ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลและให้คำปรึกษาแก่เด็กนักเรียน โดยวิธีและขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซล นักเรียนทุกคนต้องนำน้ำมันพืชที่ใช้แล้วมาจากบ้านคนละ 1 ขวด เพื่อให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม จากนั้นก็นำน้ำมันดังกล่าวไปกรองโดยใช้ผ้าขาวบางเพื่อแยกเศษอาหารที่ยังตก ค้างอยู่ในน้ำมัน หลังจากกรองเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำน้ำมันมาต้มกับน้ำในสัดส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นการทำความสะอาดน้ำมัน แล้วทิ้งไว้ 1 คืนเพื่อให้น้ำมันและน้ำแยกชั้นกัน แล้วนำมาแยกน้ำมันและน้ำออก โดยการค่อยๆ กรองและรินช้าๆ หลังจากแยกน้ำมันและน้ำออกจากกันแล้วให้นำน้ำมันไปต้มอีกครั้งในอุณหภูมิ ประมาณ 60 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้น้ำมันระเหย

ต่อจากนั้นก็ผสมสารในสัดส่วนแอลกอฮอล์ (เมทานอล 99.5%) 80 มิลลิลิตร ผสมกับโซดาไฟ 1 ช้อนชา และน้ำ 5 เปอร์เซ็นต์ ผสมส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันแล้วกรองลงขวด เขย่าประมาณ 15-20 นาที เติมน้ำอีก 5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำความสะอาดน้ำมันอีกครั้ง นำไปตากแดดไว้ 3 วัน ก่อนนำมาแยกกลีเซอรีนเพื่อให้ได้น้ำมันที่บริสุทธิ์ และต้องนำไปตากแดดทิ้งอีกไว้ 3 วัน แล้วนำมาทดสอบคุณภาพก่อนจะนำไปใช้งาน

น.ส.จีรดา ตุพิมาย ครูประจำชั้น กล่าวว่า การทำไบโอดีเซลของเด็กนักเรียนชั้น ป.5 เป็นโปรเจ็กต์หนึ่งในวิชาเรียนเกี่ยวกับด้านพลังงาน ประกอบกับนักเรียนได้เล็งเห็นว่าปัจจุบันภาวะโลกร้อนขึ้นและราคาน้ำมันแพง อีกทั้งนักเรียนยังเล็งเห็นว่าที่บ้านและที่โรงเรียนมีน้ำมันที่ใช้แล้วน่า จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงเกิดแนวคิดต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และได้ช่วยกันไปค้นหาข้อมูลการทำไบโอดีเซล ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนจากอินเทอร์เน็ตและห้องสมุด จนได้หัวข้อโครงงานว่า "ไบโอ-โซฮอล์กู้ชาติ" จากนั้นก็ได้ร่วมกันทำและทดสอบจนประสบผลสำเร็จสามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์ ได้จริง

ด.ญ.พิมพกานต์ ศิริ นักเรียนชั้น ป.5 กล่าวว่า การทำไบโอดีเซลดังกล่าวนอกจากจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีขั้นตอนการทำอย่าง ถูกต้องแล้ว ยังสามารถนำความรู้กลับไปทำใช้เองที่บ้าน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและลดภาวะโลกร้อนช่วยชาติได้ในอีกทางหนึ่ง ด้วย

ด้านนายวิเชียร ไชยบัง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา กล่าวว่า แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนจะเน้นบูรณาการเรียนการสอนโดยใช้โครง งานเป็นฐานการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยครูทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรแนะนำส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความ สุขในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ได้คิดและลงมือปฏิบัติในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ฟูมฟักความมีคุณธรรม ปลูกฝังมีวินัยตั้งแต่ยังเยาว์

ข่าวภูมิภาค ขอบคุณเทปรายการรู้ค่าพลังงาน/ช่อง 3

ขวัญชัย หาญประโคน รายงาน

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Unconventional schooling for endless learning





Wichien Chaiyabang

With discarded boxes and their relatively poor but enthusiastic acting, Grade 4 students of Lamplaimat Pattana School ably demonstrated how electricity is generated.

When questions were asked, a number of Grade 2 students in their audience raised their hands to answer. Though uncertain of the answers, the youngsters did not hesitate to participate in the "Share and Show" period, designed to disseminate ones' knowledge to others.

"We believe that it's best to have students share their knowledge. The younger ones may not know this. If the older ones want to share, the younger are all ready to learn and we will skip the scheduled discussion for this show," said Sirikarn Inpitak , Grade 2 teacher.

The students' enthusiasm was extraordinary and well exemplified the school's revolutionary philosophy: the learning process is more important than teaching methods, to ensure learning sustainability.

At the private school, established by the Population and Community Development Association (PDA) and the James Clark Foundation, the big classroom where students recite teachers' words without understanding them does not exist. At this school, the world of knowledge is open to all and all should be supported to reach their full potential. As such, students' thirst for knowledge comes first. Taken as humans who need guidance to get their desired knowledge, the students make a decision with teachers about a single subject to be studied in a 10week semester without any textbooks. And included in the curriculum are courses designed for the unprejudiced learning of the world around them like fishing and rice growing.

Everyday, the 230 students, all livฌing in a 40km radius and enrolled under a draw, start the day with meditation to draw their attention to activities like writing, skills learning, digital research, and art and music. In whatever they do, the students get no scores to avoid comparison at the end of semesters. There is no test, as the school adopts a new educational paradigm whereby students learn that everyone is equal and can be a great person, and that learning is not just for life but learning is life. Homework is given in small volume only to ensure their responsibility.

Doubts emerged as to how stuฌdents would fare in national tests with the unconventional teaching method.

"Our students' ONet (ordinary national education test for Grade 6 students) score is 10 points above the national average," said the principal, Wichien Chaiyabang.

"We don't take government tests seriously, though. Testing is just one of 10 evaluation methods. Students fail in a test but they may prosper in unknown areas.

"Our goal here is to show all that this demonstration school can create better students than public schools at relatively similar budgets. From this small school, we aim to create a butterfly effect. I believe that this will influence both students and teachers."

Against Bt700,000 per head per year at international schools, the average cost of this school is Bt36,000.

Wichien did not hide the fact that it is extremely difficult to achieve the school's goals.

It starts with teachers who must share the goal. Only 16 teachers were selected from 700 applicants, and they are hired regardless of grades as their view of life, enthusiasm, and experience matter more.

"Grades are nothing. It's sad that people can graduate whenever they pay the tuition fees," the principal said.

Teachers must treat students fairly and promote their best talents. They must fail no student, as all should have positive selfesteem and keep improving themselves. To keep the goal intact, the teachers are required to attend a weekly meeting, which can be chaired by any of them. At the meeting, they share their experiences, so that good solutions can be adopted by others.

New teachers must work under existing teachers' care, and after a year of training they are ready to teach the students, 70 per cent of whom are the children of local farmers.

The school was evaluated by the University of Tasmania in Australia, which found that its efficient teaching and learning method was at the same level as international schools. Throughout six 6 years, the school has welcomed a number of visitors, local and foreign, including Prime Minister Abhisit and former PM Thaksin Shinawatra. About 1,000 teachers come to the school for training every year.

But in its seventh year, the James Clark Foundation has stopped its funding and the school has had to raise their own funds. Aside from donations and a school shop which for three years has sold over 10,000 school Tshirts, the company that owns the school has a publishing house. With 10 items in the market now, the publishing house plans to make available about 3040 teaching patterns.

Despite the hard work, the principal is pleased with the result.

