ติดตามเรื่องราว

..เรียนรู้ จากความยาก..-
บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย นั่นล่ะ -PBL




วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แก้คำผิด

"ทำไม่ครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงติดโชว์ผลงานของเด็กๆ โดยไม่แก้คำผิด?" เป็นคำถามของครูที่มาเข้าอบรมหลายท่าน

จริงๆ ไม่รู้อะไรถูก
แต่เราคิดว่าการตรวจเช็คและแก้ไขโดยครูเป็นการมองจากครูฝ่ายเดียวซึ่งครูกำลังมองภาษาในรูปแบบตายตัว ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถนำลองผิดลองถูกได้
การที่ครูแก้คำถูกผิดด้วยตัวแดงพรืดเต็มไปหมด อาจทำให้เด็กรู้สึกภาษาเป็นสิ่งน่ากลัว และอาจรู้สึกว่าตัวเองด้อยความสามารถจนไม่กล้าที่จะเขียนคำใหม่ๆ อีกต่อไป
มอนเตสซอรี่ก็เชื่อว่า ถึงเด็กจะเขียนผิดถูกอย่างไรก็ได้ แต่เมื่อเด็กเริมอ่านหนังสือได้เขาจะตื่นตัวที่จะเช็คคำผิดคำถูกด้วยตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อเขารักการอ่านและมีประสบการอ่านมากขึ้นเขาจะยิ่งกระตือรือร้นในการตรวจเช็คคำผิดด้วยตังเอง
อาจจะใช้วิธีของครูณีก็ได้ ตอนที่ตรวจงาน ครูณีแค่รวบรวมคำที่เด็กแต่ละคนเขียนผิดมาเขียนไว้มุมหนึ่งของกระดาน ให้มีโอกาสได้ใช้บางคำในจำนวนนั้นอย่างถูกต้อง แล้วหลังจากนั้นเด็กๆ ก็จะตรวจเช็กสมุดของตัวเองอย่างกระตือรือร้น
ภาษาจะเป็นสิ่งน่ารำคาญ ถ้ามันอธิบายความหมายที่อยู่ใต้บรรทัดไม่ได้

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ6 เมษายน 2553 เวลา 16:56

    ทุกอย่างมีความหมายหลายอย่าง
    การแก้คำผิด ถ้ามองในมุมหนึ่ง อาจจะมองได้ว่าเป็นการฝึกให้เด็กได้รู้ว่าสิ่งทำมามันไม่ถูกต้อง ครั้งต่อไปต้องทำให้ถูก วิธีที่ใช้คือผู้ตรวจเป็นคนชี้ความผิด และเป็นคนบอกวิธีแก้ไขสิ่งผิด แล้วก็คาดหวังว่าเด็กที่เขียนผิดจะเขียนคำนี้ถูกในครั้งต่อไป
    หากมองอีกมุมหนึ่ง ถ้าครูไม่บอกว่าคำที่เขียนมามีคำผิด แต่ครูใช้วิธีนำคำที่เด็กเขียนผิดบ่อย ๆ ถอดออกมาเป็นคำที่น่าสนใจ หรือเป็นคำที่ควรรู้ เป็นต้น แล้วให้เด็กเช็คในใบงานที่ต้นเองเขียน เพื่อดูงานคำที่น่าสนใจหรือคำที่น่ารู้อยู่บรรทัดไหน แล้วเขียนเหมือนกันกรือเปล่า เด็กแต่ละคนเข้าก็จะเป็นคนที่รู้เองว่า คำที่เขาเขียนถูกหรือผิด แล้วเข้าก็จะเป็นคนคิดต่อเองว่าต่อไปถ้ามีคำนี้เข้าจะเขียนอย่างไร
    .... จะเห็นว่าสองเหตุการณ์ข้างต้นนั้น มีเป้าหมายเดียวกันคือ ต้องการให้เด็กเขียนคำให้ถูกต้อง แต่สิ่งที่แตกต่างคือ วิธีการของครู และความรู้สึกที่ไปกระทบเด็กข้างใน...
    แล้วเราจะใช้วิธีไหนกับเด็กดี ตรวจแล้วบอกเขาทันทีว่าผิด ต้องแก้ไข หรือจะทอดเวลาออกไปให้ยาวสักระยะหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้รับรู้ ใคร่ครวญกับสิ่งที่เกิด จากนั้นค่อย ๆ ให้เขาได้คิดแล้วนำไปสู้วิธีการแก้ปัญหา หรือเรียนรุ้สิ่งที่เกิดด้วยตัวเขาเอง....
    ...บรรดาครูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย คงจะมีวิธีการที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน และเป็นการรู้โดยผู้เรียนเอง ไม่ใช่แค่การบอกจากครูเท่านั้น...

    ...ขอเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อส่งผลให้ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการศึกษา...

    ตอบลบ