ติดตามเรื่องราว

..เรียนรู้ จากความยาก..-
บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย นั่นล่ะ -PBL




วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไบโอ-โซฮอล์กู้ชาติ ไอเดีย ป.5 โรงเรียนนอกกะลา

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หรือที่หลายคนเรียกว่า "โรงเรียนนอกกะลา" ตั้งอยู่บ้านกวางงอย ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดของนายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนที่ต้องการให้มีโรงเรียนที่เป็นแบบอย่างในการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนสร้างเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีของประเทศ

ทั้งเพื่อให้เด็กในชนบทมีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพทัดเทียมกับเด็ก ในชุมชนเมือง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของนายเจมส์ คลาร์ค ชาวอังกฤษผู้ซึ่งได้มีโอกาสสัมผัสกับระบบการศึกษาไทยในชนบทอย่างใกล้ชิด และได้ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาทางสมาคมมาตั้งแต่ปี 2541 โดยมูลนิธิเจมส์ คลาร์ค แห่งประเทศอังกฤษจึงได้ลงนามความร่วมมือในการสนับสนุนงบประมาณก่อตั้ง โรงเรียนแห่งนี้ในวันที่ 8 สิงหาคม 2544 ทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2545 และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 มิถุนายน 2546

ปัจจุบันโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 มีนักเรียนอยู่ 243 คน ครู 23 คน สำหรับโครงงาน "ไบโอ-โซฮอล์กู้ชาติ" เกิดจาก "ไอเดีย" ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานทดแทน เนื่องจากเด็กได้เล็งเห็นว่าปัจจุบันประสบปัญหาภาวะโลกร้อนและราคาน้ำมันที่ ปรับตัวสูงขึ้น จึงอยากมีส่วนร่วมในการลดโลกร้อนและผลิตน้ำมันใช้เองในครัวเรือนเพื่อลดค่า ใช้จ่าย จึงได้ร่วมกันไปค้นคว้าหาข้อมูลในการทำไบโอดีเซล ทั้งจากอินเทอร์เน็ตและห้องสมุด

จากนั้นก็ได้นำข้อมูลมาเสนอครูจีรดา ตุพิมาย ครูประจำชั้น ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลและให้คำปรึกษาแก่เด็กนักเรียน โดยวิธีและขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซล นักเรียนทุกคนต้องนำน้ำมันพืชที่ใช้แล้วมาจากบ้านคนละ 1 ขวด เพื่อให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม จากนั้นก็นำน้ำมันดังกล่าวไปกรองโดยใช้ผ้าขาวบางเพื่อแยกเศษอาหารที่ยังตก ค้างอยู่ในน้ำมัน หลังจากกรองเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำน้ำมันมาต้มกับน้ำในสัดส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นการทำความสะอาดน้ำมัน แล้วทิ้งไว้ 1 คืนเพื่อให้น้ำมันและน้ำแยกชั้นกัน แล้วนำมาแยกน้ำมันและน้ำออก โดยการค่อยๆ กรองและรินช้าๆ หลังจากแยกน้ำมันและน้ำออกจากกันแล้วให้นำน้ำมันไปต้มอีกครั้งในอุณหภูมิ ประมาณ 60 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้น้ำมันระเหย

ต่อจากนั้นก็ผสมสารในสัดส่วนแอลกอฮอล์ (เมทานอล 99.5%) 80 มิลลิลิตร ผสมกับโซดาไฟ 1 ช้อนชา และน้ำ 5 เปอร์เซ็นต์ ผสมส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันแล้วกรองลงขวด เขย่าประมาณ 15-20 นาที เติมน้ำอีก 5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำความสะอาดน้ำมันอีกครั้ง นำไปตากแดดไว้ 3 วัน ก่อนนำมาแยกกลีเซอรีนเพื่อให้ได้น้ำมันที่บริสุทธิ์ และต้องนำไปตากแดดทิ้งอีกไว้ 3 วัน แล้วนำมาทดสอบคุณภาพก่อนจะนำไปใช้งาน

น.ส.จีรดา ตุพิมาย ครูประจำชั้น กล่าวว่า การทำไบโอดีเซลของเด็กนักเรียนชั้น ป.5 เป็นโปรเจ็กต์หนึ่งในวิชาเรียนเกี่ยวกับด้านพลังงาน ประกอบกับนักเรียนได้เล็งเห็นว่าปัจจุบันภาวะโลกร้อนขึ้นและราคาน้ำมันแพง อีกทั้งนักเรียนยังเล็งเห็นว่าที่บ้านและที่โรงเรียนมีน้ำมันที่ใช้แล้วน่า จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงเกิดแนวคิดต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และได้ช่วยกันไปค้นหาข้อมูลการทำไบโอดีเซล ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนจากอินเทอร์เน็ตและห้องสมุด จนได้หัวข้อโครงงานว่า "ไบโอ-โซฮอล์กู้ชาติ" จากนั้นก็ได้ร่วมกันทำและทดสอบจนประสบผลสำเร็จสามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์ ได้จริง

ด.ญ.พิมพกานต์ ศิริ นักเรียนชั้น ป.5 กล่าวว่า การทำไบโอดีเซลดังกล่าวนอกจากจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีขั้นตอนการทำอย่าง ถูกต้องแล้ว ยังสามารถนำความรู้กลับไปทำใช้เองที่บ้าน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและลดภาวะโลกร้อนช่วยชาติได้ในอีกทางหนึ่ง ด้วย

ด้านนายวิเชียร ไชยบัง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา กล่าวว่า แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนจะเน้นบูรณาการเรียนการสอนโดยใช้โครง งานเป็นฐานการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยครูทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรแนะนำส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความ สุขในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ได้คิดและลงมือปฏิบัติในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ฟูมฟักความมีคุณธรรม ปลูกฝังมีวินัยตั้งแต่ยังเยาว์

ข่าวภูมิภาค ขอบคุณเทปรายการรู้ค่าพลังงาน/ช่อง 3

ขวัญชัย หาญประโคน รายงาน

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ7 ตุลาคม 2552 เวลา 11:26

    ถ้าทุกโรงเรียนทำได้อย่างนี้ คงลดรายจ่ายเรื่องน้ำมันได้มาก แถมยังช่วยดูแลโลกได้อีก นับถือจริงๆ ครับแค่เด็กประถม สุดยอด....

    ตอบลบ
  2. เด็กพร้อมที่จะเรียนรู้ แล้วครูพร้อมที่จะเปลี่ยนเพื่อเด็กหรือเปล่า

    ตอบลบ