"I'm extremely happy, observing the children's talks and their presentations. The school will never charge tuition fees. [Despite the financial hurdles], we will stay. We can, with quality products."
http://www.nationmultimedia.com/2009/09/28/national/national_30113173.php#



ครูที่ดี ไม่ปล่อยเด็กล้มเหลว

วิเชียร ไชยบัง ครูที่ดี ไม่ปล่อยเด็กล้มเหลว

เขาบอกหลายคนว่า “ถ้าเป็นครูที่ดีไม่ได้ ก็ไปทำอาชีพอื่น” ไม่ใช่คำพูดที่หยิ่งทระนง เพื่อแสดงว่าตัวเองเก่ง แต่เขาคิดแล้วทำ เอาชีวิตเป็นเดิมพัน
ทำไมต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ช่วงที่เขาเดินไปสมัครเป็นครูใหญ่ตอนที่คุณมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ริเริ่มทำระบบการเรียนการสอนแนวใหม่ในชนบท
เมื่อเขาถูกเลือกให้ทำงานนี้ เขาบอกว่า “ถ้าผมทำไม่สำเร็จ ไล่ผมออกได้เลย”
เขามีอิสระในการวางแนวทางตั้งแต่โรงเรียนยังเป็นพื้นที่ว่างเปล่า โดยได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากเจมส์ คลาร์ก ชาวอังกฤษ ประกอบแนวคิดของคุณมีชัย
คนที่เรากล่าวถึงคือ วิเชียร ไชยบัง ครูใหญ่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ (โรงเรียนนอกกะลา) ผู้ปลุกปั้นโรงเรียนแห่งนี้ เขาให้เด็กเรียนรู้ตามศักยภาพตัวเอง และต้องคิดเป็น โดยมีกระบวนการสอนไม่เหมือนใคร
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เป็นโรงเรียนสำหรับเด็กชนบทยากจน ไม่เก็บค่าเล่าเรียน เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงประถม กำลังจะเปิดระดับมัธยม และนี่คือโรงเรียนแนวคิดใหม่ที่คนในวงการศึกษาให้ความสนใจ และมีหลายโรงเรียนนำแนวคิดนี้ไปใช้
แม้จะคล้ายกับโรงเรียนทางเลือก แต่ให้โอกาสเด็กชนบท และแสดงให้เห็นว่า พวกเขามีความสามารถไม่แพ้เด็กเมือง
ข้อ สำคัญเด็กๆ ครูและผู้ปกครองมีความสุข เพราะที่นี่ไม่มีการสอบ ไม่มีเสียงระฆัง ไม่มีดาวให้นักเรียน ไม่มีแบบเรียน ไม่ต้องยืนฟังครูบ่นหน้าเสาธง เด็กๆ มีสิทธิออกแบบชุดนักเรียนเอง และมีวิธีการรับสมัครครูไม่เหมือนใคร ถ้าคุณอยากเป็นครูคณิตศาสตร์ ครูใหญ่อาจถามคุณว่า ลองหารยาวจนข้างหลังมาข้างหน้า...
ทั้งหมดมาจากแนวคิดครูใหญ่วิเชียร เขาเคยเป็นครูโรงเรียนรัฐบาล 5 ปี ผู้บริหารโรงเรียนรัฐหลายแห่งนาน 5 ปี และเป็นนักเขียนที่มีผลงานหลายเล่ม อาทิเช่น ปลาดาวบนชายหาด และสายลมกับทุ่งหญ้า (ได้รางวัลในปีนี้) ฯลฯ
เพราะที่นี่ให้โอกาสเขาทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า คือการสร้างคน...
โรงเรียนเป็นรูปเป็นร่างและได้รับการยอมรับ รวมถึงมีคนมาดูงานมากมาย ครูใหญ่ตั้งเป้าหมายต่อไปอย่างไร
ย่างปีที่ 7 เรากำลังจะทำระดับมัธยม เคยมีคนสมัครเป็นครู 700 คนรับแค่ 5 คนและพบว่า แม้จะรับคนยอดเยี่ยมที่สุดแล้ว ก็ต้องพัฒนาต่ออีกหนึ่งปี ทั้งเรื่องท่าที คำพูด ความเข้าใจ และเป้าหมายร่วมกัน แต่ก็คุ้มกับความสามารถการเป็นครู วัตถุประสงค์โรงเรียนมีข้อเดียวคือ เราอยากให้โรงเรียนชนบทกว่าสามหมื่นแห่งมาเรียนรู้และนำไปใช้ ปีที่แล้วมีครูและผู้บริหารมาเรียนรู้กว่า 5,000 คน ปีนี้ยังไม่ถึงสิ้นปีมีประมาณ 3,000 คน ตอนนี้ระดับกระทรวงรู้จักโรงเรียนเรา
เป็นความคาดหวังที่สูงเกินไปหรือเปล่า
มี 20 โรงเรียนในภาคอีสานกำลังทำตามแบบโรงเรียนเรา และมีครูจำนวนมากอยากทำแบบนี้ แม้บางคนจะบอกว่า ทำไม่ได้หรอก
กับแนวคิดครูนอกกะลา ทำให้เกิดการพัฒนาเด็กอย่างไรคะ
จากเด็กสภาพจิตใจย่ำแย่ กลายเป็นเด็กที่รู้ว่า ชีวิตตัวเองมีความหมาย เราทำงานด้วยหัวใจ ไม่ได้มีทฤษฎีตั้งไว้ก่อน แต่เรียนรู้ที่จะทำ ผมมั่นใจว่า เด็กที่เรียนจากระบบตรงนี้ ต่อไปจะมีเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมในการดำเนินชีวิต หาคำตอบจากสิ่งที่เราควรหา
โรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับไหนคะ
สิ่งที่ผมคิด ถ้าใช้ไม่ได้ มันจะไม่มีประโยชน์เลย เราไม่ได้ต้องการทำเพื่อโชว์หรือทำให้ได้รางวัลดีเด่น กระบวนการต่างๆ ที่โรงเรียนทั่วไปทำ เราต้องให้เขาเชื่อด้วย สำนักงานประเมินและรับรองมาตรฐานการศึกษา เคยประเมินให้ผ่านในระดับดีมาก และกระบวนการเรียนรู้ของเราเป็นสากล เด็กที่นี่ ไม่มีใครอ่านออกเขียนไม่ได้ ยกเว้นเด็กอนุบาลหกสิบคน
นั่นเป็นความสำเร็จ ส่วนวิธีการเรียนการสอน โรงเรียนไม่มีเสียงระฆัง แล้วเด็กจะรู้เวลาได้อย่างไรคะ
ต้องให้เด็กเกิดวินัยเชิงลึก วิถีปฏิบัติที่มั่นคง เด็กอนุบาลที่นี่ดูนาฬิกาเป็น พวกเขาเรียก 'พี่นาฬิกา' เขาจะเรียกทุกอย่างว่า 'พี่' อาทิ 'พี่แก้วน้ำ' กิจวัตรจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องมีระฆัง เด็กที่นี่ส่วนใหญ่เป็นเด็กชนบท เป็นลูกชาวนา มีเด็ก 40 คนเป็นเด็กกำพร้า เด็กคนหนึ่งไอคิวต่ำ และคนหนึ่งพิการ ทุกคนเข้ามาด้วยการจับสลาก เราต้องการให้เขาประสบความสำเร็จตามศักยภาพของเขา ทุกคนจะได้รับคุณค่าเท่าเทียมกัน
ครูไม่ให้ดาวเด็กอนุบาลกลับไปอวดพ่อแม่ เพราะอะไรคะ
การไม่ให้ดาว เพราะเด็กจะมีค่าเท่ากัน หากให้เด็กอนุบาลวาดรูปคน บางคนวาดไม่เป็นรูป แค่วงกลม เด็กได้ใช้ศักยภาพเต็มที่แล้ว ถ้าเขาถูกตราหน้าว่า ไอ้หนึ่งดาว เขาจะเก็บตรงนั้นไว้ ไม่อยากเล่าให้แม่ฟัง ไม่อยากมาโรงเรียน เพราะเขารู้สึกว่า ไม่ได้รับคุณค่า ไม่ได้รับความรัก
