ความสำเร็จขึ้นกับเกณฑ์ที่ใช้วัด
และยังขึ้นอยู่กับความน่าจะเป็นที่โอกาสนั้นจะเกิดขึ้น
มีคำถามที่น่าใคร่ครวญยิ่งว่า “อะไร อย่างไร ขนาดไหน คือ ความสำเร็จ”
ตอนผมเรียนมัธยมปลาย เพราะความจนผมจึงไม่มีปัญญาซื้อหนังสือประเภทอ่านเสริม คู่มือ แบบสรุปบทเรียน หรือไม่มีโอกาสที่จะได้เรียนพิเศษ ผมก็เลยใช้วิธีการตั้งใจเรียนในชั่วโมง แล้วสรุปบทเรียนเองทุกครั้ง การทำอย่างนั้นทำให้ผมได้ใคร่ครวญสิ่งที่เรียนมารอบแล้วรอบเล่า ในแง่มุมที่ต่างออกไปตามช่วงเวลาที่ต่างออกไป มันทำให้ผมเข้าใจสิ่งต่างๆ มากกว่าเนื้อหาที่ได้เรียน กลับกลายเป็นว่าความขาดแคลนทำให้ผมได้พัฒนาวิธีการเรียนรู้ขึ้นมาด้วยตัวเอง ความจริงแล้ว ตอนนั้นผมคิดไม่ออกหรอกว่าจะต้องทำอย่างไร มันเป็นแค่ลูกฟลุ๊ค มันอยู่บนพื้นฐานของโอกาสหนึ่งของความน่าจะเป็นที่อาจจะเกิดกับใครก็ได้ทั้งคนที่มีปัจจัยพรั่งพร้อม หรือ คนอัตคัดขัดสน
วันนี้ผมได้รู้จักมักคุ้นกับใครบางคนทั้งที่โอกาสที่ผมจะได้รู้จักกับใครคนนั้นเพียง 1 ใน หกพันล้าน นี่ก็เป็นเพียงโอกาสหนึ่งขอความน่าจะเป็นเท่านั้น
การควบคุมโอกาสนั้นยากยิ่ง
เราอาจจะมีโอกาสน้อยมากในการที่จะทำให้เด็กแต่ละคนเป็นอย่างนั้นหรืออย่างนี้
แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่เราจะสร้างโอกาสให้สิ่งที่เราอยากให้เป็นเกิดขึ้นได้เกิดขึ้น โดยการเปิดพื้นที่ให้โอกาสที่ต้องการและปิดพื้นที่สำหรับโอกาสที่ไม่ต้องการนั้นเสีย
ตัวอย่างเช่น จากคำถาม “จะทำอย่างไรไม่ให้ลูกๆ ติดเกม”
ความเป็นไปได้มากขึ้นถ้าเปิดพื้นที่สำหรับกิจกรรมอื่นๆ ให้เด็กๆ ทำ และในขณะเดียวกันก็ปิดพื้นที่ที่จะให้เด็กได้ใกล้ชิดเกม
แต่จะอย่างไร โอกาสที่จะเกิดยังเป็นไปได้ทุกแบบ การเข้าใจว่ามันเป็นเพียงความน่าจะเป็นอาจจะทำให้เราสบายใจมากขึ้น และตอนนั้นเราจะประจักษ์ว่าความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่นั้นมันเป็นก็แค่เหตุการณ์ธรรมดาๆ ที่เราสร้างเกณฑ์เข้าไปจับ
วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
จำได้ว่าครั้งหนึ่งอาจารย์เคยบอกไว้ว่า โอกาศมีน้อย..และสูญเสียง่าย...
ตอบลบ....เมื่อมีโอกาสเราต้องรีบฉกฉวย......
เกณฑ์อาจเป็นหลายสิ่งที่ทำให้ บอกผลได้ได้ชัดเจนขึ้น
ตอบลบ