1. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เรามีวิถีชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ มากขึ้น เช่น ชาวไร่ชาวนาทำงานแบบออกแรงน้อยลงเพราะเครื่องจักรทำงานแทน คนทั่วไปนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ยาวนาน เด็กๆ นอนดูที่วียาวนานขึ้น วิถีชีวิตแบบนี้ทำให้มีโอกาสเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายน้อยลง
2. วิถีการกินเปลี่ยนไป เช่น กินเยอะขึ้น กินอาหารมีพลังงานสูงทีได้จากแป้ง น้ำตาล และไขมันเป็นส่วนประกอบ ประกอบกับกินผักหรืออาหารที่มีเส้นใยน้อยลง
(ข้อมูลจากนิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 345 ระบุว่า เด็กอายุระหว่าง 6-13 ปี ต้องการพลังงานวันละ 1,600 กิโลแคลอรี่ แต่ผลการสำรวจพบว่า เด็กไทยเกือบทั้งหมดได้รับพลังงานเกินความต้องการอย่างมาก)
จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้คนมีน้ำหนักมากขึ้น เป็นโรคอ้วนกันมากขึ้น
โรคอ้วน หรือ
ภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน จากการสำรวจล่าสุดพบว่าคนไทย 1 ใน 4 เป็นโรคอ้วน ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ สูงขึ้น เช่น
เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจโต
ปวดหลัง เส้นเลือดขอด ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ
ฯลฯ ในที่สุดก็จะนำมาสู่ความทุกข์
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงมีเป้าหมายที่แน่ชัดว่าต้องการบ่มเพาะผู้เรียนให้เกิดทักษะชีวิต "อยู่เป็น" หมายถึงการมีวิถีการดำรงชีวิตสั้นๆ
บนโลกได้อย่างมีความสุข โรงเรียนฯ ตระหนักในปัญหาที่กล่าวมาเบื้องต้น
จึงกำหนดให้ “อาหาร” เป็นหนึ่งในวาระสำคัญของโรงเรียนฯ
โรงเรียนฯ จะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดอุปนิสัยการกินเพื่อความมีสุขภาพดีได้แก่
1. ลดหวาน น้ำตาลเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำเกิดโรคอ้วน มะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ แต่ในปัจจุบันเด็กได้รับน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นจากการบริโภคน้ำอัดลม น้ำหวาน ลูกอม ผลไม้ที่มีรสหวานจัด ขนมหวาน โดนัท มันฝรั่งทอดแบบแผ่น ขนมปังแคร๊กเกอร์ ขนมคุ๊กกี้ ฯลฯ ซึ่งล้วนทำจากแป้งและน้ำตาล น้ำตาลจะไปขัดขวางการดูดซึมของโปรตีน และสารอาหาร เป็นสาเหตุที่ทำลายการทำงานที่ดีของสมอง โดยปกติผู้ใหญ่ไม่ควรกินน้ำตาลวันละ 6 ช้อนชา (24 กรัม) ส่วนเด็กไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 4 ช้อนชา / วัน ดังนั้นทางโรงเรียนฯ จึงจะลดอาหารที่มีรสหวานในโรงเรียน เช่น ของหวาน ผลไม้รสหวาน
2. ปลอดภัย การเลือกบริโภคอาหารที่ไม่ใช้สารกันบูด ไม่เพิ่มสารเพิ่มรสชาติ ไม่ผสมโซเดียมในเตรต ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำมากๆ โดยเฉพาะฮ็อตดอก หมูเบคอน ใส้กรอก หรือลูกชิ้นตามท้องตลาด เด็กไม่ควรทานเกิน 12 ชิ้นต่อเดือน เพราะใส่สารโซเดียมไนเตรตมาก ดังนั้นทางโรงเรียนฯ จึงมีวิธีการ
- เพิ่มการผลิตอาหารเองภายในโรงเรียน เช่น พริก ผักพื้นบ้าน ไก่เนื้อ ปลาดุก หมู ฯลฯ