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการอบรมหน้าเสาธง ?
ผมคิดว่าการอบรมหน้าเสาธงไม่เหมาะกับการเรียนรู้ ที่นี่ไม่มีการจัดลำดับความสามารถของนักเรียน ทุกคนยอดเยี่ยมหมด ครูจะสอนด้วยเสียงเบาๆ ถ้ามีเด็กหลังห้องไม่ฟังครู ทั้งๆ ที่ครูสามารถจัดการได้ แต่เราไม่ทำ เราจะเรียกเด็กทุกคนว่า 'พี่' เหมือนเด็กๆ เรียกทุกอย่างว่า 'พี่' ถ้าในห้องเรียนเสียงดัง เราก็บอกว่า ขอบคุณพี่โก้ที่เรียบร้อย ขอบคุณพี่กี้ยอดเยี่ยมมาก สักพักจะเงียบ เราก็จะบอกว่า ขอบคุณพี่ๆ หลังห้อง จากนั้นตัดสู่การสอน 15 นาที เราจะให้งานกับเด็กที่เรียนเก่ง เรียนอ่อน ไม่เหมือนกัน เด็กบางคนต้องการงานที่ท้าทาย เด็กทุกคนต้องลงมือทำ ที่นี่จะมีชิ้นงานให้ทำเยอะมาก ที่สำคัญคือ ครูต้องชวนให้เด็กคิดเอง
รวมถึงไม่ใช้แบบเรียนด้วย ?
ไม่ใช้จริงๆ เพราะเราเชื่อเรื่องการพับกระต่าย ความสำคัญของตัวความรู้แต่ละคนไม่เหมือนกัน เวลาเปิดเรียนมา ครูจะถามเด็กว่า อยากเรียนอะไร เรามีวิธีการเชิงเทคนิคอีกเยอะ
วิธีคิดเรื่องการพับกระต่ายเกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาอย่างไรคะ
ผมเคยแบ่งครูออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้ครูพับกบ มีครูคนหนึ่งเคยพับ รุ่นพี่รุ่นน้องจึงพับกบเหมือนกันทุกคน ส่วนอีกกลุ่มให้พับกระต่าย ไม่มีเสียงฮือเหมือนกลุ่มแรก เพราะไม่มีใครรู้วิธีพับกระต่าย พวกเขามองหน้ากัน ผมก็กระตุ้นให้พับ ปรากฏว่า เป็นกระต่ายคนละแบบไม่เหมือนกัน
เรื่องการพับกระต่ายทำให้ผมนึกถึงการปฏิรูปการศึกษา ผมไปเปิดดูหนังสือเรียนแปดเล่มของหลานดู ปรากฏว่า ทุกวิชามีองค์ประกอบคล้ายกัน ห้าหน้าแรกเรียนเรื่องความรู้ หน้าต่อไปเป็นแบบฝึกหัดและสุดท้ายเป็นเฉลี่ยคำตอบ เป็นบทเรียนสำเร็จรูปเหมือนกันทุกเล่ม ผมเห็นแล้วรู้สึกไม่สบายใจมาก เหมือนครูกลุ่มแรกที่ผมให้พับกบ ทุกคนทำได้เหมือนกับสิ่งที่ตัวเองมี แต่น้อยคนที่จะได้โอกาสใหม่ๆ
เล่าชีวิตประจำวันของครูกับเด็กให้ฟังสักนิด ?
หน้าที่สำคัญของครูคือ เล่นกับเด็ก ผมเชื่อ ว่าไม่มีใครสอนคนได้ดีเท่ากับคน จังหวะการสอนที่ดีคือการเล่น วิธีการมีเยอะ เด็กอนุบาลไม่มีการนั่งสมาธิ จะมีเรื่องเล่า มีการเตรียมสมองให้ผ่อนคลาย เด็กทุกคนจะเรียนรู้อำนาจในการเลือกเรียน เด็กประถมห้าเรียนเรื่องไบโอดีเซล ปีนี้เขาทำธุรกิจตัวเอง ซื้อน้ำมันเก่าสิบบาทมาทำไบโอดีเซลขายยี่สิบบาท แต่คุณครูต้องไว้ใจเรียนรู้ร่วมกัน และที่นี่ให้โอกาสเด็กๆ ออกแบบชุดนักเรียนเอง
มีเด็กคนหนึ่งเกเรและก้าวร้าวมาก เราจะไม่ผลักไสเด็กไปเรียนที่อื่น เราคิดว่าเด็กคนนี้ต้องเรียนที่นี่ เด็กคนนี้ชอบเล่นมายากล เด็กอยากเรียนเราก็สอนให้ เขาไปเล่นมายากลให้น้องๆ อนุบาลดู น้องๆ ชอบมาก แค่นี้เราก็รู้สึกปลอดภัยแล้ว ไม่ว่าเขาจะอยู่ในสังคมไหน เขามีคุณค่า เราเห็นความงอกงามของเด็กแต่ละคน ผมมีความสุขมาก
เวลาเด็กทำผิด มีวิธีการลงโทษอย่างไรคะ
การลงโทษเด็ก เราจะให้เด็กรู้ว่า “อย่าทำ...เราไม่ชอบ” เป็นการบอกความรู้สึก เวลาเด็กทะเลาะกัน เราบอกให้ไปบอกเพื่อนว่า ถ้าคนอื่นทำแบบนี้กับเรา เราชอบไหม เด็กบอกว่า ไม่ชอบ ครูโยงให้เขาคิดเอง ถ้าคิดไม่ได้ครูจะช่วย หรือเด็กคนหนึ่งเตะบอลโดนกระจกแตก เราก็ถามเด็กว่า "จะแก้ปัญหานี้อย่างไร "เด็กตอบว่า "จะซื้อคืนให้" เราถามต่อว่า "เอาเงินมาจากไหน" เด็กบอกว่า"จากคุณพ่อ" เราก็บอกว่า "พ่อไม่ได้ทำผิด แล้วจะลงโทษพ่อได้อย่างไร" เด็กก็ถามว่า "ครูมีทางเลือกให้ผมไหม" ผมให้ครูอีกคนตีราคากระจก แล้วบอกว่า ถ้าอย่างนั้นต้องทำงานปลูกต้นกล้วยวันละกี่ต้นได้ยี่สิบบาท ล้างจานให้เพื่อนทั้งหมดได้วันละสามสิบบาท ลองไปคิดว่า จะทำอย่างไร เราก็ปล่อยให้เขาทำ จากนั้นแค่ไปดูว่าเด็กทำไหม
เคยมีคนในวงการศึกษาเข้ามาเรียนรู้ บางคนบอกว่าทำตามแนวทางนี้ไม่ได้หรอก ครูตอบโจทย์เรื่องนี้อย่างไรคะ
ผมก็ส่งครูผมออกไปทำให้ดูในโรงเรียนนั้น แล้วมาบอกว่าทำได้ ข้อสำคัญคือการจัดการกับผู้ปกครอง
ทำความเข้าใจกับผู้ปกครองอย่างไรคะ ?
แรกๆ ผู้ปกครองเด็กอนุบาลคาดหวังว่า เด็กต้องเขียนตามรอยปะได้ ผมจึงต้องวางหลักสูตรในการจัดการผู้ปกครอง พอเข้าปีที่หกผู้ปกครองทุกคนเปลี่ยนแปลงระดับหนึ่ง มองเห็นเป้าหมายใหม่ มั่นใจในสิ่งที่เราทำ เชื่อมั่นว่า เด็กจะเป็นนักจัดการ บางครั้งให้ผู้ปกครองมาเรียนเหมือนเด็ก ถ้าผู้ปกครองคนไหนขาดเรียนไม่มา ต้องมาเรียนซ่อมคนเดียวให้ครบ ไม่มีใครไม่มา เพราะเราเอาจริง
ถ้าผู้ปกครองร่วมมือกับเรา ก็จะพัฒนาเด็กได้ดี เราย้ำเสมอว่า ทุกคนจะต้องตาย และคนที่เหลืออยู่คือ เพื่อนของลูก เขาต้องใช้ชีวิตต่อไป ดังนั้นทุกๆ วันจะมีผู้ปกครองเข้ามาวันละสามสี่คน บางคนมาเล่านิทาน บางคนมาช่วยทำกับข้าว คุณยายสามคนเคยเดินมาสามกิโลเพื่อมาเล่าให้ผมฟังว่า หลานไม่อยากไปเรียนที่อื่น เพราะพ่อแม่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น ผมก็เอาทั้งพ่อและยายมาคุยกัน
ย้อนไปที่คำถามว่า ถ้าโรงเรียนในระบบจะทำตามแนวทางนี้ คุณครูคิดว่าทำได้ไหม
นี่แหละคือสิ่งที่ผมต้องการพิสูจน์ ถ้าผมทำออกมาได้ ทำไมคนอื่นจะทำไม่ได้ เพราะทุกคนมีหัวใจ แต่ครูส่วนใหญ่ใช้แต่เทคโนโลยี ไม่มีหัวใจเลย ถ้าเรามีหัวใจ มันยกระดับคนได้อีกหลายสิบเท่า
