ติดตามเรื่องราว

..เรียนรู้ จากความยาก..-
บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย นั่นล่ะ -PBL




วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความฉลาดภายนอก (ภาษา-ต่อ)


การเรียนรู้ภาษา  ของโรงเรียนนอกกะลา
เป็นการเรียนรู้ภาษาโดยไม่ใช้แบบเรียน  แต่ให้เรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อมและการเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม
 
การสอนภาษา  จะเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยที่ครูจัดกระทำในสิ่งที่เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  ผ่านกิจกรรม  ชง  เชื่อม ใช้  ดังกรณีตัวอย่าง  ดังนี้

กรณี  การอ่านเรื่อง / วรรณกรรม
ชง  นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว / อ่านต่อเนื่องกัน / อ่านพร้อมกัน) หรืออ่านในใจ  หรือครูอ่านให้ฟัง  แล้วให้เด็กค้นหาคำแม่ ก กา หรือคำมาตราตัวสะกด หรือคำเป็นคำตาย หรือชนิดของคำ(นาม กริยา สรรพนาม ฯลฯ) หรือคำราชาศัพท์ หรือคำสุภาพ หรือคำประวิสรรชนีย์ ไม่ประวิสรรชนีย์ หรือคำควบกล้ำ ฯลฯ จากเรื่องที่อ่าน   ตามเป้าหมายของการสอนครั้งนั้น
          เชื่อม   นำเสนอคำที่ได้ และแลกเปลี่ยนคำที่ได้กับเพื่อนในชั้น  ซึ่งจะได้คำที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น    วิเคราะห์ร่วมกัน  เพื่อตรวจสอบว่าใช่หรือไม่  เพราะอะไร   แล้วช่วยกันอธิบายความหมายของคำศัพท์นั้นพร้อมยกตัวอย่าง   หรือ ครูตั้งคำถามเพื่อให้เด็กแต่ละคนได้คิด  ได้แสดงความคิด  ได้รับฟังเพื่อรับรู้แง่มุมที่แตกต่าง  เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน โดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ตัวละครมีใครบ้าง?   เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง
เข้าใจ : สรุปเรื่องหรือข้อคิดที่ได้
วิเคราะห์ / สังเคราะห์ : วิเคราะห์ / สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละคร  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้  : สรุปเหตุการณ์  เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า :  การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร / เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่  วาดภาพประกอบ  ออกแบบฉาก  การ์ตูนช่อง
ใช้   ให้ผู้เรียนได้ลงมือทำแบบฝึก / งาน / ภาระงาน ที่สอดรับกับพฤติกรรมสมอง

การปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน  
เด็กที่รักการอ่านจะเข้าสู่โลกจริงได้ง่ายเพราะจะไม่ถูกกักขังไว้ในโลกของตัวเอง   การอ่านยังเป็นส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้  เป็นสะพานเชื่อมไปสู่โลกข้างนอกเพื่อสร้างปฏิกริยาต่อการเปลี่ยนแปลงภายใน   การถูกแวดล้อมไปด้วยคนที่รักการอ่านและหนังสือที่น่าอ่าน  สามารถสร้างอุปนิสัยรักการอ่านได้อย่างถาวร   การอ่านจะทำให้เกิดกระบวนการใคร่ครวญได้มากกว่าการฟัง  ส่วนการเขียนยิ่งได้ใคร่ครวญยิ่งกว่า   ปัญญาจากการใคร่ครวญเป็นของส่วนตัว  มันจะเพิ่มพูนของมันเองจากภายใน
การฝึกคัดลายมือ   
การคัดลายมือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ภาษาในการที่จะสื่อสารผ่านสัญลักษณ์   แต่ให้คุณอย่างอื่นโดยเฉพาะช่วงวัยต้นๆ  เพราะการคัดลายมือจะช่วยให้กล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรงและการทำงานของมือกับตาที่สัมพันธ์กัน   ทั้งยังเป็นการฝึกสัมมาสมาธิ  หรือจดจ่อให้ยาวขึ้น  ซึ่งจะส่งผลต่อศักยภาพการเรียนรู้ต่อไปในระยะยาว   ในอนาคตการเขียนอาจจะมีความจำเป็นน้อยลงเพราะเทคโนโลยีการพิมพ์และการบันทึกภาพและเสียง
การพัฒนาความสามารถทางด้านการเขียน
การเขียนจำเป็นจะต้องมีศัพท์ในหัวจำนวนมากซึ่งสามารถเพิ่มพูนคำศัพท์ได้จากการอ่าน   ให้การฝึกเขียนเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมออย่างเช่นการเขียนบันทึก   การเขียนยังเป็นการฝึกกระบวนการคิดและการจัดการระบบข้อมูลภายใน   อุปสรรคต่อความสามารถในการเขียนของเด็กบางครั้งก็มาจากเรื่องเล็กน้อย เช่น การแก้คำผิด
"ทำไม่ครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงติดโชว์ผลงานของเด็กๆ โดยไม่แก้คำผิด?"   เป็นคำถามของครูที่มาเข้าอบรมหลายท่าน

เราคิดว่าการตรวจเช็คและแก้ไขโดยครูเป็นการมองจากครูฝ่ายเดียวซึ่งครู กำลังมองภาษาในรูปแบบตายตัว ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถนำลองผิดลองถูกได้   การที่ครูแก้คำถูกผิดด้วยสีแดงพรืดเต็มไปหมด อาจทำให้เด็กรู้สึกภาษาเป็นสิ่งน่ากลัว และอาจรู้สึกว่าตัวเองด้อยความสามารถจนไม่กล้าที่จะเขียนคำใหม่ๆ อีกต่อไป
เราเชื่อว่าเมื่อเด็กเริมอ่านหนังสือได้เขาจะตื่นตัวที่จะเช็คคำผิดคำถูกด้วยตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อเขารักการอ่านและมีประสบการอ่านมากขึ้นเขาจะยิ่งกระตือรือร้น ในการตรวจเช็คคำผิดด้วยตังเอง
หรือ  ครูแค่รวบรวมคำที่เด็กแต่ละคนเขียนผิดมาเขียนไว้มุมหนึ่งของกระดาน  และให้มีโอกาสได้ใช้บางคำในจำนวนนั้นอย่างถูกต้อง แล้วหลังจากนั้นเด็กๆ  ก็จะตรวจสมุดของตัวเองอย่างกระตือรือร้น
ภาษาจะเป็นสิ่งน่ารำคาญ ถ้ามันอธิบายความหมายที่อยู่ใต้บรรทัดไม่ได้

กรุงเทพธุรกิจ  ISSUE 73   16-22   ตุลาคม 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น