- ลดอาหารที่มีความเสี่ยง เช่น แตงโม ลำไย องุ่น ฮ็อตดอก ใส้กรอก กุนเชียง ลูกชิ้นตามท้องตลาด ฯลฯ
- ให้ครู นักเรียน พนักงานทุกคนได้เรียนรู้ ในการตรวจสอบสารอันตราย เช่น สารโซเดียมไนไตรท์ และโซเดียมไนเตรท (ดินประสิว) บอแรกซ์ (ผงกรอบ) สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน และการใช้น้ำมันทอดซ้ำ
- ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีการผลิตวัตถุดิบ เครื่องปรุงในการประกอบอาหารปลอดภัยได้เอง
3. ได้คุณค่า ส่งเสริมให้ได้รับประทานอาหารที่หลากหลาย มีคุณค่าทางโภชนาการ หารับประทานได้ง่ายในท้องถิ่นตามฤดูกาล ดังนั้นทางโรงเรียนฯ จึงมีวิธีการจัดอาหารให้นักเรียนได้รับประทาน
สุขวาระ "อาหาร" 2555
โรงเรียนฯ จะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดอุปนิสัยการกินเพื่อความมีสุขภาพดีได้แก่
1. ลดหวาน น้ำตาลเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำเกิดโรคอ้วน มะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ แต่ในปัจจุบันเด็กได้รับน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นจากการบริโภคน้ำอัดลม น้ำหวาน ลูกอม ผลไม้ที่มีรสหวานจัด ขนมหวาน โดนัท มันฝรั่งทอดแบบแผ่น ขนมปังแคร๊กเกอร์ ขนมคุ๊กกี้ ฯลฯ ซึ่งล้วนทำจากแป้งและน้ำตาล น้ำตาลจะไปขัดขวางการดูดซึมของโปรตีน และสารอาหาร เป็นสาเหตุที่ทำลายการทำงานที่ดีของสมอง โดยปกติผู้ใหญ่ไม่ควรกินน้ำตาลวันละ 6 ช้อนชา (24 กรัม) ส่วนเด็กไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 4 ช้อนชา / วัน ดังนั้นทางโรงเรียนฯ จึงจะลดอาหารที่มีรสหวานในโรงเรียน เช่น ของหวาน ผลไม้รสหวาน
2. ปลอดภัย การเลือกบริโภคอาหารที่ไม่ใช้สารกันบูด ไม่เพิ่มสารเพิ่มรสชาติ ไม่ผสมโซเดียมในเตรต ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำมากๆ โดยเฉพาะฮ็อตดอก หมูเบคอน ใส้กรอก หรือลูกชิ้นตามท้องตลาด เด็กไม่ควรทานเกิน 12 ชิ้นต่อเดือน เพราะใส่สารโซเดียมไนเตรตมาก ดังนั้นทางโรงเรียนฯ จึงมีวิธีการ
- เพิ่มการผลิตอาหารเองภายในโรงเรียน เช่น พริก ผักพื้นบ้าน ไก่เนื้อ ปลาดุก หมู ฯลฯ
- ลดอาหารที่มีความเสี่ยง เช่น แตงโม ลำไย องุ่น ฮ็อตดอก ใส้กรอก กุนเชียง ลูกชิ้นตามท้องตลาด ฯลฯ
- ให้ครู นักเรียน พนักงานทุกคนได้เรียนรู้ ในการตรวจสอบสารอันตราย เช่น สารโซเดียมไนไตรท์ และโซเดียมไนเตรท (ดินประสิว) บอแรกซ์ (ผงกรอบ) สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน และการใช้น้ำมันทอดซ้ำ
- ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีการผลิตวัตถุดิบ เครื่องปรุงในการประกอบอาหารปลอดภัยได้เอง
3. ได้คุณค่า ส่งเสริมให้ได้รับประทานอาหารที่หลากหลาย มีคุณค่าทางโภชนาการ หารับประทานได้ง่ายในท้องถิ่นตามฤดูกาล ดังนั้นทางโรงเรียนฯ จึงมีวิธีการจัดอาหารให้นักเรียนได้รับประทาน
- กล้วยน้ำหว้า 1 ลูก/สัปดาห์
- ข้าวกล้องอย่างน้อย 2 ครั้ง /สัปดาห์
- ประกอบอาหารที่มีผักหลากหลายมากขึ้น เช่น แกงเลียง แกงอ่อมฟักทอง ผัดผัก ผัดบวบใส่ไข่ แกงจืดตำลึง เป็นต้น
- การวางแผนเมนูอาหาร มีการวางแผนล่วงหน้า 1 สัปดาห์ และเกิดจากหลายคนช่วยดูและให้คำแนะนำ
- สายงานการผลิต ผลิตวัตถุดิบในโรงเรียน เช่น ปลา
ผัก ข้าว
