สรุปการเสวนาวิชาการ
“เวทีปฏิรูปการเรียนรู้
สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล” ครั้งที่ 4 / 2555
“การศึกษาทางเลือกทางหลักของหลายคน”
1 พฤษภาคม 2555 ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร
ศาสตราจารย์
นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้เป็นประธานในการเสวนาวิชาการ “เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล” ครั้งที่ 4 / 2555 : การศึกษาทางเลือกทางหลักของหลายคน ซึ่งจัดโดยความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ
(สสส.) และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 ณ
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ
นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้าราชการระดับสูงจากหน่วยงานด้านการศึกษา องค์กรภาคเอกชน มูลนิธิ และผู้แทนสื่อมวลชน จำนวนประมาณ 70 คน ผลการเสวนามีประเด็นสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้าราชการระดับสูงจากหน่วยงานด้านการศึกษา องค์กรภาคเอกชน มูลนิธิ และผู้แทนสื่อมวลชน จำนวนประมาณ 70 คน ผลการเสวนามีประเด็นสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ย้ำเจตนารมณ์การเสวนา
“เวทีปฏิรูปการเรียนรู้ สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล”
1.1 พื้นฐานความเชื่อมั่น : การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้ประเทศไทยดีขึ้น
เกิดและเป็นจริงได้จากระดับหน่วยปฏิบัติ
ไม่จำเป็นต้องรอส่วนกลางเสมอไป
1.2 หลักพื้นฐานของการเสวนา
: จุดประกายผ่านความสำเร็จของกรณีศึกษาที่เป็นรูปธรรม
และคิดขยายผล ด้วยการมองไปข้างหน้า
ใช้กรณีศึกษาที่ว่าเป็นแรงบันดาลใจและคิดหาทางขยายผลความสำเร็จ
2. กรณีศึกษา
: รูปธรรมเชิงประจักษ์และพิสูจน์ได้ในทางวิชาการ
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา : โรงเรียนนอกกะลา
1) โรงเรียนที่ไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียนแม้ตั้งอยู่ในจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยของประชากรต่ำที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบท ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เป็นโรงเรียนเอกชน ดำเนินการโดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา งบประมาณในการดำเนินการส่วนใหญ่มาจากเงินบริจาคและกิจกรรมการหารายได้ของโรงเรียน
2) เจตนารมณ์สู่วิธีบริหารจัดการที่แตกต่าง : ด้วยมุ่งหมายเป็นโรงเรียนตัวอย่าง โรงเรียนทางหลัก โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้เต็มศักยภาพ และให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น การดำเนินงานจึงมีการควบคุมปัจจัยนำเข้าต่างๆ ให้มีความแตกต่างจากโรงเรียนของรัฐให้น้อยที่สุด แต่คุมเป้าหมายปลายทาง (ครู เด็ก และผู้ปกครอง) ผ่านวิธีบริหารจัดการที่แตกต่าง ได้แก่ เด็กได้มาโยวิธีการจับสลาก งบประมาณในการบริหารไม่มากกว่าโรงเรียนของรัฐ ครูมาจากแหล่งเดียวกับครุของรัฐ ปริมารเด็กต่อห้องอยู่ในระดับที่เป็นค่าเฉลี่ยของประเทศคืออยู่ที่ประมาณ 30 คนต่อห้อง จำนวนครูที่ไม่มากในค่าเฉลี่ยของประเทศเหมือนกัน หลักสูตรต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักสูตรแกนกลางเหมือนกัน แต่ใช้วิธีการพัฒนาที่ต่างไป ซึ่งนับจากเริ่มดำเนินการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 ถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 9 ปี มีผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเป็นบทพิสูจน์ จนกระทั่งมีผู้ขอดูงานเพื่อเผยแพร่ขยายผลจากหลายจังหวัด กว่าสามหมื่นคน
3) ปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ เรื่องที่หนึ่งเขย่ากรอบความคิด ในเรื่องเป้าหมายต่อการศึกษา ว่าผลสำเร็จของการศึกษาไม่ใช่การเข้ามหาวิทยาลัย หรือการที่ได้ทำอาชีพที่มีรายได้สูงๆ เรื่องที่สองคือการแสวงหาการประเมินเพื่อให้เกิดการพัฒนามากกว่าเพื่อการตัดสิน และเรื่องที่สามคือกระบวนการพัฒนาครู เพราะครูเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้โดยปรับเจตคติของครูและผู้ปกครอง การปรับกระบวนการพัฒนา ทั้งในเรื่องการพัฒนาครูและการพัฒนาการเรียนการสอน โดยพัฒนาความฉลาดภายในด้วยวิธีการจิตศึกษา ใช้จิตวิทยาทางบวกให้เด็กมีความอยากรู้อยากเห็นและความฉลาดภายนอกผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Problem – based learning(PBL) ให้เรียนรู้จากปัญหา และก็ใช้ทักษะที่หลากหลาย
ดูเพิ่มเติม http://youtu.be/uRheh_aEe70
1) โรงเรียนที่ไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียนแม้ตั้งอยู่ในจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยของประชากรต่ำที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบท ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เป็นโรงเรียนเอกชน ดำเนินการโดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา งบประมาณในการดำเนินการส่วนใหญ่มาจากเงินบริจาคและกิจกรรมการหารายได้ของโรงเรียน
2) เจตนารมณ์สู่วิธีบริหารจัดการที่แตกต่าง : ด้วยมุ่งหมายเป็นโรงเรียนตัวอย่าง โรงเรียนทางหลัก โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้เต็มศักยภาพ และให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น การดำเนินงานจึงมีการควบคุมปัจจัยนำเข้าต่างๆ ให้มีความแตกต่างจากโรงเรียนของรัฐให้น้อยที่สุด แต่คุมเป้าหมายปลายทาง (ครู เด็ก และผู้ปกครอง) ผ่านวิธีบริหารจัดการที่แตกต่าง ได้แก่ เด็กได้มาโยวิธีการจับสลาก งบประมาณในการบริหารไม่มากกว่าโรงเรียนของรัฐ ครูมาจากแหล่งเดียวกับครุของรัฐ ปริมารเด็กต่อห้องอยู่ในระดับที่เป็นค่าเฉลี่ยของประเทศคืออยู่ที่ประมาณ 30 คนต่อห้อง จำนวนครูที่ไม่มากในค่าเฉลี่ยของประเทศเหมือนกัน หลักสูตรต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักสูตรแกนกลางเหมือนกัน แต่ใช้วิธีการพัฒนาที่ต่างไป ซึ่งนับจากเริ่มดำเนินการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 ถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 9 ปี มีผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเป็นบทพิสูจน์ จนกระทั่งมีผู้ขอดูงานเพื่อเผยแพร่ขยายผลจากหลายจังหวัด กว่าสามหมื่นคน
3) ปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ เรื่องที่หนึ่งเขย่ากรอบความคิด ในเรื่องเป้าหมายต่อการศึกษา ว่าผลสำเร็จของการศึกษาไม่ใช่การเข้ามหาวิทยาลัย หรือการที่ได้ทำอาชีพที่มีรายได้สูงๆ เรื่องที่สองคือการแสวงหาการประเมินเพื่อให้เกิดการพัฒนามากกว่าเพื่อการตัดสิน และเรื่องที่สามคือกระบวนการพัฒนาครู เพราะครูเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้โดยปรับเจตคติของครูและผู้ปกครอง การปรับกระบวนการพัฒนา ทั้งในเรื่องการพัฒนาครูและการพัฒนาการเรียนการสอน โดยพัฒนาความฉลาดภายในด้วยวิธีการจิตศึกษา ใช้จิตวิทยาทางบวกให้เด็กมีความอยากรู้อยากเห็นและความฉลาดภายนอกผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Problem – based learning(PBL) ให้เรียนรู้จากปัญหา และก็ใช้ทักษะที่หลากหลาย
ดูเพิ่มเติม http://youtu.be/uRheh_aEe70
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น