ติดตามเรื่องราว

..เรียนรู้ จากความยาก..-
บางทีการทำให้เส้นทางสู่ความจริงคดเคี้ยวมากขึ้นสักหน่อยเพื่อให้เกิดระทางที่ยาวไกลขึ้นอาจจะเป็นสิ่งดีสำหรับชีวิตที่ต้องการเวลากับการค้นหาความหมาย นั่นล่ะ -PBL




วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ญี่ปุ่นกับการพัฒนา

วัฒนธรรมเสียดาย กับ ไม้เช็ดก้น
สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นสูญเสียและบอบช้ำไม่น้อยไปกว่าเยอรมันและฟินแลนด์. ความอดอยากและความยากลำบากในการดำเนินชีวิตของคนญี่ปุ่นในช่วงนั้น ได้สร้างชาติญี่ปุ่นขึ้นมาใหม่จากความอดทนและบากบั่นทำงานหนัก อาจจะสำผัสความรู้สึกนั้นเลาๆ ได้จากหนังเรื่อง Always ทั้ง 3ภาค
คนใน Generation นั้นและถัดมา ถูกสั่งสอนให้ตระหนักกับคำว่า "เสียดาย" กินและใช้อย่างประหยัด ตักข้าวเท่าที่จะกิน กินข้าวให้หมดทุกเม็ด ใส่เสื้อผ้าจนขาดวิ่นจึงซื้อใหม่ และทำงานหนัก คุณลักษณะ นี้มีผลอย่างมากที่ทำให้ประเทศพลิกกลับมายืนแถวหน้าทางด้านเศรษกิจของโลกได้ ภายในเวลาไม่ถึงห้าสิบปี จนปัจจุบันลูกหลานรุ่นใหม่ของประเทศได้อยู่อย่างสดวกสะบาย มีทรัพยากรล้นเหลือ อย่างส้วมยุคใหม่ของที่นี่แสนฉลาด เพียงเรานั่งลงตัวมันเองจะลาดน้ำกันเปื้อนตัวเองก่อนทันที แล้วปรับอุณหภูมิภายในโถให้อุ่นสะบายก้น มีปุ่มเปิดดนตรีบรรเลงฟังตามแต่อารมณ์ผู้นั่ง เสร็จสรรพมีปุ่มฉีดน้ำแบบเป็นสายน้ำกับแบบฝอยปรับแรงดันได้ตามชอบ จบด้วยการเป่าลมอุ่นให้แห้ง การสร้างนวัตกรรมเพื่ออำนวยความสะดวกให้ชีวิตของคนญี่ปุ่นมาไกลเกินกู่ ผมนั่งนึกว่าหากโลกพลิกผัน(ความพลิกผันของโลกเกิดขึ้นง่ายดาย)กลับไปเป็นยุค เดิม เด็กๆ ยุคนี้จะจัดการก้นตัวเองอย่างไร เขาจะรู้จักใช้ไม้เช็ดเหมือนยุคเด็กๆ ของผมไหมหนอ แล้วความรู้สึกที่ว่า "เสียดาย" จะกลายเป็นเรื่องน่าอายไปหรือเปล่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น