ซื้อหรือหาวัตถุดิบ สะอาด ปลอดภัย
เช็คสต๊อกทุกวัน (ของสด ของแห้ง)
รายงานค่าใช้จ่ายเป็นปัจจุบันทุกๆ สัปดาห์
มีการสุ่มตรวจการจัดซื้อทุกๆ สัปดาห์
มีมาตรการสุ่มตรวจสต๊อกทุกๆ สัปดาห์
- จัดซื้อชุดอุปกรณ์และตรวจสารปนเปื้อน เช่น สารโซเดียมไนไตรท์ และโซเดียมไนเตรท (ดินประสิว) บอแรกซ์ (ผงกรอบ) สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน น้ำมันทอดซ้ำ น้ำส้มสายชูปลอม ตรวจสอบเป็นประจำ/สม่ำเสมอ
- มีทางเลือกหลายแบบในการประกอบอาหาร
- โดยครัวโรงเรียนฯ
- โดยนักเรียนห่อข้าวมามากินเองพร้อมกันทุกคน วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม 2555 และวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน
- โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประกอบอาหาร (วันที่11-15 มิถุนายน 2555)
- โดยผู้รับจ้างหรือรับเหมาภายนอก
4. พอดี เพื่อฝึกอุปนิสัยในการกินให้พอดี ทางโรงเรียนฯ จึงใช้วิธีการตักอาหารให้นักเรียน และเติมได้ตามความเหมาะสม มีเวลาประมาณ 20 นาที ในการจดจ่อและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ
5. สร้างชุมชนการเรียนรู้ สุขวาระ "อาหาร" ครู นักเรียน ผู้ปกครองในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญของวิถีการกินอยู่เพื่อสุขภาพ โดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดนิทรรศการ จักการสื่อสารหลากหลายช่องทาง เช่น Facebook จดหมายข่าว จัดกิจกรรมให้มีการทำงานร่วมกันทุกฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ
แนวดำเนินการ
เช็คสต๊อกทุกวัน (ของสด ของแห้ง)
รายงานค่าใช้จ่ายเป็นปัจจุบันทุกๆ สัปดาห์
มีการสุ่มตรวจการจัดซื้อทุกๆ สัปดาห์
มีมาตรการสุ่มตรวจสต๊อกทุกๆ สัปดาห์
- จัดซื้อชุดอุปกรณ์และตรวจสารปนเปื้อน เช่น สารโซเดียมไนไตรท์ และโซเดียมไนเตรท (ดินประสิว) บอแรกซ์ (ผงกรอบ) สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน น้ำมันทอดซ้ำ น้ำส้มสายชูปลอม ตรวจสอบเป็นประจำ/สม่ำเสมอ
- มีทางเลือกหลายแบบในการประกอบอาหาร
- โดยครัวโรงเรียนฯ
- โดยนักเรียนห่อข้าวมามากินเองพร้อมกันทุกคน วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม 2555 และวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน
- โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประกอบอาหาร (วันที่11-15 มิถุนายน 2555)
- โดยผู้รับจ้างหรือรับเหมาภายนอก
4. พอดี เพื่อฝึกอุปนิสัยในการกินให้พอดี ทางโรงเรียนฯ จึงใช้วิธีการตักอาหารให้นักเรียน และเติมได้ตามความเหมาะสม มีเวลาประมาณ 20 นาที ในการจดจ่อและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ
5. สร้างชุมชนการเรียนรู้ สุขวาระ "อาหาร" ครู นักเรียน ผู้ปกครองในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญของวิถีการกินอยู่เพื่อสุขภาพ โดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดนิทรรศการ จักการสื่อสารหลากหลายช่องทาง เช่น Facebook จดหมายข่าว จัดกิจกรรมให้มีการทำงานร่วมกันทุกฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ
แนวดำเนินการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น