ย้อนไปถึงเบื้องหลังความคิด ทำไมอยากเป็นครูใหญ่ที่นี่
ช่วงที่ผมเป็นผู้บริหารโรงเรียน หรือเป็นครู ผมรู้คำตอบแล้ว ไม่นานผมก็เกษียณ เป็นครูแก่ๆ ซึ่งไม่ได้ช่วยอะไรมาก แต่มาตรงนี้ผมไม่รู้คำตอบ มีคำตอบมากมายรอผมอยู่ มันท้าทาย เมื่อเขารับผม ผมก็ตัดสินใจลาออกเลย มาทำงานปีแรก (ปี 2545) มีเพียงที่ดินว่างเปล่า ก็อยู่คนเดียวตามร่มไม้ สิ่งที่คิดครั้งแรกคือ ต้องมีครูที่ดีเป็นตัวอย่าง เป็นโจทย์ใหญ่ที่ผมคิดทั้งปี ผมได้อิสระในการทำงานเต็มที่ ปลายปีนั้นผมรับครูมา 6 คน รูปแบบและคำตอบของเราก็ยังไม่ชัด ปีแรกเราถูกทั้งสังคม ครอบครัว ผู้ปกครอง และผู้บริหารอัดเรา เพราะเราไม่มีคำตอบให้สังคม
ถ้าคำตอบไม่เป็นอย่างที่คุณคิด ?
ไม่เป็นไร ผมเดิมพันด้วยชีวิตแล้ว ผมยอมรับได้
เดิมพันด้วยชีวิตอย่างไรคะ
ที่เขารับผมเป็นครูใหญ่ เขามองวิชั่นผม ผมบอกว่า ผมอยากเปลี่ยนแปลงการศึกษาจุดเล็กๆ ต้องเปลี่ยนแปลงได้จริง ผมมองว่า ในระบบการศึกษา ทุกคนมีคุณค่า ไม่ใช่ว่าเด็กคนเก่งที่สุดถึงมีค่า ผมบอกว่า ผมจะทำที่นี่ให้สำเร็จ ถ้าไม่สำเร็จไล่ผมออกได้ตลอดเวลา เขาให้อิสระผมในการทำ ผมตั้งใจไว้ว่าจะทำแค่ 5 ปี นี่เข้าปีที่ 7 แล้ว ไม่ใช่หลงเสน่ห์นะครับ แต่มีงานบางอย่างยึดโยงอยู่ หาคนแทนไม่ได้ ต้องรอสักพัก จากนั้นผมจะออกไปเขียนหนังสือและเดินทาง เพราะเขียนหนังสือมีอิทธิพลต่อคนจำนวนมาก
แรงบันดาลใจอะไรทำให้อยากเป็นครูที่สร้างเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
กว่าสิบปีที่เป็นครูในระบบ ผมจะไม่โอดครวญกับระบบ ผมไม่บ่นเรื่องนั้นเรื่องนี้ ผมทำให้เห็นเลย ถ้าผมไม่มุ่งมั่น ทุกคนก็จะไม่มุ่งมั่น ผมมีคำตอบอยู่ในใจ ถ้าผมไขว้เขว ทุกคนก็จะไขว้เขว
ตอนผมเป็นผู้บริหารโรงเรียนในระบบราชการ ผมรู้คำตอบว่า หลังอายุ 35 ปีผมเหลือเวลาอีก 35 ปี ผมเริ่มนับถอยหลัง เหมือนนักบอลเตะครึ่งหลังแล้วไม่ได้ประตู ผมเริ่มรู้แล้วว่า ผมยังไม่เจอคำตอบตัวเองเลย ผมยังไม่ได้ทำสิ่งที่ผมอยากทำ
ตอนนี้นับถอยหลังปีที่เจ็ดแล้ว ทำให้เรารู้สึกว่า เราวางอะไรได้ง่ายขึ้น เมื่อวางง่ายก็ทำอะไรได้เยอะ ผมมีวิถีชีวิตนอนสามทุ่มตื่นตีสาม เพราะผมมีเวลากับสิ่งที่ต้องทำอีกเยอะ
ข้อสำคัญเป้าหมายต้องชัดเจน ?
เพราะเป้าหมายมีความหมายต่อเรา ผมพบว่า ทุกคนหาตรงนั้น คุณต้องหาคำตอบด้วยตัวเอง ผมอยากทำอะไรที่เปลี่ยนแปลงคนได้เยอะที่สุด การศึกษาต้องยกระดับคุณภาพชีวิต สำหรับผมสิ่งที่เหนือกว่านั้นคือ การเขียนหนังสือ เป็นการนำพาจิตวิญญาณผ่านอารมณ์ความรู้สึก ตอนนี้ผมเขียนเรื่องจิตวิทยาสำหรับการเรียนรู้เด็กผ่านนิยาย กำลังจะตีพิมพ์
ก่อนหน้านี้ครูครุ่นคิดเรื่องชีวิตอย่างมาก แล้วได้คำตอบไหมคะ
ผมก็พยายามหาคำตอบให้ชีวิตตามประสาคนวัยนั้น ช่วงอายุ 27 ปีกว่าพยายามอ่านหนังสือและศึกษาธรรมะ ทำทุกอย่างที่จะทำให้เข้าใจว่าชีวิตคืออะไร
แล้วค้นพบไหมคะ
ไม่พบ มีแต่ความสับสน ยิ่งคิดยิ่งหมกมุ่น จนเกิดอาการเมิน นอนไม่หลับ บางทีอาจจะหลงทางก็ได้ ผมเกิดอาการหวาดระแวง ผมกลัวจนต้องกินยากล่อมประสาท สุดท้ายเหมือนจิตฟุ้ง
คำตอบเป็นอย่างไร
ผมพยายามจะหาคำตอบจากศาสนาพุทธ แต่พอวันหนึ่งผมตัดสินใจเด็ดเดี่ยวว่า ผมจะไม่ยึดติดเรื่องศาสนา เวลาผมกรอกในบัตรประชาชนช่องนับถือศาสนาอะไร ผมจะไม่กรอก ในที่สุดผมค้นพบคำตอบบางอย่าง แต่ผมตอบไม่ได้ ทุกคนจะรู้เองว่า อะไรคือที่ที่เราจะยืนอยู่
แสดงว่าคุณเจอคำตอบแล้ว ?
ผมคิดว่า ผมเจอ เพราะผมใคร่ครวญกับเรื่องชีวิตมานานกว่าสิบปี เห็นผู้คนต่างๆ ผมก็รู้ว่า ผมต้องการทำอะไร เพื่ออะไร
จากวงสนทนาที่นั่งคุยกัน คุณจะให้ความสำคัญกับความรู้สึกคนอย่างมาก ?
ใช่ เพราะเป็นพื้นฐานความเป็นมนุษย์ เราอยู่ได้เพราะความรู้สึก เรามีความสุขเพราะความรู้สึก เรารักเพราะความรู้สึก เหมือนที่ผมบอกว่า ถ้าเป็นครูที่ดีไม่ได้ เราจะไปทำอาชีพอื่น เป็นครูที่ดีก็ต้องรักเด็กทุกคน ไม่ปล่อยให้เด็กในห้องล้มเหลวแม้แต่คนเดียว ไม่ปล่อยเวลาสูญเปล่า
.......................................
หมายเหตุ : เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์และการประชุมจิตวิวัฒน์เมื่อเร็วๆ นี้
อิสระนอกกะลา
หากมีคนถามว่า อะไรทำให้ครูใหญ่คนนี้มีอิสระในความคิดและการดำเนินชีวิตเต็มที่ และมีเป้าหมายชัดเจนในการทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับเด็กๆ
เขาเล่าถึงชีวิตตัวเองว่า
"ตอนเกิดมา เกือบไม่รอด แม่ไม่มีนมให้กิน ผมอยู่กับตาตั้งแต่เด็ก สมัยนั้นตาชงนมใส่ขันกรอกใส่ปากผม ผมใช้ชีวิตร่วมกับตาในท้องไร่ท้องนา พ่อแม่ไม่เคยมายุ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่ไม่รักนะ
แม้ผมจะคุยกับตาน้อย แต่ผมสัมผัสอารมณ์ได้ จำได้ว่าตอนเด็กๆ ผมนั่งอยู่นอกชาน มีต้นฝรั่งอยู่หน้าบ้าน ตาแค่บอกว่าให้ฟัง หลังจากตาตาย ผมก็ใช้ชีวิตแบบที่ผมอยากทำ ผมเป็นอิสระมาก ตัดสินใจด้วยตัวเองตั้งแต่เด็ก
ตอนผมเป็นผู้บริหารโรงเรียน ผมยังรู้สึกว่า ผมทำอะไรได้มากกว่านั้น น่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้มาก จนมาเป็นครูใหญ่ที่นี่ก็ค่อยๆ ทำไป ใช้เวลาแต่ละวันให้เต็มที่ ผมให้ความสำคัญกับทีมงานมาก"


โรงเรียนนอกกะลา จิตวิวัฒน์

จาก โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

โดย ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 15 สิงหาคม 2552

“เราทำไม่ได้หรอก” เป็นคำพูดที่คุณครูวิเชียร ไชยบัง ครูใหญ่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้ยินจากผู้มาดูงานเสมอๆ คุณครูเล่าว่า มีอยู่คราวหนึ่งที่ได้ยินคำนี้จากผู้มาดูงานถึงห้าครั้งในเวลาครึ่งชั่วโมง

เวทีจิตวิวัฒน์เดือนสิงหาคมได้รับเกียรติจากคุณครูวิเชียรมาเล่าเรื่อง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ให้ฟัง โรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนทางเลือกที่มีชื่อเสียง มีผู้บริหาร และคุณครูจากเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศไปดูงานมากมาย นำไปสู่คำถามท้าทายว่าจะสามารถทำโรงเรียนแบบลำปลายมาศในพื้นที่อื่นๆ ไม่ได้จริงหรือ

เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการสอบ

เป็นโรงเรียนที่ไม่มีเสียงออดเสียงระฆัง

เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการอบรมหน้าเสาธง

เป็นโรงเรียนที่ไม่มีแบบเรียนสำเร็จรูป

เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการให้ดาว

เหล่านี้คือประเด็นท้าทายระบบการศึกษา ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะคิดว่าโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาคงเป็นโรงเรียนทางเลือก ที่เก็บค่าเล่าเรียนแพงๆ และนักเรียนมาจากครอบครัวคนชั้นกลางหรือผู้มีอันจะกิน แต่ปรากฏว่าไม่ใช่ นักเรียนส่วนใหญ่ของโรงเรียนนี้จะมาจากครอบครัวชาวไร่ชาวนาในเขตจังหวัด บุรีรัมย์ เข้าได้ด้วยการจับฉลากเท่านั้น และไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ร้อยละ ๗๐ ยากจน อีกอย่างน้อย ๔๐ ครอบครัว เป็นเด็กกำพร้า มีเด็กสติปัญญาบกพร่องร่วมเรียนด้วย

นักเรียนโรงเรียนนี้ทำอะไรกัน มาตรฐานและคุณภาพเป็นอย่างไร คุณครูวิเชียรเล่าผลการประเมินภายนอกให้ฟังว่า สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้มาประเมินโรงเรียนแล้วพบว่า อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ๑๓ มาตรฐาน และอยู่ในเกณฑ์ดี ๑ มาตรฐาน ผลการสอบเอ็นที (National Test) พบว่าคะแนนเฉลี่ยด้านภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศ ทั้งที่โรงเรียนไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “วิชาวิทยาศาสตร์”

คุณครูของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจะใส่ใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นัก เรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้เลือกทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ เรียนรู้การวางแผน และลงมือทำจริง จากนั้นจึงนำผลงานมาแสดงและแลกเปลี่ยน ช่วยกันประเมินและเรียนรู้การวางแผนอีก เป็นวงจรเช่นนี้เรื่อยๆ ไป เป็นไปตามปรัชญาที่ว่าการเรียนรู้ที่แท้เกิดจากการลงมือทำจริง

“เมื่อเดือนก่อน ผมกลับไปเยี่ยมบ้าน พบหลานตัวเล็กเรียนอนุบาลที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง” คุณครูวิเชียรเปิดประเด็น “ไหนเอามาดูซิ เรียนอะไร” คุณครูพูดกับหลาน “หลานเขาค้นหนังสือมาให้ดู ๘ เล่มใหญ่ เป็นแบบเรียนสำเร็จรูปที่ทางโรงเรียนจัดให้ ๕ แผ่นแรกเป็นใบความรู้ อีกแผ่นเป็นแบบฝึกหัด แล้วอีกแผ่นเป็นข้อสอบ ทุกวิชาจะเป็นแบบแผนเช่นนี้เหมือนๆ กันหมด”

“พอกลับมาที่โรงเรียน ซึ่งเราจะมีวงพูดคุยกับครู ผมก็ลองแบ่งครูเป็นสองกลุ่ม แจกกระดาษให้ครูแต่ละคน” คุณครูวิเชียรเล่าต่อไป “กลุ่มหนึ่งให้พับกบ พวกเขาฮือฮาเพราะรู้ว่ามีวิธีพับกบอยู่ พวกเขาถกเถียงกัน แล้วมีครูคนหนึ่งบอกว่า หนูจำได้ หนูจะสอนให้ กลุ่มนี้เลยได้กบมาเหมือนๆ กันหมด” คุณครูวิเชียรว่า “อีกกลุ่มให้พับกระต่าย ไม่มีเสียงฮือเหมือนกลุ่มแรก เพราะพวกเขารู้ว่ายังไม่มีใครสอนวิธีพับกระต่าย พวกเขานิ่ง มองหน้ากัน แล้วลองทำดู ปรากฏว่าทุกคนพับได้กระต่าย ๑๐ ตัวที่ไม่เหมือนกันเลย”

เพราะไม่เคยมีใครพับกระต่ายมาก่อน ทุกคนจึงต้องค้นหาวิธีกันเอาเอง ด้วยวิธีนี้ครูแต่ละคนจึงเข้าใจกระบวนการเรียนรู้อย่างที่ควรจะเป็น

ผู้ฟังท่านหนึ่งถามว่าเป็นไปได้หรือเปล่าที่พอคุณครูของโรงเรียนจัดกระบวน การเรียนรู้แบบนี้ไปนานๆ เข้า ก็จะเกิดอาการเริ่มรู้ทาง เริ่มรู้ว่าต้องทำอย่างไร เริ่มลัดขั้นตอน แล้วก็ละเลยกระบวนการหาคำตอบด้วยตนเองไปในที่สุด คล้ายๆ กับที่หลายแห่งเผชิญ เปรียบเสมือนรู้วิธีพับกบก็พับแต่กบตามวิธีที่เคยพับกันมา เพราะง่ายกว่า

คุณครูวิเชียรตอบว่า สิ่งที่เราต้องการให้ครูแม่นยำที่สุดคือกระบวนการ ไม่ใช่ความรู้ แล้วในขั้นตอนที่นักเรียนนำผลงานมาแสดงและแลกเปลี่ยนนั้น จะแลกเปลี่ยนสิ่งดีๆ ซึ่งกันและกัน ด้วยวิธีนี้การเรียนรู้จึงจะสดและใหม่อยู่เสมอ

นอกเหนือจากครูแล้วทางโรงเรียนยังต้องเอาชนะใจผู้ปกครองด้วย มีการร่างหลักสูตรเพื่อจัดการผู้ปกครองโดยเฉพาะ เพราะผู้ปกครองมักคาดหวังให้เด็กอ่านออกเขียนได้คัดไทยตามเส้นประโดยเร็ว

“โรงเรียนแห่งนี้ไม่มีเส้นประ”

โรงเรียนมีชั่วโมงที่ผู้ปกครองจะเวียนกันมาสอนนักเรียน ที่เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ได้เพราะครูใช้เวลาทำความเข้าใจกับผู้ปกครองว่าวัน หนึ่งพวกเราต้องตายจากไป ผู้ปกครองก็ต้องตาย ครูก็ตายด้วย ที่เหลืออยู่คือเพื่อนๆ ของลูกเรา การสอนเพื่อนลูกจึงเป็นเรื่องสำคัญ ด้วยวิธีคิดแบบนี้ใครมีความรู้อะไรก็มาสอน ไม่รู้จะสอนอะไรก็มาทำกับข้าว หรือเล่านิทาน พอเวลาผ่านไปหลายปี ผู้ปกครองจะเริ่มเปลี่ยน ไม่คาดหวังลูกในเรื่องการสอบแข่งขัน แต่มั่นใจในสิ่งที่โรงเรียนทำ ว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ยั่งยืน เชื่อมั่นว่าเด็กสามารถจะอยู่และเป็นนักจัดการได้ และที่เห็นได้ด้วยตาแน่ๆ คือนักเรียนทุกคนเป็นคนดี ไม่เกเร เมื่อถึงวันไหว้ครู ผู้ปกครองจะเป็นผู้จัดงานให้และมาร่วมงานไหว้ครูกันมากมาย

สำหรับครูที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาแล้ว “ถ้าเป็นครูที่ดีไม่ได้ เราจะไปทำอาชีพอื่น”

ในความเห็นของผู้เขียนบทความ กลับไปที่คำพูดตอนต้นเรื่องว่า “เราทำไม่ได้หรอก” อาจจะฟังแล้วให้ความรู้สึกว่าหมดทางไป แต่ที่จริงแล้วเราไม่ควรทำได้ หากคำว่าทำได้จะหมายความว่าการลอกแบบโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เพราะไม่มีใครควรลอกใคร

สิ่งที่ผู้ไปดูงานโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาควรได้มากกว่าเราทำได้หรือทำไม่ได้ น่าจะเป็นประเด็นเรื่องกล้าทำหรืออย่างน้อยก็กล้าที่จะเริ่มทำ ให้ตระหนักรู้ว่าการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่ดีต้องการความเป็นอิสระจาก การครอบงำทั้งปวง ไม่ยึดติดในมาตรฐานหรือตัวชี้วัดที่ตายตัว พร้อมจะออกแบบระบบใหม่หรือกระบวนการเรียนรู้อย่างใหม่ๆ ด้วยความร่วมมือของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน

เป็นไปได้ว่ายังมีคุณครูอย่างคุณครูวิเชียรหรือคุณครูโรงเรียนแห่งนี้มาก มายกระจายในท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศไทย แต่ด้วยการบริหารการศึกษาแบบรวมศูนย์อำนาจทำให้ไม่มีใครกล้าคิดถึงกระบวนการ เรียนรู้แบบอื่นๆ นอกเหนือจากที่ส่วนกลางกำหนด

กรณีโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องจิตวิวัฒน์ แต่ยังเป็นเรื่องการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาด้วย ถ้าผู้รับผิดชอบการศึกษาของชาติมีจิตวิวัฒน์ การกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจะเป็นไปได้ แล้วเราจะมีคุณครูอย่างคุณครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาอีกหลายแห่ง

หลักสูตรซ่อน (กรวย จตุปัญญา)


โดย สรยุทธ รัตนพจนารถ
คอลัมน์ จิตตปัญญา
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
13 กันยายน 2552
http://pingwab.blogspot.com



เช้าวันแดดออกรำไรๆ สลับฝนพรำ หลังทานข้าวสุดอร่อยฝีมือคุณแม่ร่วมกันพร้อมพี่สาวและน้องชาย รู้สึกหนังท้องชักตึงหนังตาชักหย่อน ผมเลือกออกไปเดินเล่น ช่วยร่างกายย่อยอาหารและฝึกฝนจิตใจ เดินไปอย่างไร้จุดหมาย ผ่านโรงเรียนสมัยอนุบาลและประถมของผมเอง นึกตั้งคำถามว่าตอนเด็กๆ เราเรียนอะไรและอย่างไร

น่าช็อกว่าแต่ก่อนนั้นความรู้ที่ว่าการเรียนรู้ เหมาะสมกับการพัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์รอบด้านนั้นก็มีอยู่ แต่ผมกลับได้รับการศึกษาเหมือนผลิตปลากระป๋องในโรงงาน ทั้งๆ ที่โรงเรียนนี้ก็มีชื่อไม่น้อย พวกเราล้วนต้องแข่งขันกันเป็นปลาซาร์ดีนที่คุณภาพสูงสุด กระป๋องมันวาว ไม่บุบ และมีโอเมกา-3 โดยเฉพาะ DHA ที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจและลดความเครียดได้ดีที่สุด ... แต่ลงเอยก็ยังคงเป็นแค่ปลากระป๋อง

แต่เช้ามาเราก็ได้เล่นนิดเดียว ครูมักมาเตือนให้รู้จักเล่นน้อยๆ หน่อย จากนั้นเข้าแถวเคารพธงชาติ ยืนเมื่อย ฟังครูเทศน์ เรื่องอะไรคิดว่าไม่มีใครจำได้เลย จำได้แต่ว่าพวกเราเบื่อและไม่เชื่อ (หรอก) แล้วเข้าห้องเรียน เรียนอะไรที่ตาดีได้ ตาร้ายเสีย บางครั้งก็สนุกดี บางทีก็น่าเซ็ง เที่ยงทานอาหารรสชาติไม่อร่อย บ่ายเข้าไปนั่งเรียนๆ หลับๆ ในห้องจนเย็น

แต่ที่น่าช็อกกว่าก็คือ ตารางการใช้ชีวิต (หรือฆ่าเวลา?) ของนักเรียนไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นแบบนี้

หรืออาจเพราะเราเชื่อฝรั่งมากเกินไป เห็นเขาใช้กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) ของเอดการ์ เดล ในการออกแบบการศึกษา เราก็ใช้บ้าง ที่สำคัญคือเอามาไม่หมด เขาว่าให้จัดจากฐาน (ว่าด้วยการให้มีประสบการณ์ตรง) ให้ถึงยอด (ว่าด้วยเรื่องสัญลักษณ์ในภาษา) แต่เราก็มักน้อย เอาแค่แถวๆ ยอดกรวยก็พอ

น่าดีใจที่เดี๋ยวนี้องค์ความรู้เรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ดี เรื่องกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญา (Contemplative Education) นั้นเริ่มมีผู้สนใจและแพร่หลายมากขึ้น ไม่ถูกจำกัดอยู่แต่ในเฉพาะโรงเรียนทางเลือกหรูๆ แพงๆ ผู้คนเริ่มสร้างทางเลือกในการเรียนรู้ให้กับตนเอง (และลูกๆ หลานๆ) มากขึ้น บ้างก็เรียกชื่ออื่นๆ อีกมาก อาทิ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ (Humanized Educare) การเรียนรู้เพื่อจิตสำนึกใหม่ (Education for a New Consciousness) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Transformative Learning)

กรวยประสบการณ์แบบเดิมนั้น Out แล้วครับ ที่ In หรือ Hot ในปัจจุบัน คือ กรวยจตุปัญญา ที่เน้นการพัฒนาปัญญาทั้งสี่ด้าน อันได้แก่ ฐานคือ PQ (Physical Quotient) ความฉลาดทางด้านร่างกาย เช่น สร้างความเข้มแข็งและรักษาสุขภาพ IQ (Intelligence Quotient) ความฉลาดทางด้านความคิด หรือเชาว์ปัญญา เช่น ความสามารถในการคิด การคำนวณ EQ (Emotional Quotient) ความฉลาดทางด้านอารมณ์ เช่น ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมียอดคือ SQ (Spiritual Quotient) ความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณ คือการแสวงหาเป้าหมายของชีวิต เข้าใจความหมายของการมีชีวิต

การจัดตารางเรียนก็แสนง่าย ไม่ยากแต่ประการใด ผมจะยกตัวอย่างของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ดูนะครับ

เช้า เน้น EQ, SQ ตัวอย่าง: เล่นกับเพื่อนใต้ร่มไม้ พูดคุยกันกับครูที่เป็นกัลยาณมิตรอย่างเป็นกันเอง กิจกรรมจิตศึกษา

สาย เน้น IQ ตัวอย่าง: ลงมือปฏิบัติ ใช้จินตนาการและความคิด

บ่าย เน้น PQ ตัวอย่าง: ฝึกทักษะทางกีฬา ศิลปะ ดนตรี ละคร

ลองคิดดูเองว่ามันเข้าท่าไหมครับ ตรงตามสามัญสำนึกใช่ไหมครับ หากเป็นเรา เราอยากเรียนแบบนี้ไหม ดูๆ ไปมันก็ไม่ยากเกินไปที่จะจัดการเรียนรู้แบบนี้นี่นา

กรวยนี้ไม่ใช่แค่สำหรับสอนเด็กในโรงเรียนนะครับ ใช้ได้กับการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย โรงเรียนพ่อแม่ การศึกษาผู้ใหญ่ และการเรียนรู้ดีๆ ที่ไม่ต้องมีชื่อเรียกอื่นๆ ด้วย

หากมีโอกาสคงได้แบ่งปันเรื่องการบูรณาการองค์ความรู้ใหม่ล่าสุดด้านสมอง จิตวิวัฒน์ ศาสนา วิทยาศาสตร์ใหม่ องค์กร กับการพัฒนาความฉลาดทั้งสี่ด้านกันครับ :-)

ปณิธานครู-ปณิธานแพทย์



โดย นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ื 12 กันยายน 2552


การประชุมจิตวิวัฒน์ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทำให้ผมเกิดความสุขอิ่มเอมและเกิดกำลังใจเกิดแรงบันดาล ใจเพิ่มขึ้นอย่างบอกไม่ถูก

คุณครูวิเชียร ไชยบัง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ผู้เขียนหนังสือที่ดีมากๆ ชื่อว่า โรงเรียนนอกกะลา เป็นผู้จุดชนวนความสุขและความหวังให้กับวงจิตวิวัฒน์ในวันนั้น ผ่านการแนะนำของคุณหมอสมชาย ธรรมสารโสภณ จากโรงพยาบาลกระสัง

ในระหว่างที่รอจะเข้าห้องประชุม ผมพลิกๆ อ่านดูหน้าแรกของหนังสือ โรงเรียนนอกกะลา เล่มนี้ พบข้อความที่จะทำให้คนอ่านต้องสะดุ้งและเกิดความสงสัยใคร่รู้ว่า เรื่องราวของโรงเรียนนี้เป็นอย่างไร และเป็นไปได้อย่างไร ครูวิเชียรเขียนไว้ว่า

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาเป็นโรงเรียนที่ไม่มีการสอบ เป็นโรงเรียนที่ไม่มีดาวให้ผู้เรียน เป็นโรงเรียนที่ไม่ต้องใช้แบบเรียน เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการอบรมหน้าเสาธง เป็นโรงเรียนที่พ่อแม่ต้องมาเรียนรู้ร่วมกับลูก และเป็นโรงเรียนที่ทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

ครูวิเชียรค่อยๆ บอกเล่าเรื่องราวมากมาย ว่าลำปลายมาศพัฒนาสามารถเป็นไปได้ตามที่ได้เขียนไว้อย่างไร

คุณครูเล่าได้ครอบคลุมทุกๆ ด้านของการศึกษาในความหมายของลำปลายมาศพัฒนา การเล่นและเรียนรู้ของเด็กในยามเช้าก่อนเข้าห้องเรียน ซึ่งครูวิเชียรถือว่ามีความสำคัญมากเหมือนกับเป็นการเตรียมพร้อมด้านร่างกาย ของเด็ก เมื่อเข้าห้องเรียนแล้ว จะมีวิธีการเตรียมเด็กให้พร้อมกับบทเรียนด้วยวิธีการต่างๆ เมื่อครูเห็นว่าเด็กพร้อมแล้วจึงจะเข้าสู่บทเรียนแบบสั้นๆ ใช้เวลาพูดไม่นานเกินไป จากนั้นก็กลับไปให้เด็กได้ทำกิจกรรมตามแผนการเรียนที่เด็กๆ ได้ช่วยกันวางเอาไว้ตั้งแต่แรก

การใช้เรื่องของอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้ เป็นเรื่องเด่นอีกเรื่องหนึ่ง เช่น การบอกความรู้สึกกันตรงๆ ระหว่างครูกับนักเรียน หรือครูกับครู การให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ที่บ้าน และชุมชน

การให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ผู้ปกครองทุกคนต้องมาสอนในโรงเรียนอย่างน้อยหนึ่งวิชา จะเป็นอะไรก็ได้

ผมนั่งฟังคุณครูวิเชียรเล่าด้วยความรู้สึกตื่นตาตื่นใจ เรื่องราวทุกเรื่องล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการ เรียนรู้สำหรับเด็ก ซึ่งเป็นไปในแนวเดียวกันและสอดคล้องกับงานวิจัยเรื่องสมองและวิทยาศาสตร์ใน กระบวนทัศน์ใหม่ที่หลายคนในกลุ่มจิตวิวัฒน์กำลังดำเนินการอยู่ และกำลังค่อยๆ เผยตัวออกมามากขึ้นเรื่อยๆ เรื่องหนึ่งที่สะดุดใจผมมากคือ “ปณิธานห้าข้อของครู” ที่คุณครูวิเชียรใช้สำหรับคุณครูทุกคนในโรงเรียน

คุณครูวิเชียรเล่าว่า การรับสมัครคุณครูใหม่ให้มาสอนที่โรงเรียนไม่ยากเลย เพราะมีคนมาสมัครเยอะมาก แต่เมื่อรับเข้ามาแล้วกว่าที่จะฝึกหัดให้คุณครูใหม่ “รู้สึกร่วม” กับ “ปณิธาน” ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนานั้นเป็นเรื่องยากที่สุด ต้องใช้เวลาอย่างน้อยเป็นปีขึ้นไป กว่าที่คุณครูใหม่จะดื่มด่ำกับการเรียนการสอนที่แปลกใหม่แบบนี้ คุณครูเลยมี “ปณิธานห้าข้อ” ไว้สำหรับคุณครูเพื่อที่จะเป็นแนวทางในการทำงานร่วมกัน

หนึ่ง ตอนเป็นเด็กต้องการอย่างไรก็ให้ปฏิบัติอย่างนั้นกับเด็ก

สอง รักเด็กทุกคน ให้เกียรติ หาข้อดีของเขาและสร้างเสริมส่วนนี้

สาม ไม่ปล่อยให้เด็กล้มเหลวแม้แต่คนเดียว

สี่ ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไป ถามตัวเองเสมอว่าทำให้ดีกว่านี้อีกได้หรือไม่

ห้า ถ้าทำไม่ได้ก็ให้ไปทำอาชีพอื่น

เพราะ “ปณิธานห้าข้อ” ของครูวิเชียร ทำให้ผมนึกได้ขึ้นมาทันทีว่า เป็นเรื่องเดียวกันในระบบสาธารณสุขได้เลย เพียงปรับคำพูดบางคำก็จะกลายเป็น “ปณิธานห้าข้อสำหรับแพทย์พยาบาล” ได้

ข้อที่หนึ่ง ผมเห็นว่าสามารถใช้ความรู้สึกข้อนี้ เป็นแนวทางหลักในการดูแลรักษาคนไข้ได้เป็นอย่างดี ตอนที่เราเป็นคนไข้ ต้องการให้แพทย์พยาบาลปฏิบัติกับเราอย่างไร ก็ให้ปฏิบัติแบบนั้นกับคนไข้

ข้อสอง เป็นหัวใจหลักของสุขภาพแบบองค์รวมเลยทีเดียว คือรักและให้เกียรติคนไข้ มุ่งพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะของคนไข้มากกว่าที่จะมัวแต่รอรักษาโรค การจะเข้าถึงความลึกในระบบสุขภาพให้ได้นั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะต้องให้ความสำคัญกับ “สุขภาวะกำเนิด” (Salutogenesis) ซึ่งเป็นศักยภาพที่มีอยู่แล้วในตัวคนไข้ด้วย ไม่ใช่สนใจแค่ “พยาธิกำเนิด” (Pathogenesis) หรือมุ่งรักษาโรคอย่างเดียว

ข้อสาม ถ้าแปลงเฉยๆ จะกลายเป็นเข้าใจผิดได้ง่าย เพราะคำว่า “ล้มเหลว” ในปณิธานของครูวิเชียรที่ใช้กับระบบการศึกษา อาจจะต้องปรับแต่งเล็กน้อยในระบบสุขภาพ เพราะความเข้าใจทั่วไปสำหรับสาธารณสุขคำว่าล้มเหลวหมายถึง “การเสียชีวิต”

ความหมายในข้อนี้จึงน่าจะหมายถึง ให้ศรัทธาในตัวคนไข้เสมอ ไม่ทอดทิ้งคนไข้แม้ว่าเขาจะดื้อดึงในเรื่องของสุขภาพของเขาสักแค่ไหนก็ตาม คนไข้แต่ละคนไม่เหมือนกัน ต่างก็มีความคิดทัศนคติมีตัวตนเป็นของเขาเอง การจะเข้าใจคนไข้อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายในบางบริบทและบางสถานการณ์ แต่ “ความระลึก” ถึงปณิธานข้อนี้พอจะช่วยเตือนให้เราสามารถรักคนไข้ได้ง่ายขึ้น

ข้อที่สี่ ผมชอบคำถามของคุณครูวิเชียรที่ให้ถามตัวเองว่า เราจะทำดีกว่านี้ได้อีกหรือไม่ ก็สามารถเป็นตัวช่วยให้ “ทะลุกรอบ” อะไรบางอย่างได้ นักเรียนของคุณครูวิเชียรหลายคนมีเรื่องราวที่บ้าน บางคนไม่มีพ่อ บางคนอยู่กับยาย มีปัญหาเรื่องปากเรื่องท้อง ซึ่งทั้งหมดจะมีผลต่อครูและโรงเรียน เฉกเช่นเดียวกันกับคนไข้ที่มาโรงพยาบาล ปัญหาบางอย่างแพทย์และพยาบาลอาจจะไม่สามารถช่วยอะไรได้มาก แต่ผมเชื่อว่า อย่างน้อยคำถามนี้อาจจะสามารถช่วยให้ “ใครบางคน” “ทำอะไรที่แตกต่าง” ได้

ห้า ถ้าทำไม่ได้ก็ให้ไปทำอาชีพอื่น

ในความเป็น “องค์รวม” นั้น เรื่องราวของส่วนหนึ่งเป็นภาพสะท้อนถึงเรื่องราวของส่วนอื่นๆ ในระบบ นั่นหมายความว่า “ปณิธานครูห้าข้อนี้” ยังสามารถปรับให้เป็น “ปณิธานของทุกๆ อาชีพ” ได้ เช่น “ปณิธานนักการเมือง” “ปณิธานนักธุรกิจ” “ปณิธานตำรวจทหาร” ฯลฯ

งานที่คุณครูวิเชียรทำไว้ที่ลำปลายมาศพัฒนา จึงสามารถเป็นตัวอย่างของชุดความเข้าใจที่สำคัญให้กับการพัฒนาในระบบอื่นๆ ทุกๆ ระบบได้เป็นอย่างดียิ่ง